ส่อง “หุ้นอาหาร”ระส่ำแค่ไหน หลังล็อกดาวน์ฉุดยอดขาย
ช่วงนี้ภาคธุรกิจกลับเข้าสู่โหมดระมัดระวังตัวมากขึ้น หลังผู้ติดเชื้อโควิดยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ที่สำคัญยังกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นๆ
ธุรกิจแรกที่เจอผลกระทบก่อนใครเพื่อนหนีไม่พ้น จุดเกิดการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ตลาดอาหารทะเล จังหวัดสมุทรสาคร จนทำให้ต้องมีการประกาศ ล็อกดาวน์ ไปแล้ว ตั้งแต่ 19 ธ.ค. 2563 จนถึง 3 ม.ค. 2564
อุตสาหกรรมอาหารทะเลทั้งประมง ค้าปลีก แปรรูป ห้องเย็น ขนส่ง แทบจะหยุดชะงักกันทันที ยังไม่นับรวมกับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีความวิตกที่จะบริโภคอาหารทะเลมาจากพื้นที่ดังกล่าว เพราะกลัวจะสัมผัสผู้ติดเชื้อ จนราคาอาหารทะเลอย่าง กุ้งขาวลดลงทันที
ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีโรงงานแปรรูป และมีแรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ไม่น้อยประกอบไปด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF , บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ TU และบริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN จนทำให้มีผลต่อราคาหุ้นปรับตัวลงปรับข่าวดังกล่าว
อย่างไรก็ตามแต่ละบริษัทเจอผลกระทบมากและน้อยต่างกันตามรูปแบบธุรกิจ ในด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย พลัส ประเมินผลกระทบจากการระบาด มีบริษัทที่มีโรงงานและสัดสัวนรายได้ในจ .สมทรสาคร ค่อนข้างมาก ได้แก่
ASIAN (ฝ่ายวิจัย ไม่ได้ศึกษา ในเบื้องต้นคาดมีโรงงานอาหารสัตว์เลี้ยง ทูน่ากระป๋องและอื่นๆ คาดมีรายได้ จากโรงงานในจ. สมุทรสาครมากกว่า 50 % ของรายได้รวม
TU (มีโรงงานแปรรูปกุ้ง และทูน่ากระป๋อง คาดมีรายไดจากโรงงานในจ . สมุทรสาครราว 30-40% ของรายได้รวม และTU มีโรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋องกระจายหลายแห่งทั่วโลก อาทิโรงงาน แปรรูปทูน่ากระป๋องทูน่า จ. สงขลา โรงงานแปรรูปทูน่ากระป๋องทูน่าประเทศเวียดนาม เซเชลส์ และกาน่า
อีกทั้ง โรงงานของ TU ในประเทศกาน่าและโปรตุเกสก็เคยมีคนงานติดเชื้อ โควิดมาแล้วในช่วงกลางปี 2563 และสามารถบริหารจัดการได้โดยกระทบต่อการผลิตไม่มาก จึงคาดว่า TU จะสามารถบริหารจัดการด้านการผลิตและลดผลกระทบ ดังกลาวไปได้บ้าง
ขณะที่ CPF มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ จ. สมุทรสาคร ซึ่งใช้คนงานน้อย มี สัดสวนรายได้ จากโรงงานดังกล่าวไม่ถึง 1 % ของรายได้รวมจึงคาดได้รับผลกระทบจำกัด
ด้าน บล.บัวหลวง ได้รายงานหุ้นกระทบเชิงลบจากโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ จากราคากุ้งขาวราคาตกทันทีไม่น้อยกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 % กระทบ CPF ส่วน TU มีโรงงานผลิตกุ้ง 200 ตัน ต่อวันจาก 2โรงงานในพื้นที่ระบาด ซึ่งปัจจุบันมีรายงานพบผู้ติดเชื้อ 1 ราย และยังไม่ปิดโรงงานที่มีอยู่ 2 แห่ง ด้านธุรกิจห้องเย็น ASIAN กระทบการดำเนินงานโรงงานที่อยู่ในพื้นที่ระบาด จ.สมุทรสาคร
บล.ทิสโก้ ประเมินผลกระทบธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารหนักเริ่มจาก TU มีรายงานการติดเชื้อในกลุ่มพนังงาน 1 ราย ปิดโรงงาน 1แห่ง(จากทั้งหมด 8 แห่ง) เป็นเวลา 14 วัน ทางบริษัทจะทำการตรวจสอบสถานการณ์ต่อจากนี้ไปอีกสองสัปดาห์เพื่อที่จะทำการตัดสินใจเรื่องการปิดโรงงานหลักในจังหวัดสมุทรสาครอีกครั้ง TU ประเมินผลกระทบจากการปิดโรงงานชั่วคราวต่อรายได้ประจำปีไว้ต่ำกว่า 2%
ทั้งนี้ โรงงานในจังหวัดสมุทรสาครเป็นโรงงานหลักของบริษัท และมี โรงงานในจังหวัดสงขลาเป็นอีกหนึ่งโรงงานใหญ่ ในส่วนของโรงงานในเขตสมุทรสาครนั้น มีการผลิตทั้งอาหารที่สามารถเก็บรักษาได้ในอุณหภูมิปกติ และอาหารแช่แข็ง จัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ รายได้จากตลาดในประเทศไทยสร้างรายรับเป็นสัดส่วนราว 10% จากรายได้รวม
TU มีความมั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัยในกระบวนการผลิต และเชื่อว่าการติดเชื้อครั้งนี้จะไม่กระทบต่อบริษัท อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 3ปี 2563 มีสินค้าคงคลังอยู่ราว 3.7 หมื่นล้านบาท เป็นอาหารสำเร็จรูป 2.04 หมื่นล้านบาท หากมีการยุติการผลิตเกิดขึ้นและการบริโภคยังอยู่ในระดับเดิม TU คาดจะมีสินค้าเพียงพอเป็นระยะเวลากว่า 56 วันด้วยกัน
ส่วนของบริษัท CPF ยังไม่มีการพบพนักงานติดเชื้อโควิดจากเหตุการณ์ระบาดดังกล่าว ในส่วนของความเสี่ยงที่อาจได้รับนั้น สินค้าอาหารทะเลถือเป็น 4.5% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท และน้อยกว่า 1% มาจากอาหารจำพวกกุ้ง ดังนั้นจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการปิดตลาดต่างๆ เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในส่วน 3.5% ที่เหลือนั้นเป็นรายได้จากอาหารเลี้ยงสัตว์ทะเล เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นอาหารแช่แข็ง ทาง CPF คาดว่าราคากุ้งที่ลดลงจะไม่ส่งผลเป็นสาระสำคัญต่อภาพรวม