ก.ล.ต. นำทัพพัฒนาระบบ Digital Infrastructure พลิกโฉมตลาดทุนไทยสู่ 'ตลาดทุนดิจิทัล 100%'

ก.ล.ต. นำทัพพัฒนาระบบ Digital Infrastructure พลิกโฉมตลาดทุนไทยสู่ 'ตลาดทุนดิจิทัล 100%'

เชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนให้มาอยู่บนระบบที่มีมาตรฐานเดียวกัน ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ตราสารหนี้ ตราสารทุน หน่วยลงทุน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายให้เป็น ตลาดทุนดิจิทัล 100%

ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นรูปแบบดิจิทัล (Digital disruption) ที่ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมในสิ่งใหม่และทดแทนสิ่งเดิม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือการให้บริการ ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการในตลาดทุนไทยซึ่งต่างเล็งเห็นเป้าหมายเดียวกันที่จะใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดด้านต่าง ๆ ไปสู่การเป็น “ตลาดทุนดิจิทัลอย่างแท้จริง” 

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนจึงริเริ่มโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (Digital Infrastructure) ของตลาดทุนไทย เมื่อเดือนกันยายน 2562 เพื่อเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องในตลาดทุนให้มาอยู่บนระบบที่มีมาตรฐานเดียวกัน และปรับเปลี่ยนทุกกระบวนการในตลาดทุนให้เป็นดิจิทัล ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ตราสารหนี้ ตราสารทุน หน่วยลงทุน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยมีเป้าหมายให้เป็น “ตลาดทุนดิจิทัล 100% 

161675855713

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวในงานเปิดตัวระบบ Digital Infrastructure อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ว่า “โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนี้ถือเป็น milestone ของตลาดทุนไทย ซึ่งหากประสบความสำเร็จจะทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ถัดจากสวิตเซอร์แลนด์และสิงคโปร์ ที่สามารถพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital platform) ที่ให้บริการครบวงจรครอบคลุมตราสารทุกประเภท”

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าตลาดทุนไทยเป็นตลาดทุนดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงขอให้ผู้ร่วมพัฒนาโครงการนี้ และ ก.ล.ต. ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และการสร้างสภาวะ Cyber Resilience ให้แก่ตลาดทุน รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy Protection)

รื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของตลาดทุนไทยจะเปลี่ยนภาพรวมของการทำธุรกิจในตลาดทุนไทยในทุกด้าน ตั้งแต่กระบวนการทำงาน ผู้ลงทุน ผู้ระดมทุน ผู้ประกอบธุรกิจในตลาดทุน และหน่วยงานกำกับดูแล

161675858774

ตลาดทุนไทยได้อะไรจากระบบ Digital Infrastructure?

กระบวนการทำงาน : ช่วยลดกระบวนการที่ซ้ำซ้อน เกิดกระบวนการทำธุรกิจใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจ ลดความผิดพลาดในการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งเกิดธุรกิจรูปแบบใหม่ เช่น

  • ออกหลักทรัพย์ด้วยกระบวนการทางดิจิทัล 100% ที่ได้มาตรฐานและไม่มีการใช้กระดาษ พร้อมรองรับรูปแบบ machine readable ที่สามารถนำไปประมวลผลต่อได้
  • ใช้การลงนามด้วยลายมือชื่อแบบ e-Signature แทนการลงนามบนกระดาษ
  • ลดระยะเวลาที่หลักทรัพย์จะพร้อมซื้อขายในตลาดรองให้เหลือเพียง 12 วัน จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 714 วัน
  • ลดระยะเวลาในการส่งมอบและชำระราคาหลักทรัพย์ให้เป็นแบบ real-time (T + 0 วัน) ได้ จากเดิมอยู่ที่ T + 2 วัน

ผู้ลงทุน : ช่วยให้ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเข้าถึงบริการในตลาดทุนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัด เช่น

  • เปิดบัญชีการลงทุนโดยใช้แบบฟอร์มมาตรฐาน (Single Form) ที่กรอกข้อมูลเพียงครั้งเดียวก็สามารถลงทุนในผลิตภัณฑ์ทุกประเภทในตลาดทุนได้ และสามารถโอนย้ายข้อมูลไปยังผู้ให้บริการรายใหม่ได้โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำ
  • สามารถพิสูจน์และยืนยันตัวตนแบบ e-KYC ผ่านระบบ National Digital ID (NDID) ซึ่งจะทำให้การเปิดบัญชีลงทุนมีความสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
  • เรียกดูข้อมูลภาพรวมการลงทุนหลักทรัพย์ที่ถือครองได้ทั้งหมดในลักษณะพอร์ตโฟลิโอจากทุกบัญชี

ที่ใช้บริการในตลาดทุน (Account Aggregation)

ผู้ระดมทุน : สามารถออกหลักทรัพย์ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในรูปแบบดิจิทัล ช่วยลดต้นทุนในการออกและเสนอขายหลักทรัพย์

“ช่วยให้กิจการที่ต้องการเงินทุน ซึ่งรวมถึงกิจการเล็กๆ อย่าง SME หรือ Startup สามารถใช้ตลาดทุน ในการระดมทุนได้อย่างทั่วถึง และง่าย ทำให้ตลาดทุนเป็นของทุกคน ที่ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่หรือรายเล็ก สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม” เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าว

นอกจากนี้ การพัฒนาระบบการเข้าถึงระบบการเงินและตลาดทุน (Financial inclusion) ที่เท่าเทียมกันของประชาชนและธุรกิจทั้งขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ยังได้รับการผลักดันจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง     ให้นำไปเป็นกรณีตัวอย่างของประเทศไทยเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ      ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (AFMM) ในเดือนเมษายน 2564 และการประชุมเอเปค (APEC) ปี 2565 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกด้วย

หน่วยงานกำกับดูแล : มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาธุรกิจและตลาดทุน รวมทั้งกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะมีส่วนช่วยให้ตลาดทุนไทยสามารถเชื่อมโยงและแข่งขันได้อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยที่กระทรวงการคลังกำหนดเป้าหมายให้ตลาดทุนไทยเป็นตลาดทุนที่เข้าถึง แข่งได้ เชื่อมโยง และยั่งยืน

พร้อมออกสตาร์ทตั้งแต่นาทีนี้

“ตราสารหนี้ภาคเอกชน” จะเป็นผลิตภัณฑ์แรกที่จะถูกพลิกโฉมภายใต้โครงการพัฒนาระบบ Digital Infrastructure โดย เลขาธิการ ก.ล.ต. คาดว่าระบบจะพร้อมสำหรับการออกและเสนอขายตราสารหนี้ภาคเอกชนรุ่นแรกได้ภายในไตรมาส 4 ปี 2564 จากนั้นจะเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ กองทุนรวม ตราสารทุน และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต่อไป

ทั้งหมดนี้ ก.ล.ต. จะควบคุมดูแลการพัฒนาและทดสอบระบบทั้งหมดก่อนเริ่มใช้งานจริงภายใต้โครงการ Sandbox ที่มีการจำกัดความเสี่ยงและยืดหยุ่นในเรื่องของกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เชื่อมั่นได้ว่าจะสามารถใช้งานได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น คงจะได้เห็นตลาดทุนไทยก้าวข้ามขีดจำกัด เป็น “ตลาดทุนดิจิทัล” อย่างเต็มรูปแบบ ในเร็ว ๆ นี้