พาณิชย์ถกผู้ผลิตสินค้า รับมือ โควิด-19

พาณิชย์ถกผู้ผลิตสินค้า รับมือ โควิด-19

พาณิชย์หารือผู้ผลิต ดูแลสินค้าอุปโภคบริโภค รับมือโควิด 19 เผยกกร.ออกประกาศ 3 ฉบับคุมหน้ากากอนามัย  ด้านผู้ประกอบการพร้อมเพิ่มกำลังการผลิต ยันสินค้ายังไม่ขาดตลาด

นายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏร์  รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทางพาณิชย์  เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้ร่วมกับผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภค ว่า ได้เชิญผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค  43 ราย สมาคม 9 ห้างสรรพสินค้า 6 ราย  ทั้งหมดเพื่อให้เพื่อให้กรมการค้าภายในติดตามสถานการณ์สินค้าอุปโภคบริโภคในสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญกับปัญหาโควิด -19  ทั้งนี้เพื่อเตรียมการรองรับมาตรการของรัฐบาลที่มีแนวโน้มว่าจะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งในกับประชาชนในกลุ่มที่มีความจำเป็น  ซึ่งจะเสนอเรื่องในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 10 มี.ค.นี้  

โดยได้มีการให้ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มรายงานสถานการณ์สินค้าภาพรวมของสินค้า เช่นเช่น ข้าวถุง เจลล้างมือ อาหารสำเร็จรูป สบู่ กระดาษทิชชู เป็นต้น  ทำให้ได้เห็นภาพรวมว่าสำหรับอาหารสำเร็จรูปนั้นมีแนวโน้มยอดขายออนไลน์มีเพิ่มขึ้นและได้รับแจ้งว่ากำลังการผลิตปัจจุบันนี้ยังอยู่ประมาณ 70%  ซึ่งยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีก 30 %โดยประมาณ โดยกระทรวงจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และจะประสานงานกับผู้ผลิตผู้ค้าสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้องตลอดเวลา           

      

       

นายจุรินทร์ กล่าวว่า เรื่องที่สองเป็นเรื่องของหน้ากากอนามัย ขณะนี้สถานการณ์การผลิต ผลิตได้ เดือนละ 36 ล้านชิ้น มีผู้ผลิตรวมกัน 11 โรงงาน เปลี่ยนวันละ 1,200,000 ชิ้นต่อวัน เบื้องต้นได้มีมติความเห็นร่วมกัน ต้องจัดให้กับสถานพยาบาล และ บุคคลากรทางแพทย์ เป็นลำดับแรกเพราะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง โดยจะมีการจัดสรรให้กับสถานพยาบาล วันละ 700,000 ชิ้น  และอีก 500,000 ชิ้น ที่เหลือจะกระจายไปยังประชาชนผ่านทางร้านค้าต่าง ๆ

นายจุรินทร์  กล่าวว่า ขณะนี้ได้มีประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้า (กกร.)จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ได้กำหนดเนื้อหาให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หน้ากากอนามัย จะต้องแจ้งข้อมูลราคามายังกรมการค้าทุกวัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มี.ค.เป็นตันไป   2. เป็นเรื่องของการกำหนดราคาของหน้ากากอนามัย ให้จำนวนในราคาปลีกไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาท มีผลตั้งแต่ 6 มี.ค. ยกเว้นหน้ากากอนามัยที่ผลิตมาก่อนหน้าซึ่งอาจจะมีราคาต้นทุนที่แตกต่างกัน โดยให้เวลาถึงวันอาทิตย์ที่ 8 มี.ค.ท่านั้น หลังจากนั้นต้นไปจะต้องจำหน่ายในราคา 2.50 บาทเท่านั้น  สำหรับหน้ากากทางเลือก ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือ ที่ไม่ได้ผลิตจาก 11 โรงงาน ราคาจะต้องไม่เกินไปกว่าต้นทุนการนำเข้า บวกกับราคาผู้นำเข้าหรือผู้ผลิตขายให้กับผู้ค้าส่งได้ไม่เกิน 10  % และผู้ค้าส่งจะขายไปยังผู้ค้าปลีกก็ต้องบวกได้ไม่เกิน 10 % และผู้ค้าปลีกขายได้บวกไม่เกิน 23 % จากราคาที่ซื้อมา รวมทั้งหมดก่อนถึงลูกค้าจะต้องไม่เกิน 60 % และ 3.เจลล้างมือประกาศในเป็นสินค้าควบคุมแล้ว นั้นคือกำหนดว่าห้ามขายกว่าราคาที่แจ้งไว้ในปัจจุบันก่อนหน้าที่แจ้งไว้

 “ หากมีผู้ใดขายเกินราคาที่ถูกกำหนดไว้มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท // หรือ จำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเบื้องต้นได้มีการดำเนินคดีไปแล้ว 89 ราย มีการดำเนินการทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาค โดยส่วนกลางจำนวน  64 ราย  ในส่วนภูมิภาค 25 ราย ข้อหาไม่ติดป้ายแสดงราคาและ ข้อหาจำหน่ายแพงเกินสมควร”

158358253478

             

นางพิชชาภรณ์   อาชชวงศ์ทิพย์   สมาคมผู้ประกอบการอาหารสำเร็จรูปแจ้งว่าปัจจุบันยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่อีก 30 % ประชาชนจึงไม่ต้องเป็นห่วงถึงปัญหาการขาดแคลนอาหาร

นายสัมฤทธิ์ ยิบยินธรรม บริษัท ริเวอร์ โปร พัลพ์แอนด์เปเปอร์ ผู้ผลิตกระดาษทิชชู กล่าวว่า  ปริมาณความสามารถในการผลิตกระดาษทิชชูของประเทศไทยยังมีเพียงพอเหลือเฟือดังนั้นการขาดแคลนจึงยังไม่น่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้แต่เราอาจจะยังเห็นว่าสินค้ามีการพร่องไปจากชั้นวางของเนื่องจากสินค้าทิชชู่ใช้เนื้อที่ในการวางเยอะหากทางห้างเติมสินค้าไม่ทันอาจจะดูเหมือนของขาดแต่ในความเป็นจริงยังมีปริมาณเหลือเฟือ

นายฉัตรชัย ดวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมค้าปลีกไทย กล่าวว่า  ยืนยันว่า  สินค้ายังไม่ขาดตอนและยังสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้อีกทำให้การขาดแคลนที่เหมือนกับการขาดแคนตอนน้ำท่วมเมื่อปี 2554 ยังไม่น่าจะเกิดขึ้นเนื่องจากเราไม่ได้ประสบกับปัญหาการขนส่งจึงเชื่อว่าสินค้าสามารถถูกขนส่งมายังมือพี่น้องประชาชนได้อย่างไม่มีปัญหาซึ่ง ขณะนี้สินค้าก็ยังมีพร้อมโดยเฉพาะสินค้า