Green Marketing แบรนด์-ผู้บริโภค กู้โลก.!

Green Marketing แบรนด์-ผู้บริโภค กู้โลก.!

เพราะ “โลก” มีใบเดียว หากการผลิต-บริโภค ก่อขยะ มลพิษ ทำร้าย -ทำลายล้างโลกบอบช้ำ ระยะยาวธุรกิจก็ไม่รอด..! สะท้อนเทรนด์ “รักษ์โลก”ที่แรงต่อเนื่อง ส่อง Green Marketing ธุรกิจใหญ่ ตระหนักเรื่องนี้แค่ไหน ทำจริง..!! หรือแค่แคมเปญ “โลกสวย” 

ขยะในท้องน้อง “มาเรียม” คร่าชีวิตสัตว์ทะเลหนึ่งในอีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไฟป่าออสเตรเลียที่สร้างความเสียหายให้ธรรมชาติ สัตว์นับ “ล้าน” ต้องเสียชีวิต ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5 ในกรุงเทพฯเมืองฟ้าอมร และอีกนับหลายปัญหาที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ ล้วนเป็น “สัญญาณ” บอกประชากรให้รู้ว่า “โลก” กำลังเผชิญวิกฤติสิ่งแวดล้อม แน่นอนปัญหาจากน้ำมือ “มนุษย์” มีส่วนไม่น้อย

เมื่อปัญหาสิ่งแวดล้อมก่อตัวหนักขึ้น  หลายปีที่ผ่านมาการตื่นตัวรักษาสิ่งแวดล้อมจึงทวีความเข้มข้นจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น รัฐ เอกชน ประชาชน ที่พยายามหาทางลดผลกระทบ

หากมอง ภาคธุรกิจ เป็นหนึ่งในภาคส่วนที่ “ตระหนัก” และลุกขึ้นมาดำเนินการเพื่อลดผลกระทบ และรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในระดับโลกมีองค์กรที่ร่างคัมภีร์ออกมาเพื่อให้ภาคธุรกิจนำเป็นส่วนหนึ่งในแนวทางการขับเคลื่อนธุรกิจ เช่น องค์การสหประชาชาติ จัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs) ซึ่ง ยูนิลีเวอร์ เบอร์ 1 คอนซูเมอร์โลกเดินตาม และดันชีความยั่งยืนดาวน์โจนส์(DJSI) ที่ไทยเบฟเวอเรจ ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มและอาหารของไทย นำมาเป็นกรอบการบริหารจัดการซัพพลายเชน เป็นต้น แต่ไม่ใช่แค่บริษัทเหล่านี้ที่ขอรักษ์โลก เพราะอีกหลายบริษัทลุกขึ้นมาจริงจังในการทำธุรกิจเพื่อ โลกสวย 

**องค์กรต้องปรับ ก่อนถูกบีบให้เปลี่ยน

เวลาทำเรื่องสิ่งแวดล้อม จะมีดราม่าเกิดขึ้นเสมอ” วรรคทองจาก ผศดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง ฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่สะท้อนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการลุกขึ้นมาทำเรื่องรักษ์โลก โดยเฉพาะการออกกฎกติกาต่างๆให้คนในสังคมปฏิบัติ

ไม่ว่าจะทำอะไร จะกระทบอย่างหนึ่งเสนอ” เขาย้ำก่อนหยิบข้อมูลจากจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ประเทศไทยประสบปัญหาขยะพลาสติกปีละ 2 ล้านตัน จำนวนนี้รีไซเคิลได้ 5 แสนตัน แต่อีก 1.5 ล้านตัน..ไม่ต้องพูดถึง เพราะ ตกค้างในพื้นที่ต่างๆทั้งบนบก แม่น้ำ และทะเลนั่นเอง

เมื่อขยะรีไซเคิลมีแค่ 1 ใน 4 หรือ 5 ทำให้หลายฝ่าย ฝัน” ให้การเก็บกลับมาเข้า “ระบบ” มากขึ้นเรื่อยๆ หากยังทำไม่ได้ ทุกคนมีส่วนช่วย “ลด” ปริมาณขยะได้ ทว่าพฤติกรรมผู้บริโภครักโลกไม่เท่ากัน การจะเปลี่ยนคนส่วนใหญ่ให้รักโลกจำเป็น แต่ต้องไม่ทิ้งคนส่วนน้อยที่รักโลกอยู่แล้วให้รักมากขึ้น ในงานเปิดตัวแคมเปญ เกี่ยวช่วยโลก” ของน้ำดื่มสิงห์ ผศ.ดร.ธรณ์ จึงย้ำการเริ่มจากตัวเอง ในการบริโภคน้ำดื่ม สามารถ “เลือก” บรรจุภัณฑ์ “ขวดแก้ว” แทนดื่มน้ำบรรจุขวดพลาสติก PET เพราะมอง “แก้ว” สามารถนำไป Reuse หรือใช้ซ้ำได้ตลอด กระทั่ง 8-9 ปี ที่เริ่มหมดสภาพ ขณะที่ตัวแคมเปญค่อนข้าง Beyond จากลดขยะเพราะเป็นการเพิ่ม Option ให้กับผู้บริโภคต้องการรักโลกมากขึ้น ฉุดคนหมู่มากให้ก้าวบันไดขั้นแรก เพื่อไต่ระดับสู่ขั้นต่อไป

แม้ขวดแก้วเป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ยังยืนยันว่าพลาสติก ไม่ใช่ ผู้ร้าย

ในฐานะที่ผมเห็นน้องมาเรียมตายต่อหน้า อยากบอกว่านี่คือโอกาสดีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง” พร้อมเสนอให้รัฐ เอกชน ผู้บริโภค “ร่วมมือ” สร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะรัฐมีหน้าที่ในการออกกฏระเบียบ แก้ไขกฎหมายให้ทันสมัยจากที่ใช้มาเป็นเวลานานหลายสิบปี แต่พลังสำคัญขอฝากความหวังไว้ที่เอกชน

“ถ้าลูกหลานเราโดนขยะท่วม แล้วตะโกนบอกรัฐไม่ทำอะไรสักที ถ้าต้องการเปลี่ยนระบบต้องใช้

พลังงานสูงมาก แต่เอกชนทำได้เลย พยายามใช้สิ่งของ Reuse ให้นานสุด หากทำได้ จะเกิดผลกระทบเชิงบวกมหาศาล”

ยุคนี้เอกชนต้องแข่งขันกันเอง ไม่ใช่แค่การทำ “กำไร” เพราะยุคดังกล่าวจบลงแล้ว ต่อไปต้องแข่งกันรักโลก การลด Co2 ปริมาณขยะ ฯ เพราะอนาคตถ้าองค์กรยุคใหม่หากไม่ปรับในเรื่องเหล่านี้ อนาคตจะต้องถูก “บีบ” ให้เปลี่ยนอยู่ดี

องค์กรธุรกิจต้องเปลี่ยน ก่อนถูกบังคับให้เปลี่ยน

**Profit People Planet โตยั่งยืนควบคู่กัน

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น จะกล่าวโทษภาค “ธุรกิจ” ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าอย่างเดียว คงไม่เป็นธรรมนัก เพราะธุรกิจเกิดขึ้นเพื่อผลิตสินค้าแก่ผู้บริโภค และอดีตผู้บริโภคไม่ได้สนใจมากนักว่าสินค้ามาจากไหน ได้มาอย่างไร ขอแค่ “เข้าถึง” สินค้าและบริการเป็นพอ ส่วนการผลิตเน้นที่ ต้นทุน(Cost) และ ประสิทธิภาพ (Effective) ไม่มี “ถูก” และ “ผิด”

แต่ปัจจุบันไม่ใช่ เพราะเทคโนโลยีและการเกิดอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคมีความใคร่รู้ มีความต้องการ(Demand) เกี่ยวกับสินค้าแตกต่างจากอดีต ชอบแบบนั้น แต่ต้องการสีนี้ ยิ่งกว่านั้นผู้บริโภคให้ความสำคัญกับ “คุณค่า” หรือValueมากขึ้น จะซื้อสินค้าแต่ละชิ้นมองปัจจัย “ความยั่งยืน” เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะ 2 สัญญาณ คือ ปัญหาเชิงโครงสร้างในโลก(Planet) กลายเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน(People) ทำให้การทำธุรกิจแบบเดิมๆไมไ่ด้อีกต่อไป ปิยะชาติ อิศรภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แบรนดิ คอร์ปอเรชัน จำกัด ให้มุมมอง

วิธีการทำธุรกิจยุคนี้ องค์กรต้องพลิกวิธีคิด(Mindset)คำนึงถึงระบบนิเวศน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น คน-People โลก-Planet และกำไร-Profit เพื่อเติบโตไปพร้อมๆกัน โดยย้ำว่าทุกฝ่ายต้องไม่ “หลงทาง” เกี่ยวกับการทำธุรกิจที่มุ่ง “กำไร” สูงสุด ซึ่งบริษัททำได้ย่อมเป็นเรื่องดี และไม่ควรมีใครรู้สึกแย่กับการที่ธุรกิจเติบโต แต่จงรู้สึกดีที่ธุรกิจโตได้ แต่การโตต้องแบ่งปัน(Creating Shared Value)

ทำไมปัญหาเชิง People Planet ยังดำเนินต่อไป ขณะที่ Profit ของภาคธุรกิจยังมีมากขึ้นทุกปี ยุคนี้การเปลี่ยนมายด์เซ็ทไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องทำทั้งระบบนิเวศน์ ผู้บริโภคต้องเปลี่ยน คอนซูเมอร์ไม่ได้เป็นพระเจ้าอีกต่อไป โลกนี้คือพระเจ้าของจริง เพราะโลกไม่ได้มี Planet B(

ลกสำรอง)ให้กับเรา เราต้องรักษาโลกบนี้ ธุรกิจก็ต้องทำไปด้วยกันทั้งหมด 

ส่วนปัญหา “ขยะ” ที่ทวีความใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ “พลาสติก” ไม่ต้องการให้มองเป็นผู้ร้ายรายเดียวในเกมนี้ เพราะต้องยอมรับอีกมิติหนึ่งพลาสติกให้ประโยชน์ไม่น้อย แต่หากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจุดนี้ เชื่อว่า “อำนาจซื้อ” ของผู้บริโภคมีส่วนสำคัญในการพลิกโลกได้ โดยแบรนด์สินค้าต้องทำให้เห็นว่าสินค้าที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมี “ราคาแพง” แพงเพราะคุณค่า หรือเแพงเพราะพรีเมี่ยม ไฮเอนด์ เช่น การซื้อสินค้าใส่ถุงพลาสติกราคา 20 บาท กับห่อใบตอง ราคา 25 บาท ผู้บริโภคจ่ายเพื่ออะไร การถือกาแฟในแก้วสตาร์บัคส์เพราะดูรวย!! กับบรรจุภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ ล้วนอยู่ที่ผู้บริโภคเลือก

อย่างไรก็ตาม ปัญหาสิ่งแวดล้อมมี Scale ที่แตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าจะปัญหาใด 99.99% ล้วนเกิดจากน้ำมือมนุษย์ จึงตั้งคำถามง่ายทิ้งท้าย เช่น ปัญหาการจราจรติดขัด ปัญหาเชิงโครงสร้างที่อยู่ในระบบ เราเป็น Part of Solutions หรือ Part of Problems” หากได้คำตอบการแก้ไขต้องเริ่มจากที่ตัวทุกคน

**แบรนด์ทำตลาดกู้โลก

เพราะภาคธุรกิจผลิตสินค้าตอบสนองความต้อวการผู้บริโภค เคยใช้อาวุธการตลาดช่วงชิงอำนาจซื้อจากกลุ่มเป้าหมายแล้ว วันนี้หลายแบรนด์ลุกขึ้นมาใช้ศาสตร์เดียวกัน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ชวนผู้บริโภคมารักโลกมากขึ้น  

2 น้ำดำระดับโลก “โค้ก-เป๊ปซี่” เดินกลยุทธ์แตกต่างเหมือนกัน โดย นันทิวัต ธรรมหทัย ผู้อำนวยการองค์กรสัมพันธ์ การสื่อสารและความยั่งยืน บริษัท โคคา โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เล่าให้ฟังว่าแต่ละปีโค้กมีแคมเปญการตลาดมากมายเพื่อลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะการดำเนินธุรกิจคงทำไม่ได้ หากองค์กรถูกมองเป็นภาระทางสังคม

“โค้กเป็นธุรกิจเครื่องดื่ม หากเติบโต แต่การโตทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำบริโภค มีขยะเต็มไปหมดทั้งบนบกและทางทะเล คงไม่มีใครต้องการเห็นธุรกิจเราโตเท่าไหร่ ดังนั้นการทำธุรกิจต้อง Make sure ว่าจะไม่เป็นภาระต่อสังคม สิ่งแวดล้อม” เขาย้ำ

ปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับเซ็นทรัล ซึ่งมีห้างค้าปลีกหลายสาขา มีการสร้างขยะจำนวนมาก ส่วนหนึ่งคือขยะที่รีไซเคิลไม่ได้ อีกทั้งปัญหาใหญ่ของขยะที่ปริมาณมากขึ้น ยังเกิดจาก “ต้นทาง” ไม่เข้าใจในการ แยกขยะ” ทิ้งขยะพลาสติก ขวดแก้ว จุก ฝา อาหาร(Food watse) ฯ รวมทำให้เปรอะเปรื้อนจนไม่อยู่ในสภาพที่นำไปซื้อขายต่อเพื่อรีไซเคิลได้ รวมถึงการแยกขยะเป็น Pain point ที่ ยุ่ง และ ยาก เลยผนึกกำลังลุยแคมเปญ โค้กขอคืน พร้อมดึง GEPP แพลตฟอร์มที่ทำการเก็บขยะ มาช่วยบริหารจัดการเก็บขยะเพื่อนำไปรีไซเคิล

อีกไฮไลท์ในปีนี้ คือการเตรียมส่งน้ำอัดลม สไปรท์” ในบรรจุภัณฑ์พลาสติกใส(PET) จากสีเขียว เพราะช่วยรักโลกมากขึ้น โดยไทยถือเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียน ต่อจากฟิลิปปินส์ที่เปิดตัวแพ็คเกจจิ้งใหม่

ทั้งนี้ เชื่อว่าคัมภีร์การตลาด การวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค สามารถช่วยโลกได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำ “ข้อมูล”(Data) มาช่วยให้เข้าใจความต้องการเชิงลึก(Insight) และใช้ Emotional มาขับเคลื่อนให้ผู้บริโภคเกิดการ “เปลี่ยนพฤติกรรม”

ที่ผ่านมา โค้กเคยทำงานวิจัยและพบว่า ผู้บริโภคยุคก่อนหรือ Baby Boomer ตระหนักและลงมือปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อโลกสีเขียวจริงจังมากกว่าคนรุ่นใหม่ วัยเริ่มต้นทำงานที่ Aware เรื่องนี้สูง ปัจจัยที่ทำให้ปฏิบัติการ “กอบกู้”โลกสีเขียวกว่าเพราะคนดังกล่าวอาจเกษียณ มีกำลังซื้อสูง ไม่ต้องดิ้นรนทำงานหาเลี้ยงชีพแล้ว

การสร้างโลกสีเขียว มุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การตลาดมีบทบาทมากเพราะเป็นการสื่อสารกับผู้บริโภคให้เกิดการรับรู้ เข้าใจ ถึงเวลาจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมจริงๆ เราใช้ดาต้ามาเราใช้ดาต้ามาคุยกัน ซึ่งหลายอย่างที่ติดขัดเพราะไม่ใช่ข้อมูล แต่ใช้ความรู้สึก” พร้อมยกตัวอย่างโค้กมีสินค้าขวแก้วแบบคืนขวด แต่ลูกค้าถามหาเฉพาะสินค้าที่ไม่คืนขวด ในมิติการแข่งขัน เป็นเรื่องดีสำหรับโค้ก เพราะคู่แข่งไม่มีบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว แต่หากมองให้ลึก ขวดแก้ว มีผลกระทบด้านปริมาณการใช้น้ำ(Water Footprint) การขนส่งหนักทำให้ใช้พลังงานมาก ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแก้ว หรือแคร์พลาสติก อาจลืมเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือ Carbon Footprint ผลกระทบมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน จึงต้องมองรอบด้านด้วยข้อมูล เพื่อป้องกันผลกระทบที่คาดไม่ถึง

ด้าน จรณชัย ศัลยพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) ฉายภาพเป๊ปซี่ หลังตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตสินค้าเองและเลือกขวดพลาสติก PET เพราะตอบสนองพฤติกรรม ทัศนคติผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย มีความแอ๊คทีพ คล่องตัว ไม่ต้องการนั่งดื่มกับที่ แต่ขอพกพาไปไหนได้ตลอด

“ตอนทำคอนซูเมอร์อินไซต์ ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยน และเรามองแพ็คเกจจิ้งอะไรที่น่าสนใจ ก่อนนั้น PET ยังน้อย แต่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน จึงตัดสินใจทำธุรกิจทิศทางนี้(เน้นขวดพลาสติกPET)) พร้อมยกคุณสมบัติของ PET มีน้ำหนักเบา ทนทานต่อแรงกดแรงกระแทก ป้องกันการซึมผ่านของแก๊สได้ ยิ่งพิจารณาการผลิตตลอดทั้งซัพพลายเชน ยังลดทรัพยากร ลดการใช้พลังงานเมื่อเทียบบรรจุภัณฑ์อื่น

เมื่อผลิตออกไป การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นมากขึ้น จึงผนึก วงษ์พาณิชย์” ที่มีแฟรนไชส์ 1,761 สาขาทั่วไทย ทำการรับซื้อขวดพลาสติก PET ที่มาจากเครือซันโทรี่ เป๊ปซี่โค และให้ “ราคาแพงกว่า” ตลาด เช่น ขวด PET ใส 10.40 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ตลาดให้ 9.40 บาทต่อกก. ขวด PET สี 4 บาทต่อกก. ตลาดให้ 3 บาทต่อกก. เพื่อจูงใจให้เกิดการแยกขยะที่ยุ่งยากเกิดเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นร้านค้ากว่า 2 แสนแห่งทั่วประเทศ ร้านอาหารฯ ได้ร่วมรักโลก และมี “กำไร” จากการเก็บแยกขยะขายกลับคืนด้วย

รณรงค์ให้ตาย หากให้ไม่มีแรงจูงใจ ไม่ถึงวาระสุดท้าย จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กลับกันเมื่อมีแรงจูงใจจะช่วยขับเคลื่อน และเปลี่ยนทัศนคติได้”  

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 แบรนด์ ยังมีเป้าหมายดับโลก โดยโค้ก จะเก็บแพ็คเกจจิ้งกลับคืนให้ได้ 100% ในปี 2573 เพื่อนำไปรีไซเคิล ส่วนเป๊ปซี่วางนโยบาย 10 ปี “2R+B” ลดแพ็คเกจจิ้งที่ผลิตจากปิโตรเลียม(พลาสติก) เพิ่มการรีไซเคิล และหาแพ็คเกจจิ้งชีวภาพ(ไบโอ)ที่ย่อยสลายได้มาใช้มากขึ้น

ขณะที่ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มของไทย ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด ลุกมาทำแคมเปญ เกี่ยวช่วยโลก” แม้จะเป็นไอเดียจากเอเยนซี่ แต่สอดคล้องกับแนวคิดของตนเช่นกัน เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อม เรื่องขยะใกล้ตัวมาก เมื่อ “บุตรสาว” ถามถึงการใช้แพ็คเกจจิ้งน้ำดื่มจะมีอะไรมาทดแทนขวดพลาสติก PET การพยายามหายังเดินหน้าต่อ แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่คือการรณรงค์ให้ผู้บริโภคโดยเฉพาะที่อาศัยในบ้านเรือน คอนโดมิเนียม ฯหันมาดื่มน้ำ “ขวดแก้ว” มากขึ้น

เราบังคับให้คนรักโลกไม่ได้ แต่ช่วยกันคนละไม้คนละมือทำให้โลกดีขึ้นได้ สิ่งที่เราทำไม่ยิ่งใหญ่ แต่เราตั้งใจทำจริงๆ

ในเชิงธุรกิจการผลิตน้ำดื่มขวดแก้วต้นทุนสูงกว่าขวดพลาสติก ซ้ำร้ายยังขายได้ราคาต่ำกว่า เพราะขวดแก้ว 5 บาท ขวด PET 7 บาท(ขนาด 600 มิลลิลิตร) เรียกว่าขายมากอาจขาดทุนมาก

การรักสิ่งแวดล้อม มี 3 ส่วน ใช้ซ้ำ(Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่(Recycle) และลดการใช้(Reduse) แต่การใช้ซ้ำ เป็นสิ่งที่ทำกันค่อนข้างน้อย “เกี่ยวช่วยโลก” ต้องการกอบกู้โลกผ่านการใช้ซ้ำให้มากขึ้น เรียกว่าใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยสุด

กิจกรรมรักษ์โลก ไม่หมดแค่นี้ เพราะสิงห์ปาร์ค เชียงราย เนื้อที่ 8,000 ไร่ ยังมุ่งสร้างธรรมชาติ เพิ่มพื้นที่สีเขียว โรงงานผลิตเดินหน้าลดคาร์บอนฟุตปริ้นท์ นำน้ำกลับมาใช้ซ้ำฯ

ฟรายถาก(Freitag) อาจเป็นกระเป๋ารักษ์โลกที่ฮิตมากๆ แต่กระเป๋า SCG ก็ชิคไม่ต่างกัน ในงานสัมมนา Voice of Green หรือการตลาดโลกสวย ที่นักศึกษาปริญญาโท สาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) เลยเห็น วีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานเอนเตอร์ไพรซ์ แบรนด์ แมเนจเมนท์ บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)หรือเอสซีจี สบายกระเป๋าที่มาจากถุงปูนซีเมนต์ SCG เรียกเสียงฮือฮาจากสาวกสาย Green ได้ไม่น้อย

เอสซีจี เป็นองค์กรใหญ่ยืนหยัดบนสังเวียนธุรกิจการค้ามา 107 ปี และต้องการให้เติบโตยั่งยืนถึงพันปี จากธุรกิจปูนซีเมนต์ ขยายไปสู่ธุรกิจแพ็คเกจจิ้ง ผ่านยุคโชติช่วงชัชวาล ขยายสู่ธุรกิจปิโตรเคมี ผลิตเม็ดพลาสติก ที่แม้จะเป็นส่วนน้อย และถูกมอง “ลบ” ไปบ้าง แต่บริษัทยกระดับการพัฒนา คิดค้นนวัตกรรมเพื่อลุยพลาสติกที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตมนุษย์ เช่น ผลิตถุงน้ำเกลือ ไซริ้ง และผ้าร้องผ้าตัด ให้วงการแพทย์

“เรามุ่งนวัตกรรมที่ให้ประโยชน์สูงขึ้นเรื่อยๆ” เมื่อการทำธุรกิจต้องมองความยั่งยืนควบคู่ จึงมีแนวคิด SCG Circular Way : หมุนเวียนกลับมาใช้ให้คุ้มค่า มาใช้ดำเนินงาน โดยเฉพาะภาคการผลิต เพราะหากองค์กรธุรกิจยังใช้ทรัพยากรดังเช่นวันนี้ ลูกหลานอาจไม่มีทรัพยากรให้ใช้ ผลกระทบต่อโลกย่อมทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งโลกร้อนมากขึ้น 1.5-2 องศา ไฟป่าออสเตรเลียลุกลามยาวนานขึ้น กระทั่งการไปตรวจเยี่ยมโครงการเกี่ยวกับน้ำที่เอสซีจีทำหลายพื้นที่ เห็นแม่น้ำโขงแห้งขอด จนตกใจ!! เพราะเพียงธันวาคม ภัยแล้งสาหัสมาเยือนแล้ว

 ขณะที่การนำทรัพยากรมาใช้หมุนเวียน ยังพบบางอย่างพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ มีคุณค่าและ “ราคาแพง” เช่น ถุงปูนที่มีปูนซีเมนต์ ขายได้ในราคาต่ำกว่าถุงปูนซีเมนต์ที่เป็นเป้ กระเป๋า

เพราะรักโลกคนเดียวยุคนี้ไม่พอ เอสซีจี ยังผนึกกับองค์กรชั้นนำ เพื่อให้เกิดผลกระทบวงกว้าง ร่วมกับโค้ก เก็บบรรจุภัณฑ์กลับไปรีไซเคิล นำขวด PET ไปสร้างบ้านให้ปลา ปัจจุบันทำกว่า 1,500 หลัง ร่วมกับ “เทสโก้ โลตัส” และผู้ผลิตขนมไหว้พระจัทร์ นำกล่องจำนวนมหาศาลไปรีไซเคิล แทนการตัดต้นไม้ผลิตกล่องกระดาษใหม่ การใช้ถุงพลาสติดให้คุ้ม (ราว 200 ครั้ง) นำพุงพลาสติกไปผลิตวัสดุทำถนน

นอกจากนี้ สำนักงานใหญ่ที่มีองค์กร 7,000-8,000 คน ยังกระตุ้นด้วย 3 คำ คือ ใช้ให้คุ้ม-ใช้ให้เป็น-ทิ้งให้ถูก” เช่น การใช้ขวดน้ำพกพา ลดการใช้ขวด PET ที่มีมากถึง 5,000 ขวดต่อวัน การเลือกรับประทานอาหารตามความต้องการ ไซส์ S M L ลดของเสีย การลองแยกขยะ โดยให้ ผู้บริหาร” ลองหยิบขยะแล้วทิ้งลงถังที่มีทั้ง 6 ประเภท เป็นต้น

เราลองให้ผู้บริหารลองทิ้งขยะดูว่าถังไหน แล้วถ่ายวิดีโอ ปรากฎว่า..ทิ้งผิด แต่ให้ทิ้งใหม่ได้ เพื่อเป็นการให้ความรู้กันไป อย่าอายที่จะเรียนรู้ ทำผิดถือเป็น Learning แล้วปรับกันใหม่

เหล่านี้เป็นสิ่งที่แบรนด์ องค์กรธุรกิจพยายามผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบ และอาจกู้โลกสีเขียว แต่ประเด็นดังกล่าวใหญ่เกินกว่าคนๆเดียว องค์กรธุรกิจแห่งเดียวจะทำ ทุกคนหรือ People ต้องลุกมาจริงจัง เพื่อ Planet จะได้ยั่งยืน