PTTGC กำไรปี63 ร่วงเหลือ 200ล้าน จากปีก่อนกำไร 1.1หมื่นล้าน
พีทีที โกลบอล แจ้งกำไรปี 63 กำไรวูบเหลือ 200 ล้านบาท จากปีก่อนหน้าที่มีกำไร 1.1 หมื่นล้านบาทหลังธุรกิจปิโตรเครมี ปิโตรเลี่ยมได้รับผลกระทบจากโควิด-19
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) PTTGC ประกาศผลการดำเนินงานปี 2563 โดยบริษัทมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 200 ล้านบาท ปรับตัวลดลงจากปี 2562 ที่มีกำไรสุทธิ 11,682 หลังธุรกิจ ปิโตรเคมีและปิดโตรเลียมของบริษัทได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ทั้งนี้ บริษัทยังรับรู้ผลขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันและการกลับรายการมูลค่าสุทธฺที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ เป็นผลขาดทุน 8.2 พันล้านบาท
ด้านรายได้ บริษัทมีรายได้จากการขยายรวม 326,270 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 20% จากราคาขายที่ปรับตัวลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ จากผลกระทบโควิด-19 ส่งผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจทำให้ความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆปรับตัวลดลง
ส่วนแนวโน้มตลาดและธุรกิจในปี 2564 จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างประเทศ ที่ยังคงมีความไม่แน่นอน นโยบายด้านพลังงานของประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศสหรัฐอเมริกา การอนุมัติใช้วัคซีนไวรัสโคโรนา 2019
รวมถึงนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจจาก ประเทศต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
ทำใหคาดการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมจะฟื้นตัวได้ดีขึ้น บริษัทคาดการณ์แนวโน้มตลาดน้ำมันในปีนี้ ว่าราคาน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ที่ค่าเฉลี่ย 54-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
โดยสำนักงาน พลังงานสากล (IEA) ไดม้การคาดการณ์ถึงการเติบโตของความต้องการใช้น้ำมันของโลก ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 96.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 5.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณความต้องการใช้ในปีที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันจะเพิ่มขึ้นแต่ระดับสินค้าคงคลังของน้ำมันดิบที่อยู่ระดับสูง จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมันได้
สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บริษัทฯ คาดว่าสถานการณ์ราคาและส่วนต่างราคาของผลิตภัณฑ์ในปีนี้จะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้ยน จากปีก่อนหน้า สาเหตุจากเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการปิดประเทศและอุปสงค์ภาคการเดินทางเริ่มปรับตัวดีขึ้น
โดยคาดการณ์ส่วนต่างราคาน้ำมันดีเซลกับน้ำมันดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 7-9 เหรยีญสหรฐัฯต่อบาร์เรล ในขณะส่วนต่างราคาน้ำมันเตากำมะถันต่ำ กับน้ำมันดูไบจะอยู่ที่ 11-13 เหรียญต่อบาร์เรล โดยคาดการณ์ส่วนต่างราคา HSFO กับน้ำมันดิบดูไบครึ่งอยู่ที่ -5ถึง -3 เหรียญต่อบาร์เรล คาดการณ์ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันแก็ซโซลีนจะอยูที่ 6-8 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล บริษัทคาดว่าจะสามารถดำเนินการใช้กำลังการผลิตปีนี้ได้ 102%
สำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสในด้านราคาผลิตภัณฑ์ ส่วนด้านการผลิตยังคงเป็นไปตามแผน
แนวโน้มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์บริษัทฯ คาดว่าจะฟื้นตัวตามสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 และ เศรษฐกิจโดยรวมที่เป็นในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ส่วนต่างผลิตภัณฑ์
โดยรวมจะยังคงมีปัจจัยกดดันจากอุปทานส่วนเกิน บริษัทฯ คาดการณ์ส่วนต่าง ของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนกับแนฟทาในปีนีจะมีทิศทางที่ดีขึ้น โดยคาดจะอยู่ที่ 200-250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน คาดการณ์อุปสงค์จากภาคอุตสาหกรรม ปลายน้ำเส้นในและสิ่งทอ กรดเทเรฟทาริค
โดยเฉพาะขวดบรรจุภัณฑ์ (PET Bottle Resin) รวมทั้งกำลังการผลิตใหม่จากโรงงาน PTA ในปีนี้จะช่วยเพิ่มความต้องการในการใช้ผลิตภัณฑ์ พาราไซลนี สำหรับส่วนต่างของราคาเบนซีนและแนฟทาจะปรับตัวดี ขึ้นอยู่ที่ประมาณ 100-130 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน จากกำลังการผลิตใหม่ของสไตรีนโมโนเมอร์
รวมทั้งฟีนอล ส่งผลให้ ความต้องการจากผลิตภัณฑ์ปลายน้ำปรับตัวสูงขึ้นด้วย สำหรับปีนี้ บริษัทคาดการณ์การใช้กำลันงการนผลิตธูรกิจ อะโรเมติกส์เต็มที่ 102%
ส่วนแนวโน้มของสถานการณ์ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องในปีนี้ คาดว่าราคาผลิตภัณฑ์จะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดยคาดราคาน้ำมันดิบที่ดีขึ้น อุปสงค์ที่ฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ
ในขณะที่อุปทานของทั้งโรงงานโอเลฟินส์และโรงงานโพลิเมอร์จะเพิ่มขึ้น ทั้งจากกำลังการผลิตใหม่ๆและการฟื้นตัวของโรงกลั่น
โดยคาดราคาเฉลี่ยเม็ดพลาสติก HDPE ปีนี้จะอยู่ที่ 960-1,000 เหรียญต่อสหรัฐ ต่อตัน ส่วนต่างของผลิตภัณฑ์ HDPE กับแนฟทาอยู่ที่ 500-510 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในขณะที่สถานการณ์ราคา MEG คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าปริมาณอุปทานมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
แต่ยังได้รับปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ การใช้านของตลาดผลติภัณฑ์ปลายน้ำ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมเส้นใยและสิ่งทอที่คาดจะฟื้นตามภาวะเศรษฐกิจ รวมไปถึงอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ บริษัทฯ คาดว่าราคา MEG (ASP) ในปีนี้ เฉลี่ย อยู่ที่ 510-570 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
บริษัทฯ คาดการณ์การใช้กำลังการผลิตในปีหน้าของธุรกิจ โอเลฟินส์จะอยู่ที่ 94 % จากแผนการการปิดซ่อมบำรุงโรงโอเลฟินสห์น่วยที่ 3 ตั้งแต่ช่วงปลายไตรมาส 3 เป็นเวลา 39 วัน และคาดการณ์การใช้กำลังการผลิตของธุรกิจโพลิเมอร์จะอยู่ที่ 105 %