5 ปีต้องการแรงงานกว่า 4.7 แสนคน
การพัฒนาคนให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ ภาคอุตสาหกรรม และความต้องการของประเทศ
สิ่งแรกที่ต้องค้นหาให้เจอคือจำนวนความต้องการ เพราะหากผลิตออกมาไม่ตอบสนองกำลังคนก็จะกลายเป็นล้นตลาด ตกงานอย่างเฉกเช่นบัณฑิตในหลายๆ คณะเดินเตะฝุ่นอยู่ในขณะนี้
กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้เปิดเผยภาพรวมความต้องการแรงงาน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ในปี 5 (2562-2566) แบ่งออกเป็น 7 อุตสาหกรรมเป้าหมาย + 3 โครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) มีจำนวนทั้งสิ้น 475,667 คน
โดยเป็นระดับอาชีวศึกษา 253,115 คน ปริญญาตรี 213,942 คน และปริญญาโท - เอก 8,610 คน แบ่งเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต 53,739 คน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 คน ท่องเที่ยวกลุ่มผู้มีรายได้ดี 16,920 คน หุ่นยนต์ 37,526 คน การบิน 32,837 คน ดิจิทัล 116,222 คน การแพทย์ครบวงจร 11,410 คน ระบบราง (รถไฟความเร็วสูง)24,246 คน พาณิชย์นาวี 14,630 คน และโลจิสติกส์ 109,910 คน
อย่างไรก็ตาม ความต้องการแรงงานใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีแนวทางพัฒนาบุคลากรและการศึกษายุคใหม่ ตามหลัก Demand Driven โดยเสนอปรับโครงสร้างการจัดการการศึกษา การเรียนรู้จากด้าน “อุปทาน” สู่ “อุปสงค์” ตอบโจทย์การมีงานทำ มีรายได้ดี