ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) อนุมัติพักชำระหนี้เกษตรกรชาวสวนยางพารา 7 เดือน กว่า 700 ล้านบาท จากผลกระทบโควิด-19และราคาตกต่ำ
นายประพันธ์ บุญยเกียรติ ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ผู้สื่อข่าว” ว่าที่ประชุมวอร์รูมเพื่อติดตามผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กับเกษตรกรชาวสวนยาง
“วอร์รูมประกอบด้วยผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เป็นประธานฯในฐานะผู้อำนาจ ก็มีรองผู้ว่าฯและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง2-3ฝ่ายโดยมีประธานบอร์ดเป็นที่ปรึกษา”
ซึ่งที่ประชุมมีมติเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในช่วงสถานการณ์ดังกล่าวด้วยการพักช้ำระหนี้ (ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย” รอบตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.-30 ก.ย.63
เพราะรอบที่เกษตรกรจะต้องชำระหนี้คือเดือนมี.ค.นี้ ซึ่งพิจารณราแล้วว่าหากให้เกษตรกรชำระหนี้ตามงวดปกติ ก็จะเป็นการซ้ำเติมความเดือนร้อนของเกษตรกรเข้าไปอีก จากราคายางที่ตกต่ำและโรคระบาดที่เกิดขึ้น
“ก็ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์และความเป็นจริงว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะดีขึ้นหรือไม่ หากสถานการณ์ดีขึ้นก็กลับมาชำระหนี้ตามปกติ แต่หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นก็จะพิจารณากันอีกครั้งหลังจากผ่านช่วงเวลาที่กำหนดเบื้องต้น”
นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย ประกอบด้วย
ตามมาตรา 49 (3) ที่เป็นเงินกู้ในการประกอบอาชีพการทำสวนยาง คือเน้นในเรื่องสวนยาง มีเกษตรกรได้รับเงินกู้ทั้งหมด 620 ราย จำนวนเงิน 62,361,894 บาท
และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เช่น สหกรณ์และกลุ่มฯต่างๆจำนวน 822 สถาบัน เป็นจำนวนเงิน 415,562,200 บาท และผู้ประกอบกิจการยางจำนวน 26 ราย เป็นจำนวนเงิน 27,358,500 บาท
ตามมาตรา 49 (5) สำหรับผู้กู้ไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนประกอบอาชีพเสริมนอกเหนือจากการทำสวนยางมีทั้งหมดตั้งแต่ปี 2560-2563 จำนวน 4,221 ราย เป็นเงินจำนวน 211,024,853 บาท