'สุริยะ' ดันไทยศูนย์กลาง 'ยานยนต์ไฟฟ้า' อาเซียน

'สุริยะ' ดันไทยศูนย์กลาง 'ยานยนต์ไฟฟ้า' อาเซียน

“สุริยะ” ดันไทยศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค อัดมาตรการสนับสนุน 3 ระยะ เพิ่มดีมานด์ในประเทศ ตั้งเป้าปี 2030 ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตรถยนต์ในไทย

บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจจัดสัมมนา “New Generation of Automotive” เพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Road Map ไทยขับเคลื่อน EV” ว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีการพัฒนาไปสู่การใช้เครื่องยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาไปสู่ยานยนต์อัตโนมัติที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม แต่ปัจจุบันยัมีการผลิตรถยนต์สันดาปภายในที่มีการปล่อยมลพิษอยู่

โดยในอดีตมีไม่มากแต่ปัจจุบันเมื่อมีมากขึ้นทำให้มีการติดอุปกรณ์เพื่อลดมลพิษ รวมทั้งเริ่มมีการกำหนดค่าไอเสียที่ประเทศสหรัฐ โดยเฉพาะที่ทลรัฐแคลิฟอร์เนียที่กำหนดค่ามาตรฐานการปล่อยมลพิษของตัวเอง

รวมถึงสหภาพยุโรปที่กำหนดค่ามาตรฐานเริ่มต้นตั้งแต่ยูโร 1 ถึงปัจจุบันยูโร 6 ซึ่งปัจจุบันมียานยนต์จำหน่ายทั่วโลก 1,200 ล้านคัน และมีการปล่อยมลพิษเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้รัฐบาลทั่วโลกกำหนดมาตรการลดมลพิษ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮปลิด ยานยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบิด ยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่

159852622165

ทั้งนี้ เทสลามีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และทำให้แคลิฟอร์เนียในปี 2018 มีแท่นชาร์ต 450,000 จุด มีมากที่สุดในสหรัฐ ซึ่งทำให้เทสลามีมาร์เก็ตแคป 12 ล้านล้านบาท มากกว่าโตโยต้าและโฟล์คสวากเกนรวมกัน

ดังนั้นรัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยปี 2562 ไทยผลิตรถยนต์อันดับ 12 ของโลก และเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S curve) จึงทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนในประเทศ

โดยรัฐบาลตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ และมีการบูรณาการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น การกระตุ้นตลาดในประเทศ การส่งเสริมการลงทุน การทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า การจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว การส่งเสริมแท่นประจุไฟฟ้า

การประชุมคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติครั้งที่ 1 เห็นชอบโรดแมพ โดยปี 2030 จะผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ของการผลิตรถยนต์ในไทย แบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะสั้น (2020-2022) ผลิตรถสำหรับรถราชการ รถสาธารณะ รถจักรยานยนต์สาธารณะ 60,000-110,000 คัน

ระยะกลาง (2021-2025) จะผลักดัน ECO EV จำนวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จำนวน 1,000-3,000 คัน

ระยะยาว (2026-2030) จะขยายจำนวน Eco EV เพื่อรองรับ Zero Emission และ Sharing Mobility และมีเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณการผลิต 2.5 ล้านคัน

1598526282100

นายสุริยะ กล่าวว่า การนำร่องยานยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการและจัดทำมาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้บูรณาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเร่งรัดส่งเสริมและแก้ปัญหา

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาอยู่ระหว่างการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้มาตรการยานยนต์เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า โดยแลกยานยนต์อายุมากกว่า 15 ปี มาแลกยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมตลาดและการจัดการซากยานยนต์ โดยจะมีการศึกษาการจัดการซากยานยนต์ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการซากรถยนต์ที่เป็นระบบ ลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ และเข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

ส่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานได้รองรับการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งมีการกำหนดค่าไฟฟ้าคงที่ 2.63 บาท ต่อหน่วย และตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะให้ตั้งภายในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพื่อให้ครอบคลุมการเดินทางระยะไกล ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐและภาคเอกชนมีการส่งเสริม

“ผมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะมีความพร้อมเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาค เพราะไทยมีความพร้อมสิทธิประโยชน์การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐาน จะทำให้เศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยเติบโตขึ้นและทำให้เศรษฐกิจไทยก้าวไป”นายสุริยะ กล่าว