"Contractor" Sector (5 มิ.ย.63)
จับตาการประมูลโครงการรถไฟฟ้า MRT สายสีส้มตะวันตก
Event
อัพเดตแนวโน้มกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง
lmpact
ไม่ได้อานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือ COVID-19 (1.9 ล้านล้านบาท)
รัฐสภาไทยได้อนุมัติแพคเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.9 ล้านล้านบาทเพื่อรับมือผลกระทบจาก coronavirus เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 โดยในจำนวนนี้มีงบสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม 4 แสนล้านบาทซึ่งรวมถึงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศด้วย แต่เราคาดว่าผู้รับเหมารายใหญ่ และ
ผู้รับเหมางานเสาเข็มและฐานรากจะไม่ได้อานิสงส์จากงบก้อนนี้เพราะมุ่งไปที่โครงการขนาดเล็ก แต่ผู้รับเหมารายเล็กน่าจะได้อานิสงส์มากกว่า
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตก (งานโยธา ~ 9 หมื่นล้านบาท) – โครงการหลักที่จะเปิดประมูลปีนี้
เนื่องจากโครงการภาครัฐหลายโครงการถูกชะลอออกไปในช่วงที่ COVID-19 ระบาด เรามองว่า โครงการที่มีศักยภาพสูงที่สุดที่จะเดินหน้าเข้าสู่เฟสของการเปิดประมูลได้เร็วมีแค่โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกเท่านั้น เพราะโครงการอื่น ๆ ยังต้องรอการอนุมัติ และมีการปรับรายละเอียดโครงการรวมถึงแนวทางการลงทุน ทั้งนี้ เราคาดว่ามีสองกลุ่มที่จะเข้าแข่งประมูลโครงการนี้ ได้แก่ i) CK และ Bangkok Expressway and Metro (BEM.BK//BEM TB)* กับ ii) BGSR consortium ซึ่งประกอบด้วย i) BTS Group Holdings (BTS.BK/BTS TB)* ii) Gulf Energy Development (GULF.BK/GULF TB)* iii) STEC iv) Ratch Group (RATCH.BK/RATCH TB)* ร่วมกับ China Harbour Engineering เราคาดว่า โครงการนี้น่าจะออก TOR อย่างเป็นทางการได้ภายในเดือนนี้ นอกจากโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกแล้ว เรามองว่าอาจจะมีโครงการรถไฟทางคู่เฟสที่สองบางเส้นทางที่สามารถเปิดประมูลแบบ e-bidding ได้ใน 4Q63 ซึ่งจาการตรวจสอบข้อมูลกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำให้เราทราบว่า TOR ของเส้นทาง (จิระ – อุบลและขอนแก่น – หนองคาย มูลค่า 6.42 หมื่นล้านบาท) เสร็จแล้วและกำลังรอการอนุมัติจาก ครม. ทั้งนี้ หากทั้งสองโครงการเดินหน้าเปิดประมูลได้ก็จะทำให้ backlog ของผู้รับเหมารายใหญ่มี upside อีก 1.542 แสนล้านบาท ซึ่งเราคาดว่าไม่ CK ก็ STEC น่าจะได้ backlog 9 หมื่นล้านบาทจากโครงการรถไฟฟ้ าสายสีส้มตะวันตก ถ้าหาก CK ได้ backlog ใหม่เพิ่มจากโครงการนี้ก็จะทำให้ยอด backlog เพิ่มขึ้นสามเท่า แต่หาก STEC ได้ก็จะทำให้ backlog เพิ่มขึ้นเท่าตัว
เลื่อนประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงไปปีหน้าเนื่องมีการเปลี่ยนรูปแบบการลงทุน
กระทรวงคมนาคมตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงจากการประมูลงานโยธามาเป็นแบบ PPP ประกอบด้วย i) สายสีแดงเข้ม (รังสิต – ธรรมศาสตร์) ii) สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน-ศาลายา) iii) สายสีแดงอ่อน (ตลิ่งชัน – ศิริราช) iv) missing link (บางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน) และ iv)
ส่วนที่มีการปรับแบบ ทั้งนี้ รฟท. กำลังศึกษาการใช้แนวทาง PPP กับโครงการนี้ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 3-4 เดือน โดยจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนกว่าที่กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการ PPP จะพิจารณาเสร็จ เราคาดว่าโครงการนี้น่าจะออก TOR ได้ใน 2H64
คาดว่าผลประกอบการ 2H63 จะฟื้นตัว HoH
เราคาดว่าผลประกอบการใน 2H63 จะฟื้นตัวขึ้น HoH เนื่องจาก i) CK พลิกจากขาดทุนสุทธิมาเป็นกำไรสุทธิเนื่องจาก BEM จะได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการ lockdown และเป็นช่วง peak ตามฤดูกาลของ CK Power (CKP.BK/CKP TB)* และ ii) อัตรากำไรขั้นต้นโดยรวมของ STEC เพิ่มขึ้นเนื่องจากมีรายได้จากการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้า Gulf ปลวกแดงซึ่ง จะเริ่มก่อสร้างใน 3Q63
Valuation & Action
เรายังคงให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างที่ Neutral และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายกลางปี 2564 โดยเลือก STEC เป็นหุ้นเด่นในกลุ่มเนื่องจาก i) backlog เมื่อสิ้นงวด 1Q63 สูงถึง 7.3 หมื่นล้านบาท และ ii) ยังมี backlog ที่จะเพิ่มเข้ามาอีกจากเฟสแรกของโครงการเมืองสนามบินอู่ตะเภา (2 หมื่นล้านบาท) รถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย (2 พันล้านบาท) และงาน O&M มอเตอร์เวย์ (5-6 พันล้านบาท)
Risks
การก่อสร้างล่าช้ากว่ากำหนด ขาดแคลนแรงงาน และต้นทุนค่าวัสดุแพงขึ้น