MTC - ซื้อ

MTC - ซื้อ

ดีจนเหลือเชื่อ

Event

ประชุมนักวิเคราะห์ และปรับลด P/E ลง

lmpact

ผลประกอบการ 2H63 จะดีกว่าใน 1H63

ผู้บริหารมองว่าช่วงที่แย่ที่สุดผ่านพ้นไปแล้ว และมองบวกค่อนข้างมากกับแนวโน้มการเติบโตใน 2H63 โดยคาดว่าผลประกอบการจะดีกว่าใน 1H63 เพราะ yield จะไม่ถูกกดดันจากการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ของทางการ ในขณะที่ต้นทุนทางการเงินจะลดลงจากได้เงินกู้ซอฟต์โลน (soft loan) ของธนาคารออมสินซึ่ง
จะมีต้นทุนที่ 2% ทั้งนี้ สินเชื่อเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจากอุปสงค์ของเกษตรกร และอุปสงค์สินเชื่อในช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดเรียนอีกครั้ง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายกันสำรองก็ยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องเพราะลูกค้า >80% ที่เข้าโครงการผ่อนผันหนี้กลับมาจ่ายค่างวดอีกครั้ง

ยังคุมคุณภาพสินทรัพย์ได้ แต่ไม่เน้นนโยบายกันสำรองเชิงรุก

ลูกหนี้ของบริษัทที่เข้าโครงการผ่อนผันหนี้เฟสแรกคิดเป็นยอดหนี้คงค้างเท่ากับ 8.5% ของสินเชื่อรวมซึ่งปิดโครงการไปแล้วในเดือนกรกฎาคม 2563 ในจำนวนหนี้ที่ให้การช่วยเหลือดังกล่าวแบ่เป็นประมาณ 5.8% ที่ยื่นขอพักชำระหนี้ ในขณะที่อีก 2.8% ยื่นขอลดค่างวดลง 30% ซึ่งหลังจากปิดโครงการไปแล้วลูกหนี้ที่ประสบปัญหากลุ่มนี้ประมาณ 80-83% กลับมาจ่ายค่างวดอีกครั้ง โดยบริษัทได้ขยายเวลาการชำระหนี้ให้กับลูกหนี้บางราย และยังคงสถานะเป็นหนี้จัดชั้นปกติ และเข้าสู่โครงการผ่อนผันหนี้เฟสที่สองและไม่นับเป็น NPL ทำให้หนี้เสียจึงยังอยู่ในระดับต่ำ และทำให้บริษัทกลับรายการสำรอง 85 ล้าน
บาทใน 2Q63 ทั้งนี้บริษัทได้บันทึกรายได้จากการกลับรายการสำรองติดกันมาสองไตรมาสแล้วรวม 320 ล้านบาทซึ่งถือเป็นนโยบายการตั้งสำรองที่ไม่ค่อยจะอนุรักษ์นิยมนักในภาวะปัจจุบัน

ผู้เล่นรายใหม่ (GSP) ไม่น่าเป็นห่วง

การที่ธนาคารออมสิน และสถาบันการเงินอื่น ๆ พยายามจะเจาะเข้ามาในตลาดสินเชื่อจำนำทะเบียน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่ที่ต่ำลง และรูปแบบ (platform) มุ่งเน้นดิจิทัล ไม่ได้ทำให้ผู้บริหาร MTC เป็นกังวล เพราะ MTC เชื่อมั่นในจุดแข็งของตัวเองในแง่ของเครือข่ายสาขาที่มากกว่า GSB ถึง 4x บวกกับประสบการณ์อันยาวนานในธุรกิจนี้ รวมถึงการคุม NPL และการติดตามหนี้ ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับ GSB ได้ นอกจากนี้ ถ้าหากว่า GSB รุกหนักด้วยการเสนออัตราดอกเบี้ยอ้างอิงที่ต่ำลง ก็จะส่งผลกระทบกับผู้เล่นรายเล็ก ๆ แต่จะส่งผลดีกับผู้เล่นรายใหญ่โดยช่วยให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

แนะนำ ซื้อ และให้ราคาเป้าหมาย 12 เดือนข้างหน้าที่ 59 บาท (P/E 22x)

เราคิดว่าผู้บริหารมองบวกกับแนวโน้มการเติบโตมากเกินไป และประเมินความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการต่ำเกินไป เพราะอาจจะมีการออกเกณฑ์ช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มอีกในภาวะที่เศรษฐกิจมีปัญหาถึงแม้ว่าเราจะยังคงประมาณการกำไรเอาไว้เท่าเดิม แต่เราก็สะท้อนความเสี่ยงในประเด็นนี้ด้วยการ derate P/E ลงเหลือ 22x (จากเดิมที่ 25x) และขยับไปใช้ราคาเป้าหมายปี 2564F ที่ 59 บาท (ลดลงจากเดิมที่ 61 บาท)

Risks

ขาดสภาพคล่อง สัดส่วน NPL ratio >3% ของสินเชื่อรวม credit cost >120bps และขอ soft loan ไม่ได้