KTB - ถือ
กำไรแย่ลงใน 2H63 ได้รวมอยู่ในการคาดการณ์แล้ว
Event
ประชุมนักวิเคราะห์งวด 2Q63 และปรับเพิ่มคำแนะนำเป็นถือ
lmpact
ลูกหนี้ที่เข้าโครงการผ่อนผันหนี้คิดเป็น 18% ของสินเชื่อรวม
ธนาคาร เปิดเผยว่า มีลูกหนี้ที่เข้าร่วมโครงการผ่อนผันหนี้คิดเป็นมูลหนี้อยู่ที่ประมาณ 4 แสนล้านบาทหรือประมาณ 18% ของสินเชื่อรวมซึ่งต่ำกว่าของธนาคารอื่น ๆ ที่อยู่ประมาณ 40% ทั้งนี้ หนี้ที่เข้าร่วมโครงการประมาณครึ่งหนึ่งเป็นสินเชื่อรายย่อย และอีกครึ่งเป็นสินเชื่อธุรกิจ และ SME โดยธนาคารคาดว่าประมาณ 70% ของหนี้ที่เข้าโครงการจะสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ ในขณะที่อีก 25-26% ยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งธนาคารจะผลักดันให้ไปอยู่ในกลุ่ม TDR สำหรับหนี้ส่วนที่เหลืออีก 4-5% มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น NPL
คาดว่ากำไรจะลดลงใน 2H63
KTB รับรู้รายได้ดอกเบี้ยพิเศษก้อนใหญ่จากการชำระหนี้ก้อนโตโดย AQ ประมาณ 3.5 พันล้านบาทและ รายได้ก้อนใหญ่จากการขาย NPL ประมาณ 1-1.2 พันล้านบาทใน 1H63 แต่เนื่องจากธนาคารคาดว่าจะไม่มีรายได้พิเศษใน 2H63 และจะได้รับผลกระทบเต็มที่จากการลดดอกเบี้ย ดังนั้นทั้งมาร์จิ้น และ NII
ใน 2H63 จึงน่าจะลดลงทั้งคู่ ในขณะที่ต้องกันสำรองเพิ่มเพื่อให้มั่นใจว่าสัดส่วน NPL coverage จะอยู่ในช่วง 125-130% (จาก 124% ใน 2Q63) ทั้งนี้ เราคาดว่า KTB write-off หนี้เสียก้อนใหญ่ประมาณ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งทำให้ NPL ทรงตัว QoQ และเพิ่มขึ้น 15% YTD แต่หากไม่รวมการตัดหนี้สูญ NPL จะเพิ่มขึ้น >30% YTD ในไตรมาส 2/63
ข้อดีและข้อเสียของการเป็นรัฐวิสาหกิจ
ข้อดีของการเป็นธนาคารของรัฐก็คือ 1.) มีโอกาสขยายสินเชื่อก้อนใหญ่จำนวนมากที่มีความเสี่ยงต่ำให้กับรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ 2.) สามารถเข้าถึงลูกค้าสินเชื่อผู้บริโภคกลุ่มที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและผูกการผ่อนชำระกับบัญชีเงินเดือน 3.) เป็นธนาคารหลักที่รัฐวิสาหกิจนำเงินมาฝาก แต่อย่างไรก็ตาม KTB ต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลในการให้ความช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยเมื่อเกิความจำเป็นและต้องยอมลดมาร์จิ้นลง โดย KTB ในปัจจุบันก็กำลังถูกกดดันจากมาร์จิ้นที่หดตัวอยู่
ปรับลดประมาณการกำไรปี 2564 ลง 16% และปรับลดราคาเป้าหมายปี 64F เหลือ 13 บาท (จากเดิม 14)
เรามองว่าความเสี่ยงหลักของ KTB คือ NPLจากลูกหนี้ที่เข้าโครงการผ่อนผันหนี้ที่ไม่สามารถกลับมาชำระหนี้ได้ การที่ดอกเบี้ยค้างรับโตถึงเกือบเท่าตัว QoQ ชี้ว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่ที่เข้าโครงการได้ grace period (ไม่ต้องชำระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย) ซึ่งทำให้เราเป็นห่วงประเด็นการกลับรายการดอกเบี้ยค้างรับและผลขาดทุนจากการปรับโครงสร้างหนี้กลุ่มนี้ จากสถานการณ์ในปัจจุบัน เราคาดว่า credit cost จะยังทรงตัวในระดับสูงในปี 2563/64 ที่ 2%/1.4% นอกจากนี้ เรายังปรับลดประมาณการกำไรปี 2564 ลง 17% โดยเราปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และปรับเพิ่ม credit cost เป็น 53% (จากเดิม 51%) เนื่องจากมีการเลื่อนค่าใช้จ่ายไปเป็นปี 2564 และปรับลดค่าธรรมเนียมลง 5% จากฐานที่สูงในปีนี้ ทั้งนี้ เมื่อใช้ P/BV ที่ 0.5x ก็ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2564F ที่ 13 บาท
Risks
NPL เพิ่มขึ้นทำให้ต้องกันสำรองเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเกินกว่าที่คาดไว้