หลังโควิดระลอกใหม่ AOT ปรับลดคาดการณ์เที่ยวบิน-ผู้โดยสาร ปีงบ 64-66

หลังโควิดระลอกใหม่ AOT ปรับลดคาดการณ์เที่ยวบิน-ผู้โดยสาร ปีงบ 64-66

AOT ปรับลดคาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินและจำนวนผู้โดยสาร หลังเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยคาดปีงบประมาณปี 64 มีเที่ยวบิน 335,459 เที่ยวบิน ลดลง 25% จากประมาณการครั้งก่อน และมีผู้โดยสารรวม 31.90 ล้านคน ลดลง 33.4% จากประมาณการครั้งก่อน ลุ้นสถานการณ์กลับมาเป็นปกติก่อนในปีงบประมาณ 67

บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT รายงานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท. )ว่า ทอท. คาดว่าในปีงบประมาณ 2564 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 335,459 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสาร
รวม 31.90 ล้านคน  ปีงบประมาณ 2565 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 547,226 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 73.17 ล้านคน ปีงบประมาณ 2566 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 824,915 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 128.85 ล้านคน และปีงบประมาณ 2567 มีปริมาณเที่ยวบินรวม 923,925 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 146.40 ล้านคน

โดยเป็นลดลงจากฉบับเดือนพฤศจิกายน 2563 จำนวน 16.01 ล้านคน โดยแบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ จำนวน 0.84 ล้านคน ลดลง 1.42 ล้านคน เนื่องจากการปรับปรุงจำนวนผู้โดยสารที่เดินทางเข้า-ออกประเทศ

โดยอ้างอิงข้อมูลจากสภาพการเดินทางจริงในสถานการณ์ที่ผ่านมา และสถานการณ์การแพร่ระบาดในต่างประเทศในปัจจุบัน และผู้โดยสารภายในประเทศ จำนวน 31.07 ล้านคน ลดลง 14.58 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยตั้งแต่ปลยเดือนธันวาคม 2563 เป็นต้นมา โดยผลการคาดการณ์ปริมาณเที่ยวบินเป็นไปในทิศทาง

ทั้งนี้ การคาดการณ์ประมาณการปริมาณการจราจรทางอากาศข้างต้น อยู่บนสมมติฐานในกรณีที่สถานการณ์ดีที่สุด (Best Case) กล่าวคือ กรณีที่ประเทศไทยจะทำการเปิดประเทศหลังเดือนตุลาคม 2564

เนื่องจาก มีการฉีดวัคซีนได้ทั่วโลกตามเป้าหมายและก้าวหน้าเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้โดยสารมีความเชื่อมั่นต่อการเดินทางมากขึ้น ส่ผลให้เที่ยวบินและผู้โดยสารสามารถฟื้นตัวได้เร็ว คาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับมาอยู่ในระดับปกติเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2562 (ช่วงก่อนการแพรระบาดของโรคโควิด-19) ในปีงบประมาณ 2566 

แต่ในกรณีที่สถานการณ์ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ (Worst Case) กล่าวคือ กรณีที่ประเทศไทยจะทำการเปิดประเทศหลังเดือนมกราคม 2565 เนื่องจากการฉีดวัคซีนมีควมาล่าช้า โดยมีสาเหตุมาจากผลข้างเคียงของวัคซีน การกลายพันธุ์ของโรค ปัญหาการผลิต หรือการขนส่งและการแจกจ่าย เป็นต้น ส่งผลให้สายการบินปรับตัวได้ช้า ซึ่งจะทำให้ปริมาณการจราจรทางอากาศฟื้นตัวได้ข้ากว่าปกติ คาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับมาอยู่ในระดับปกติเช่นเดียวกับปีงบประมาณ 2562 ในปีงบประมาณ 2567

รายงานข่าวจาก ทอท.ระบุว่า บริษัทได้ปรับประมาณการปริมาณการจราจรทางอากาศตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยและทั่วโลก โดยได้ปรับประมาณการผู้โดยสารรวมปี 64 ลง 33.4% จากประมาณการครั้งก่อน (พ.ย.63) และปรับประมาณการปริมาณเที่ยวบินรวมลง 25.0% ทั้งนี้ AOT คาดว่าจำนวนเที่ยวบินและผู้โดยสารจะกลับมามีปริมาณเท่ากับปี 62 (ก่อนเกิดโควิด-19) ในปี 67

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อจำนวนผู้โดยสารในภาพรวมที่เดินทางผ่านสนามบินทั้ง 6 แห่งของ AOT ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ลดลงอย่างมีนัย

 จึงปรับประมาณการปริมาณการจราจรทางอากาศ ระหว่างปีงบประมาณ 64-67 โดยคาดว่าในปีงบประมาณ 64 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 335,459 เที่ยวบิน ลดลง 25% จากการประมาณการครั้งก่อน (พ.ย. 63) และน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 (ก่อนเกิดโควิด-19) 62.6% และมีผู้โดยสารรวม 31.90 ล้านคน ลดลง 33.4% จากการประมาณการครั้งก่อน (พ.ย.63) และน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 62 (ก่อนเกิดโควิด-19) 77.5%

สำหรับปีงบประมาณ 65 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 547,226 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 73.17 ล้านคน ปีงบประมาณ 66 จะมีปริมาณเที่ยวบินรวม 824,915 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 128.85 ล้านคน และปีงบประมาณ 67 มีปริมาณเที่ยวบินรวม 923,925 เที่ยวบิน และผู้โดยสารรวม 146.40 ล้านคน หรือคาดว่าปริมาณการจราจรทางอากาศจะกลับสู่ระดับเดียวกับปี 62 ในปี 67

ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ของสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) และ S&P Global

อย่างไรก็ตาม การประมาณการนี้ตั้งอยู่บนข้อสมมติฐานที่มีการเปิดน่านฟ้าอย่างไม่มีเงื่อนไข เช่น ไม่มีการกักกันตัว ในเดือนธ.ค. 64 แต่หากมีการเปิดประเทศอย่างมีเงื่อนไข AOT จะต้องประเมินเงื่อนไขจากการเปิดประเทศ ซึ่งจะเป็นปัจจัยเพิ่มเติมในทางลบ (Downside Risk) จากประมาณการนี้ต่อไป

 

161356109960 ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ในประเทศไทย ทำให้ผู้โดยสารในภาพรวมที่เดินทางผ่านสนามบินทั้ง 6 แห่งของ AOT ลดลงอย่างมากจากเดิมก่อนการระบาดระลอกใหม่ ที่มีผู้โดยสารภายในประเทศเฉลี่ยประมาณ 127,000 คนต่อวัน ขณะที่ช่วงกลางเดือนม.ค.64 ผู้โดยสารลดลงเหลือเฉลี่ยประมาณ 15,000 คนต่อวัน แม้ว่าในเดือนก.พ.64 ผู้โดยสารเริ่มฟื้นตัวกลับมามีจำนวนประมาณ 37,000 คนต่อวันแล้วก็ตาม

อนึ่ง AOT คาดว่าแม้ว่าจะมีการเปิดประเทศแล้ว แต่การจัดสรรตารางการบินฤดูหนาว 64/65 ซึ่งเริ่มจัดสรรในเดือนพ.ค.64 จะไม่สมบูรณ์เนื่องจากผลกระทบข้างต้น ประกอบกับความเสียหายในห่วงโซ่อุปทาน ทางการบิน (Supply Chain Damage) อาทิ การลดฝูงบิน หรือการเข้าแผนฟื้นฟูกิจการของหลายสายการบิน หรือ สายการบินที่ยังฟื้นตัวไม่ทัน เป็นต้น จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวในระยะปานกลาง (หลังปี 65) ที่ต้องทำการประเมินอีกครั้งต่อไป