"COMMERCE" SECTOR (8 มิ.ย.63)

"COMMERCE" SECTOR (8 มิ.ย.63)

เงินในอากาศ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) ได้รายงานดัชนีค้าปลีก (retail indices) ไปในทิศทางเดียวกับมุมมองของเราว่าการค้าปลีกจะยังคงอ่อนแอและการค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้าจะยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่า เราคาดว่าแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไปใน 2Q20 จากตลาดการจ้างงานที่ยังคงอ่อนแอ ส่วนมาตรการ social distancing และมาตรการ WFH จะยังคงสนับสนุนการยอดค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้าให้มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าต่อไป จากการที่ไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจนทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวและตลาดการจ้างงานในไทย เราจึงคงมุมมองต่อ SSSg ของผู้ค้าปลีกสินค้าจำเป็น(consumer staples) จะทำผลงานได้ดีกว่าในปีนี้ เราคงคำแนะนำเป็นกลาง สำหรับกลุ่มพาณิชย์จากการรอมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติม หุ้นเด่นของเรายังคงเป็น CPALL จากพื้นฐานระยะยาวที่ยังคงมีความแข็งแกร่งจาก online platforms รวมถึงการที่สามารถเพิ่มอัตรากำไรจากขายสินค้าแบรนด์ของตัวเองมากขึ้น และโอกาสในการได้รับประโยชน์จากตลาด ASEAN ที่มีการเติบโตเร็ว

 

ยอดค้าปลีกยังคงอ่อนแอ โอกาสในตลาดค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้า

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) ได้รายงานยอดค้าปลีกในเดือนมีนาคมที่อ่อนแอจากการปิดร้านค้าและการบริโภคภาคเอกชนที่อ่อนแอ ส่วนที่อ่อนแอหลักมาจากการใช้จ่ายในสินค้าคงทนที่ลดลง -27% เทียบกับสินค้าไม่คงทน -7.9% ในช่วงเดือนมีนาคม 2020 ในอีกมุมหนึ่งการค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้ายังคงมีความแข็งแกร่ง โดยมีการเติบโต 89% ในเดือนมีนาคม อ้างอิงไปถึงรายงานของเราก่อนหน้านี้ การใช้จ่ายผ่าน Krungsri Consumer credit card ได้รายงานการเติบโต 75% yoy ในการใช้จ่ายอ่อนไลน์ รวมถึงมาตรการ social distancing จะยังคงหนุนแนวโน้มการเติบโตของยอดขายค้าปลีกแบบไม่มีร้านค้าไปใน 2Q20

 

Google mobility รายงานการฟื้นตัวของการจราจรค่อยเป็นค่อยไป

หลังจากการผ่อนคลายการ lockdown ในเดือนพฤษภาคมหนึ่งเดือน เรามองเห็นการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปสำหรับการค้าปลีกและการท่องเที่ยวพักผ่อน จากการที่ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารและสวนสาธารณะค่อยๆเปิดให้บริการ จำนวนผู้ใช้บริการค้าปลีกและการท่องเที่ยวพักผ่อนได้ลดลงราว -48% จากระดับก่อน COVID ในช่วงของการ lockdown และเริ่มมีการฟื้นตัวสู่ระดับ -27% ในช่วงการผ่อนคลาย นอกจาก pend-up demand สำหรับสินค้าบางประเภท (เช่น สินค้าตกแต่งบ้าน) ที่ไม่เหมาะสำหรับการ online shopping เราคาดว่าจำนวนผู้ใช้บริการที่ค่อยๆฟื้นตัวจะช่วยหนุนให้มีการฟื้นตัวของ SSSg ในสำหรับทุกๆผู้ค้าปลีก ในขณะที่จำนวนผู้คนบริเวณสถานที่ทำงานและที่อยู่อาศัยยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะสะท้อนมุมมองที่ระมัดระวังของบางบริษัทที่ยังคงนโยบาย WFH ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า แนวโน้มนี้จะยังคงอยู่แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายการ lockdown ครบทั้ง 4 ช่วงและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพื้นฐานขึ้นในกลุ่มพื้นที่ค้าปลีก ถ้านโยบาย WFH ไม่ใช่แค่แผน BCP plan และอาจทำให้การเปิดร้านค้าในบริเวณที่อยู่อาศัยมากขึ้น

 

CPALL เป็นหุ้นเด่น; รอมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว

จากการที่ไม่มีการฟื้นตัวที่ชัดเจนทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและคนไทยบางส่วนที่ตกงานในภาคบริการและภาคการผลิต เรายังคงมุมมองของเราที่เห็นยอดค้าปลีกที่อ่อนแอ ดังนั้นเราจึงคงมุมมองว่า SSSg ของผู้ค้าปลีกสินค้าจำเป็นจะยังคงมีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าในปีนี้ CPALL จึงเป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรมสินค้าจำเป็น (ทั้ง CVS และ Cash&Carry) หากมองข้าม Covid-19 CPALL จะสามารถเพิ่มอัตรากำไรจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นของสินค้าตรายี่ห้อของตนเอง และการขยายของไปยังต่างประเทศ (CVS และ C&C) และการใช้ประโยชน์จาก synergies ที่เกิดจากการซือ TESCO ซึ่งการซื้อขายจะสำเร็จในช่วงครึ่งปีหลัง (รอการอนุมัติจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า (OTCC) อย่างช้าที่สุดในวันที่ 25 กันยายน) หากมองต่อไปข้างหน้า รัฐบาลอาจอนุมัติมาตรการให้เงินประชาชน และอาจจะมีนโยบายที่ช่วยหนุนยอดค้าปลีก เราจึงคงมุมมองที่เป็นกลางสำหรับกลุ่มพาณิชย์