การเลือกเทรดดิ้งแพลตฟอร์มที่เหมาะกับสไตล์ของคุณ

การเลือกเทรดดิ้งแพลตฟอร์มที่เหมาะกับสไตล์ของคุณ
ก่อนอื่นคุณต้องเข้าใจก่อนว่าเทรดดิ้งแพลตฟอร์มคือซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่หลักคือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการธุรกรรมต่างๆ และมันยังช่วยเราวิเคราะห์ข้อมูลในการซื้อ-ขายสินทรัพย์ต่างๆ ในตลาด
อย่างที่เรารู้กันว่าตอนนี้มีเทรดดิ้งแพลตฟอร์มอยู่บนอินเทอร์เน็ตมากมาย แพลตฟอร์มไหนดีหรือไม่ดีเราก็ไม่รู้ แต่ว่าทางทีมงานของเว็บไซต์ Trading.in.th ได้ทำรีวิวการใช้งานแพลตฟอร์มต่างๆ รวมทั้งมีลิสท์ปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการเลือกเทรดดิ้งแพลตฟอร์มเอาไว้ให้คุณเรียบร้อยแล้ว
ในปัจจุบันเมื่อโลกของเรามีเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก มันทำให้เรามีตัวเลือกในการเทรดที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย และมันยังส่งผลไปถึงเหล่าโบรกเกอร์ออนไลน์ต่างๆ ซึ่งพวกเขาได้พยายามที่จะจัดหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อให้บริการสำหรับลูกค้าของของพวกเขาเอง เครื่องมือเหล่านี้รวมถึงการวิจัยทางการตลาด ความสามารถในการสร้างแผนภูมิราคา สตรีมมิ่งและการบริการข่าวสารต่างๆ หากโบรกเกอร์บางรายที่ไม่ได้มีเครื่องมือพวกนี้เป็นของตัวเอง คุณก็สามารถหาใช้งานได้เองบนอินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มใดบ้างที่จะเหมาะกับสไตล์ของคุณ ที่ทาง Trading.in.th เรามีข้อมูลทุกอย่างเตรียมไว้ให้คุณได้ศึกษาเรียบร้อยแล้ว
เราขอแนะนำเทรดดิ้งแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมเป็นส่วนมากในประเทศไทย ได้แก่ Metatrader
Metatrader เป็นเทรดดิ้งแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตอนนี้สำหรับการเทรดสินทรัพย์ต่างโดยเฉพาะการเทรด Forex โดยที่ Client Terminal ได้รับการออกแบบมาสำหรับการทำการเทรดและการวิเคราะห์ทางเทคนิคแบบเรียลไทม์ซึ่งใช้ได้กับสินทรัพย์ต่างๆ เช่น Forex, CFD Futures, ดัชนี และอื่นๆ อีกมาก และนอกเหนือจากที่แพลตฟอร์มนี้ทีตัวอินดิเคเตอร์ทางเทคนิคและเครื่องมือวาดกราฟแล้ว ยังมีภาษาการเขียนโปรแกรม MetaQuotes Language ด้วย ในภาษานี้คุณจะสามารถสร้างระบบการเทรดแบบ Expert Advisors, Custom Indicators และสคริปต์ได้
ในปัจจุบัน MetaTrader ประกอบด้วย MT4 (MetaTrader 4) และ MT5 (MetaTrader 5) ซึ่งมันคือ Electronic Trading Platform ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยใช้เพื่อการซื้อ-ขายเงินตราระหว่างประเทศและสินค้าประเภท CFDs ที่ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทซอฟต์แวร์ที่มีชื่อว่า MetaQuotes Software Corp ซึ่งเป็นผู้ออกใบอนุญาตซอฟต์แวร์ MT4 และ MT5 ให้กับโบรกเกอร์และธนาคารทั่วโลก และเมื่อเทคโนโลยีได้เริ่มถูกพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ MT4 และ MT5 ก็ได้ถูกเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้ามา เช่น การวิเคราะห์ทางเทคนิคและเครื่องมือวาดกราฟ มันทำให้แพลตฟอร์มนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและสามารถนำไปติดตั้งไว้บนเว็บไซต์และอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ด้วย
MT5 (MetaTrader 5) เป็นการพัฒนาเวอร์ชั่นของโปรแกรม MetaTrader ซึ่งมีการแน้นไปที่หน้าตาและรูปแบบที่เรียบง่ายเหมือนเวอร์ชั่นเดิม แต่มีการเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานและฟีเจอร์ใหม่ๆ เข้าไปมากมาย
และถึงแม้ว่า MetaTrader จะได้ถูกพัฒนามาเป็น MT5 แล้วแต่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็ยังคงชอบการใช้งานของเวอร์ชั่นเดิมอย่าง MT4 อยู่เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ฟังก์ชั่นการใช้งานและคุณสมบัติบางอย่างที่หายไปในเวอร์ชั่นของ MT5
ข้อแตกต่างระหว่าง MT4 และ MY5 มีดังนี้
คุณอาจจะสงสัยว่าทำไมถึงแม้ว่าบน MT5 จะมีการอัพเดทฟีเจอร์ใหม่ๆ แล้วแต่ทำไมเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ยังคงเลือกที่จะใช้งานเวอร์ชั่นเดิมอย่าง MT4 อยู่ ที่จริงแล้วมันเป็นเพราะปัจจัยที่ได้อธิบายไปในตอนต้นนั่นเอง ซึ่งเป็นในเรื่องของการใช้งานและคุณสมบัติที่หายไปใน MT5 นั่นเอง
เช่น เราจะไม่สามารถนำ EA ที่ทำงานบน MT4 มาใช้บน MT5 ได้ เราไม่สามารถนำโค้ดเดิมที่เราเขียนมันขึ้นมาหรือจากการที่เราซื้อมันมาในราคาที่แพงใน MT4 มาใช้กับ MT5 ได้ เพราะในเวอร์ชั่นใหม่ได้เปลี่ยนภาษาที่ใช้ในการออกแบบจาก MQL มาเป็น C++
นอกจากนี้บน MT5 ยังไม่สามารถใช้รูปแบบการเทรดแบบ Hedging ได้ เพราะว่ามีปัจจัยเรื่องของกฎระเบียบที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นมา โดยมีการใช้กฎระเบียบ NFA ซึ่งทำให้เทรดเดอร์ไม่สามารถใช้เทคนิด Hedging ในการป้องกันความเสี่ยงในการขาดทุนได้
แล้วมีฟีเจอร์อะไรที่ต้องคำนึงถึงอีกบ้างในการเลือกเทรดดิ้งแพลตฟอร์ม
การเลือกใช้งานเทรดดิ้งแพลตฟอร์มนั้น คุณจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการขยายตัวด้านการใช้งานในอนาคตข้างหน้าด้วย โดยคุณสามารถพิจารณาจากคุณสมบัติทั้ง 3 อย่างด้านล่างนี้
เครื่องมือสำหรับการเทรดที่ควรจะรองรับคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้แก่ การเทรดหุ้น, การรองรับกลยุทธ์การเทรดที่มีความซับซ้อน, การเทรด Futures โดยเฉพาะในหุ้นและดัชนี, มีรายการสินทรัพย์ต่างๆ, มีการแจ้งเตือนเมื่อราคาของสินทรัพย์ตรงกับค่าที่เราได้ตั้งไว้ โดยอาจจะส่งมาทางอีเมลหรือข้อความก็ได้
เครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ควรจะรองรับคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละอุตสาหกรรม, มีรายงานของนักวิเคราะห์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโบรกเกอร์เองหรือของบุคคลภายนอก, มีฟีดข่าว (เช่น Dow Jones, Reuters), สามารถสร้างแผนภูมิแบบเรียลไทม์ได้, มีรายงานเวลาการขายและปริมาณ
เครื่องมือที่ช่วยในการจัดการบัญชีควรจะรองรับคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ได้แก่ มียอดคงเหลือในบัญชีแบบเรียลไทม์, มีการอัปเดตกำลังซื้อและอัตรากำไรขั้นต้นแบบเรียลไทม์, มีเครื่องมือที่ช่วยจัดการพอร์ตโฟลิโอ, มีสถานะเปิดคำสั่งซื้อ
สรุป
สุดท้ายนี้การลงทุนในสินทรัพย์ที่ดีนั้นสามารถสร้างกำไรให้คุณได้จริงๆ แต่ก่อนที่จะลงทุน การเลือกแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือครบครัน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเทรดที่ดีให้คุณก็เป็นสิ่งที่คุณควรจะต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน