องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นเสนอ 6 แนวทางป้องกันทุจริตการใช้เงินกู้ 4 แสนล้าน
องค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นเสนอ 6 ข้อติดตามการใช้เงินกู้ 4 แสนล้าน ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แนะดึงภาคประชาชนร่วมตรวจสอบตั้งแต่ตั้งโครงการ ถอดบทเรียน พ.ร.ก.เงินกู้ในอดีต อุดช่องโหว่ไม่ให้เกิดการรั่วไหล
นายประมนต์ สุธีวงศ์ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น(ประเทศไทย) เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขานายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ที่ทำเนียบรัฐบาล วานนี้ (1มิ.ย.) ว่าองค์การต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทยมีความ มีความกังวลใจเป็นอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงคอร์รัปชันสูงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาทเพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจของประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 อย่างเร่งด่วน ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างที่จะมีการอนุมัติโครงการในส่วนวงเงินที่ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 4 แสนล้านบาทซึ่งจะต้องมีการสร้างกลไกในการเฝ้าระวังการทุจริตซึ่งไม่เพียงกลไกของรัฐต้องมีกลไกของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังด้วย
องค์กรฯ จึงมีข้อเสนอแนะที่อาจเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในกำหนดมาตรการป้องกัน ความเสี่ยงทุจริตคอร์รัปชันในการใช้จำยเงินกู้ โดยข้อเสนอทั้ง 6 ข้อ ตั้งอยู่บนหลักการเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชนช่วยตรวจสอบ ดังนี้
1.กำหนดองค์ประกอบคณะกรรมการกลั่นกรอง ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนร่วมด้วย 2.พิจารณาจัดตั้ง “คณะกรรมการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้” ให้เป็นคณะกรรมการที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างอิสระ 3.จัดตั้งช่องทางการเปิดผยข้อมูลการใช้จ่ายเงินกู้ให้ประชาชนคิดตามสะดวกตามหลักปฏิบัติ Open Government Data และเป็นข้อมูลที่ประชาชนสามารถติดตามและทำความเข้าใจได้ง่าย
4.รวบรวมข้อมูลการทุจริตคอร์รัปชั่นเงินกู้ในอดีต เช่น เงินกู้มิยาซาว และ เงินกู้ไทยเข้มแข็ง ว่ามีช่องโหวหรือจุดรั่วไหลใดที่ทำให้เกิดโอกาสทุจริตคอร์รัปชันได้ 5.พิจารณากำหนดช่องทางการตรวจสอบการใช้จ่ายเงินกู้โดยประชาชนและควรจัดช่องทางรับ ข้อร้องเรียนเฉพาะให้ประชาชนแจ้งเบาะแส
และ 6.การลงโทษผู้กระทำกรทุจริตคอร์ปชัน ต้องรวดเร็วและรุนแรง เป็นไปอย่งเท่าเทียม โดยอิงตามมติคณะรัฐมนมนตรี 27/3/61 และ มติคณะรัฐมนตรี 28/1/63 มาบังคับใช้เคร่งครัด โดยมีคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาดิ (ศอตช.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก
รายงานจากทำเนียบรัฐบาลระบุว่านายกอบศักดิ์ได้เชิญหน่วยงานหลายภาคส่วนเข้ามาหารือเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการป้องกันการทุจริตในการใช้เงินกู้ฯตามกรอบเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งนอกจากองค์การต่อต้านคอร์รัปชัน แล้วยังมีผู้แทนจากธนาคารโลก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักบริหารหนี้สาธารณะมาร่วมหารือ
โดยตัวแทนจากธนาคารโลกได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการเสนอโครงการว่าจะตรงตามความต้องการของคนในท้องถิ่นต่างๆหรือไม่ ส่วนสศช.ได้รายงานว่ากำลังพัฒนาระบบกลางเป็นเว็บไซต์ที่สำหรับให้ประชาชนช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการต่างๆ รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณในโครงการต่างๆเพื่อสร้างความโปร่งใสในการตรวจสอบจากประชาชนอีกช่องทางหนึ่ง