วิถี 'HR' 2020 'ฝ่ายบุคคล' ควรปรับตัวอย่างไร ในวันที่โลกเปลี่ยน
ในวันที่การทำงานต้องผสมผสานเจนเนอเรชั่นที่หลากหลาย ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไป การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบเดิม จึงไม่ตอบโจทย์การทำงานยุค NEW ECONOMY หรือเศรษฐกิจแบบใหม่ แต่ต้องปรับเสียตั้งแต่ตอนนี้!
รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนเดิมในยุคหลังโควิด-19 ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมคนทำงานที่ผสานหลายเจเนอเรชั่นมากขึ้น ทำให้องค์กรและบริษัทส่วนใหญ่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน นอกจากโมเดลธุรกิจที่ช่วยให้สามารถปรับตัวเพื่อหาโอกาสในวิกฤติ ณ เวลานี้ "การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์" ยังต้องปรับเปลี่ยน และพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน พร้อมรับมือในอนาคต
HR จึงเรียกได้ว่าเป็นคนสำคัญ ที่จะช่วยผลักดันพนักงานและองค์กรให้สามารถทำงานได้อย่างปกติและเดินไปข้างหน้าได้อย่างไม่มีผลกระทบ และส่งผลดีในระยะยาว อาทิ หรือหาโมเดลใหม่ๆ เพื่อสร้างเส้นทางในการบริหารจัดการการทำงานของพนักงานแบบใหม่ เช่น วัน-เวลาเข้างานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป ที่อาจนำมาซึ่งผลลัพธ์การทำงานที่ดีกว่าเดิม
อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) กล่าวว่า "คน" คือทรัพยากรสำคัญอันทรงคุณค่า ในการสร้างสรรค์แนวทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในโลกใบใหม่ที่ไม่อะไรเหมือนเดิมแล้ว HR จะไม่สามารถยึดการทำงานในรูปแบบเดิมอีกต่อไป ในทางกลับกันต้องเน้นการสร้างโอกาสใหม่ๆ ผ่าน Reskill และ Upskill มุ่งเน้นการพัฒนาและเข้าถึงพนักงานในหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้องค์กรสามารถก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยได้ศึกษาการปรับเปลี่ยนขององค์กรทั่วโลก เพื่อดูว่า HR ของแต่ละพื้นที่ทั่วโลกได้มีการวางแผนในการปรับองค์กรและพนักงานเพื่อต้อนรับโลกยุค New Economy หรือเศรษฐกิจใหม่
อริญญา ได้ยกตัวอย่าง AIRA ผู้เชี่ยวชาญการตลาดดิจิทัลและ Inbound Marketing จากประเทศอังกฤษ ที่เชื่อว่าการสื่อสารคือหัวใจสำคัญ ผ่านการช่วยเหลือของ HR ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้นำองค์กรและพนักงานทุกระดับในบริษัท สร้างโอกาสในการพูดคุยให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ลดความเครียดและความกดดันของพนักงานพร้อมสร้างการปฏิสัมพันธ์รูปแบบใหม่ๆ ผ่านกิจกรรมออนไลน์แม้ไม่ได้เจอหน้ากันเหมือนเช่นเคย
GOCO ผู้พัฒนาและคิดค้น HR Platform สำหรับ StartUp ปรับแผนก HR ให้ทำงานเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นำเสนอข่าวสารที่ถูกต้อง เน้นการ Reskill และ Upskill กระตุ้นให้พนักงานเปลี่ยนวิธีคิด พัฒนาทักษะเสริม พร้อมเน้นการทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนร่วมกัน
และ McDonald’s ที่ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นใหม่ คิดค้นโปรแกรมพัฒนาพนักงานรุ่นใหม่กว่า 10,000 คน ให้มาช่วยต่อยอดสร้างไอเดียสำหรับอนาคตเมื่อสถานการณ์สงบลง ผ่านการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ นอกเหนือจากสายงานปฎิบัติเดิมที่ทำเป็นประจำ
โดย SEAC ได้ถอดรหัสเป็นบทสรุปที่เรียกว่า WORK WELL DONE และนำเสนอ 8 แนวทางพาองค์กรปรับตัวเข้าสู่วิถีชีวิตและการทำงานรูปแบบใหม่ ในลักษณะสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เรียนรู้ที่จะปรับตัวและก้าวไปข้างหน้า พร้อมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ ความต่อเนื่องและพลังงานบวกให้กับพนักงานเมื่อสถานการณ์กลับไปเป็นปกติ พร้อมทั้ง 3 ทักษะ (Skills) ที่ HR ยุคใหม่ต้องมี ดังนี้
จะเห็นได้ว่า เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไม่ว่าตำแหน่งหน้าที่ไหนๆ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะเรียนรู้ ยอมรับ และปรับตัว เพื่อก้าวไปสู่ผลลัพธ์ใหม่ในโลกที่ต้องการสิ่งที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป