ทีวีดิจิทัล ลั่นระฆังสู้ใหม่! 8 ปีที่เหลือ

ทีวีดิจิทัล ลั่นระฆังสู้ใหม่! 8 ปีที่เหลือ

แม้ไม่สามารถคาดเดาอนาคนข้างหน้า จะ 1 วัน 1 เดือน หรือ 1 ปี ได้ในวงการธุรกิจ ที่ผู้ประกอบการมี “ข้อมูล” อยู่ในมือ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่นำมาช่วยตัดสินใจมองการณ์ “ใกล้-ไกล” เพื่อวางแผนกลยุทธ์ การทำงาน ก้าวสู่เป้าหมายได้ 

ทีวีดิจิทัลที่เหลือระยะเวลาทำมาหากินตามใบอนุญาตประกอบกิจการ(ไลเซ่นส์)ราว 8 ปี ที่คาดการณ์ความอยู่รอด เป็น ตาย ร้ายดี ของผู้ประกอบการได้ยาก ว่าจะมีกี่รายที่ต้องเผชิญชะตากรรมทางธุรกิจแบบมี กำไร-ขาดทุนในสังเวียนจอแก้วชิงคนดู แต่เค้าลางต่างๆมีตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาบ่งชี้ได้ไม่มากก็น้อย 

ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน(กตป.) ได้จัดการประชุมเฉพาะกลุ่มหรือโฟกัส กรุ๊ป เพื่อติดตามและประเมินผลตามนโยบาย กสทช. ที่สําคัญในด้านกิจการโทรทัศน์ : การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมโทรทัศน์ถดถอย พร้อมเปิดเวทีระดมความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการประชุม ทั้งนักวิชาการ ผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลค่ายต่างๆ ได้ย้ำถึงสถานการณ์ ปัญหาที่แต่ละช่องต้องเผชิญ โดยเฉพาะการพูดถึงหายนะ!” ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ พร้อมส่งสัญญาณว่าไม่เกิน 3 ปี มีผู้เล่นอำลาสังเวียนอีกแน่นอน 

ทว่า 1 เดือนเศษผ่านไป นิวทีวี18” ของ เหตระกูลต้องขายกิจการทิ้งให้กับ แอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ JKN ด้วยเม็ดเงินร่วมพันล้านบาทแต่นั่นก็ยังไม่เพียงพอที่จะปลดเปลื้องภาระทางการเงินของนิวทีวี18” ได้ ส่วนผู้ซื้ออย่างแอน จักรพงษ์เชื่อว่าดีลดังกล่าว โคตรคุ้ม! ในเชิงธุรกิจ 

161931242137

++วัน31-7HD เสริมทัพคอนเทนท์

จากปลายปีจนถึงนาทีนี้ วงการทีวีดิจิทัล ยังเขย่าทัพธุรกิจ ปรับเกมกลยุทธ์กันอย่างต่อเนื่อง เพื่อชิงคนดูคนดู(Eyeball) สร้างเรตติ้งให้ขยับขึ้น จะได้มีโอกาสดึงเงินโฆษณาจากเหล่าเอเยนซี่ สินค้าและบริการแบรนด์ต่างๆ 

ย้อนไปปลายปี 63 เปลี่ยนใหญ่ต้องยกให้ ช่องวัน31” ที่มี ถกลเกียรติ วีรวรรณเป็นแม่ทัพ เมื่อ "เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์เดินเกมซื้อกิจการจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้งที่ถือหุ้นในช่อง จีเอ็มเอ็ม 25” หวังควบธุรกิจคอนเทนท์เสริมแกร่งให้กับธุรกิจทีวีดิทัล  

ภารกิจครั้งซื้อขายกิจการดังกล่าว เกิดจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กลุ่มเดอะ วันฯ และสิริดำรงธรรม(ของทายาทเบียร์ช้าง ฐาปน สิริวัฒนภักดี) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิม 50% ในจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้ง ได้ขายหุ้นทิ้งให้กับทางเดอะวันฯ มูลค่าซื้อขายรวม 2,200 ล้านบาท 

ดีลดังกล่าว ส่งผลให้เดอะวันฯ ควบกิจการในส่วนที่เป็นผู้ผลิตคอนเทนท์ของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ ส่วนทีวีดิจิทัลช่อง จีเอ็มเอ็ม 25 ยังคงเป็นของจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่เหมือนเดิม

เมื่อได้กิจการมาอยู่ในมือ จึงต้องเขย่าโครงสร้างธุรกิจใหม่ โดยจีเอ็มเอ็ม ทีวี , จีเอ็มเอ็ม มีเดีย, เช้นจ์ 2561 และจีเอ็มเอ็ม สตูดิโอส์ อินเตอร์เนชันแนล ถูกรวมมาอยู่ใต้เงากลุ่มเดอะ วันฯ 

การทำธุรกิจทีวีผู้ประกอบการย้ำเสมอว่า Contentent is King หากเนื้อหารายการต่างๆไม่ว่าจะเป็น ข่าว ละครน้ำดีน้ำเน่า รายการวาไรตี้ สารคดี หากไม่ดีย่อมดึงคนดูได้ยาก  ต่อให้เนื้อหาดี ถูกจริตคนดูฝั่งหนึ่ง อีกกลุ่มอาจไม่เห็นดีเห็นงามด้วย พร้อมกดรีโมทเปลี่ยนช่อง 

ทว่า กลุ่มเดอะวันฯ เชื่อว่าการควบจีเอ็มเอ็ม แชนแนล โฮลดิ้งฯ จะเสริมทัพด้านคอนเทนท์อย่างแน่นอน ด้วยจุดแข็งที่มีการผลิตซีรี่ย์วายจนกลายเป็นกระแสใหญ่ในไทย มีมือดีอย่างเอกชัย เอื้อครองธรรมผลิตคอนเทนท์ป้อนเน็ตฟลิกซ์เป็นต้น

เงินพันล้าน! เป็นการกลงทุนระยะยาว การเขย่าโครงสร้างธุรกิจ ยังเป็นการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อระดมทุน ซึ่งจากนี้ยังต้องติดตามก้าวย่างของเดอะวันฯ ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ส่วนด้านรายการ สามารถสร้างกระแสได้หลายเรื่อง โดยเฉพาะ วันทองที่ถูกนำมาตีความใหม่ ตอนจบวันที่ 20 เม..64 สร้างเรตติ้งถล่มทลายแตะ 7.76 แต่เกมทีวีดิจิทัลเป็นการแข่งขัน 24 ชั่วโมง อีก 8 ปีที่เหลือ แม้จะดีใจวันเดียว แต่ผู้บริหาร ทีมงานยังต้องงานหนักยาวๆ  

ใช่มีแค่ช่องวัน31 ขยับตัว เพราะพี่ใหญ่อย่าง ช่อง7” ก็เคลื่อนไหวไม่น้อย โดยเฉพาะการได้อดีตลูกหม้อ ช่อง3” อย่าง ไบรอัน มาร์การ์ยกทีมกลุ่มเทโรฯ ไปอยู่ในอ้อมใจ กฤตย์ รัตนรักษ์ แม่ทัพใหญ่ช่อง 7 ผลิตรายการและละครป้อนทางช่องเรียบร้อย และยังมีรายการเสริมทัพอีกอย่าง ขบวนการซ่า ฮายกล้อ รวมถึงซิทคอม และละครที่จ่อคิวรอ 

161931268864

โลกธุรกิจไม่มีมิตรแถ้และศัตรูถาวร การแปลงคู่แข่งเป็นคู่ค้าพันธมิตรที่ช่วยเสริมแกร่ง และทำให้ธุรกิจ win-win จึงเป็นทางเลือกที่ดี แต่กลุ่มเทโร จะมาสร้างเม็ดเงินให้ช่อง7 เป็นกอบเป็นกำหรือไม่ต้องเกาะติดต่อ 

++จอแก้วระดมเขย่าทัพธุรกิจ 

นอกจากนี้ ค่าย MONO29 ที่เผชิญผลกระทบจากโรคโควิด-19 ดับฝันเป้าหมายธุรกิจปี 63 รวมถึงแผนขึ้นค่าโฆษณา หลังทำเรตติ้งยืน Top3 อย่างเหนียวแน่นไม่น้อย 

เหตุการณ์โรคระบาดกระทบทุกธุรกิจ รวมทั้งโมโน ทำให้ปีที่ผ่านมาบริษัทปิดกิจการที่ไม่ทำเงิน เป็นภาระหลายบริษัท เช่น โมโนเรดิโอ, โมโน บรอดคาซท์, โมโน มิวสิค, โมโน สปอร์ต, โมโน ทาเลนท์, โมโน เพลย์, โมโน เอสโทร และทีโมเมนต์ 

แต่บริษัทไม่ได้มีแค่ข่าวลบ เพราะได้ผู้ผลิตคอนเทนท์มากฝีมมืออย่างแดง ธัญญา โสภณมาเสริมทัพกับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตรายการ บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งต้องรอดูว่ารายการที่จะผลิตออกมาจะโดนใจคนดู สร้างกระแสได้เหมือนตอนอยู่ช่อง3 หรือไม่ 

อย่างไรก็ตาม จุดเด่นของโมโน29 คือเสิร์ฟ หนังดีซีรีย์ดังจากทั่วทุกมุมโลกมาตรึงให้คนเฝ้าหน้าจอแบบยาวๆ ส่วนความสำเร็จวัดผลได้จากเรตติ้ง Top3 แม้ทำรายได้กว่า 1,600 ล้านบาทในปีที่แล้ว แต่การพลิกทำกำไรยังไม่เกิดขึ้น เพราะบริษัทขาดทุนอ่วมกว่า 600 ล้านบาท” 

ด้านเนชั่นทีวี 22 สถานีข่าวอันดับ 1 ปรับทัพย้ำการเป็นสถาบันสื่อมืออาชีพดึงอดีตผู้บริหารอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจนั่งตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง จำกัด (มหาชน) และมีการปรับเปลี่ยนผู้ประกาศข่าวดึงคนมากความสามารถร่วมทัพอีกหลายชีวิต ล่าสุด ลุยส่งทีมผู้ประกาศมากฝีมือเจาะคนรุ่นใหม่ วัยมิลเลเนียล เช่น พิภู พุ่มแก้วกล้า, อรการ จิวะเกียรติ มารายงานข่าวเช้ากับรายการ “Morning Nation” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08:00-09.40 ., อติชาต วงศ์วุฒิวัฒน์, นลิน สิงหพุทธางกูร, กิตติดิษฐ์ ธนดิษฐ์สุวรรณ ในรายการข่าวข้นคนข่าวทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 20:10-22:20 . ศุภวรรณ โต๋ห์, รพีพรรณ เรือนศรี กับรายการเนชั่นทันข่าวเย็นสดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:00-19:00 . และเนชั่นทันข่าวค่ำ”  ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18:10-19:50 . เป็นต้น 

นอกจากนี้ ยังมีกูรูข่าวมือฉกาจที่คร่ำหวอดในเส้นทางสื่อมวลครบทีม สมชาย มีเสน, วีระศักดิ์ พงษ์อักษร, บากบั่น บุญเลิศ, ชิบ จิตนิยม, ประชาไท ธนณรงค์, ภาสพล โตหอมบุตร และ สุทธิรักษ์ อุฒมนตรี  ที่มาร่วมวิเคราะห์เจาะลึกการเมือง อัพเดทข่าวเศรษฐกิจ สังคมโลก ล่าสุดยังมีผู้ประกาศดัง ดนัย เอกมหาสวัสดิ์, ยุคล วิเศษสังข์, นารากร ติยายน, พัชระ สารพิมพา, ประจักษ์ มะวงศ์สา, มนตรี จอมพันธ์ และ ทนายสงกาญ์ อัจฉริยะทรัพย์ ร่วมตีแผ่ทุกแง่มุมที่ประชาชนต้องรู้ เรียกว่าจัดเต็มสมกับเป็นผู้นำสถานีข่าวอย่างแท้จริง 

ช่อง3 เป็นอีกค่ายที่ความเคลื่อนไหวตลอด โดยเฉพาะล่าสุด การหวนคืนสู่จอแก้วของพิธีกรข่าวระดับตำนานอย่าง สรยุทธ สุทัศนะจินดาทันทีที่กลับมาเอเยนซี่โฆษณาขานรับกันอย่างคึกคัก 

161931254167

ทั้งนี้ ช่อง 3 จัดทัพพิธีกรข่าวมาเรียกกระแสไปพลางๆผ่านคลิปวิดีโอ ครอบครัวข่าว 3” โดยการปรากฏตัวของ 5 พิธีกรข่าว 5 คาแรคเตอร์ 5 การนำเสนอข่าวแต่ละประเภทสู่สายตาประชาชน ได้แก่สรยุทธ-ไก่ ภาษิต-หนุ่ม กรรชัย-กิตติ สิงหาปัด-ดนยกฤตย์ แดงหวานปีสีห์” 

ส่วนผังรายการข่าวเดือนพ..นี้ ถูกจัดใหม่เรียบร้อย เมื่อมี สรยุทธเป็นทัพหน้า จึงขยายเวลารายการ เรื่องเล่าเช้านี้จันทร์-ศุกร์ 06.00-08.20 . จากเดิมจบ 08.00. ปรับผู้ประกาศเรื่องเล่าเสาร์อาทิตย์มีสรยุทธ-ไบรท์ พิชญทัฬห์ด้านเรื่องเด่นเย็นนี้ ปรับผู้ประกาศเป็นไก่ ภาษิต-ตูน ปรินดานอกจากนี้ ยังมีราายการใหม่ข่าวสามสีออกอากาศจันทร์-ศุกร์ 16.00-16.30. และมีรายการหลุดผังด้วย เช่น โต๊ะข่าวบันเทิง รีวิวบันเทิง และดาวินชี่ เกมถอดรหัส เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ข่าวเป็นเพียงคอนเทนท์หนึ่งเท่านั้น จากเวลาออกอากาศ 24 ชั่วโมง การกลับมาของสรยุทธอาจเรียกความเชื่อมั่น ความคึกคักได้ระดับหนึ่ง แต่การทวงบัลลังก์ข่าวไม่ง่าย แม้จะจับขาประจำ 35-40 ปีขึ้นไป ที่นิยมดูทีวี แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และคอนเทนท์มีให้เลือกเสพมากมาย ทั้งรายการสด รายการย้อนหลัง(รีรัน) แมสรยุทธจะเสิร์ฟข่าวทุกแพลตฟอร์ม แต่การชิงเวลาและสายตาจากคนดู นับวันยากขึ้นเรื่อยๆ 

++ “เจเคเอ็น18” ขายสินค้าตามรอยอาร์เอส

หนึ่งในผู้เล่นทีวีดิจิทัล คืออาร์เอสที่ทุ่มเงินประมูลปลุกปั้นช่อง 8” จนติดท็อป 5 แต่ปัจจุบันหล่นอันดับ แต่ยังเกาะกลุ่ม 10 ช่องแรกที่เรตติ้งสูงสุด ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่ากลยุทธ์ของช่อง8 จะเป็นหนึ่งในจิ๊กซอว์ที่ช่วยหนุนโมเดลเอ็นเตอร์เทนเมิร์ซของ เฮียฮ้อ สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ที่ทรานส์ฟอร์มจากธุรกิจเพลง บันเทิงมาขายสินค้าแบบครบวงจร ช่องทางไหนสร้างเป้าหมายรายได้ เรียกว่าซีนเนอร์ยีกันหมด

อาร์เอส มีไลฟ์สตาร์ เป็นบริษัทในเครือที่ผลิตสินค้ามากมาย ทั้งหมดจะถูกขายผ่านช่องทางต่างๆ หนึ่งในนั้นมีทีวีดิจิทัลนอกจากนี้ ยังมีรายการที่ออกอากาศทางช่อง ต่อยอดไปสู่การปิดการขายสินค้าได้ด้วย 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าทีวีดิจิทัลที่มีสล็อตเวลาออกอากาศเหลือกันถ้วนหน้า จะผลิตรายการที่มีต้นทุนสูง แต่โฆษณาไม่เข้า ย่อมไม่คุ้มค่าการลงทุน การให้สินค้าต่างๆมาเช่าเวลา เป็นพันธมิตรขายสินค้า ไทอินในรายการจึงเกิดขึ้นเกลื่อนจอ! จนคนดูเอือมและเรตติ้งตกลง แต่เทรนด์ดังกล่าวยังคงถูกนำมาใช้ ตราบใดที่ทำให้ธุรกิจจอแก้วอยู่รอด 

เจเคเอ็น18” เป็นผู้ท้าชิงใหม่ในวงการทีวีดิจิทัล แต่ไม่ใหม่ในแวดวงโทรทัศน์ เพราะอยู่บนดาวเทียม เคเบิลทีวีมาก่อน เมื่อแอน จักรพงษ์ทุ่มทุนพันล้าน ซื้อนิวทีวี 18” การเปลี่ยนเจ้าของจึงต้องเปลี่ยนโมเดลและกลยุทธ์ทางธุรกิจใหม่ 

จักรพงษ์จะปั้นให้เจเคเอ็น18 เป็น คอนเทนท์ คอมเมิร์ซ คัมปะนีผสานจุดแข็งจากการที่บริษัทมีคอนเทนท์ในมือมากมายทั้งซีรีย์อินเดีย ฟิลิปปินส์ สารคดี รายการข่าวเศรษฐกิจระดับมาดึงคนดู ส่วนสล็อตเวลาขายโฆษณา บางรายการก็ขายสินค้าของบริษัทไปในตัว 

161931277262

ทันทีที่เปลี่ยนชื่อช่องเป็นเจเคเอ็น18” ช่วงเช้าจะเห็นซีรี่ย์ฟิลิปปินส์บันทึกรักจากดวงดาวที่ดัดแปลงจากซีรี่ย์เกาหลีชื่อดังอย่าง My Love From The Star ต่อด้วยรายการ JKN CNBC Squawk Box เวลาอื่นๆมีซีรีย์อินเดียต่อคิวออกาอากาศเพียบ แน่นอนว่าระดับแอน จักรพงษ์ที่มีฐานแฟนคลับติดตามบนโซเชียลมีเดียกว่า 14 ล้านราย จึงฮาร์ดเซลล์ขายสินค้าของตนเองเพียบ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารวี-ออลลิน ซี - เทรีย เป็นต้น เรื่องว่ากระพือหนักทุกช่วงเวลา 

ด้านเรตติ้ง จักรพงษ์ ฝันอยากเห็นเจเคเอ็น18 ติด Top10 จะทำได้ไหมต้องติดตาม แต่ที่แน่ๆเงินพันล้านที่ลงทุนค้มค่าแน่ๆ เพราะจากเดิมเสียเงินหลักแสนบาทต่อนาทีไปออกรายการช่องอื่นๆและขายสินค้า เทียบกับตอนนี้เงินลงทุนเฉลี่ย 1.6 ล้านบาทต่อเดือน ขายของได้ 24 ชั่วโมง ดีดลูกคิดรางแก้วซ้ำๆ ผลตอบแทนดี 

เห็นโอกาสดีที่เจ้าของเดิมกรุณา เลยทดลองทำงานที่ช่อง คำนวณแล้วเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า คุ้มสุดๆ ดีสุดๆ เพราะทำให้เรามีแพลตฟอร์มที่จะขายสินค้า คอนเทนท์ คอมเมิร์ซจะเป็นตัวไดรฟ์ธุรกิจ การเทคโอเวอร์ช่องนิวทีวี จึงเป็นไอเดียที่ฉลาดที่สุด

วันนี้ ทีวีดิจิทัล นอกจากจะเปิดศึกแย่งคนดู ช่องที่ใช้โมเดลขายสินค้า ยังต้องแย่งคนซื้ออีก ส่วนช่องไหนจะกวาดทั้งเรตติ้งและเม็ดเงินเข้ากระเป๋า ทุกไตรมาสประกาศผลประกอบการก็รู้กัน แต่ที่แน่ๆ ทำธุรกิจสไตล์แอน จักรพงษ์ที่เจ้าตัวย้ำเสมอว่าเขี้ยวลากดินลงทุนยังไงต้องมีกำไร ต้องเติบโต ไม่งั้นไม่ใช่จักรพงษ์!!

เราต้องมีช่องทีวีของเรา ทีวีดิจิทัลเหลือไลเซ่นส์อีกกว่า 8 ปี การลงทุนเราหารจำนวนเงิน รายรับที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ใช้คำว่า..โคตรคุ้ม!!” เพราะเงินที่ลงไป 4 ปีต้องคืนทุน ดังนั้นอีก 4 ปีของระยะเวลาที่เหลือต้องหาทางเสริมความมั่งคั่งข้ามเพศพันล้านต่อ

++โควิดระลอก 3 วิกฤติล้อมธุรกิจ 

อย่างไรก็ตาม แผนธุรกิจที่เตรียมการมาอย่างดีใน 1-2 ปีนี้ กำลังถูกท้าทายอย่างมากจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันอย่าง โรคโควิด-19” จากการแพร่เชื้อระลอกแรทั่วโลกและไทย ผู้ประกอบการธุรกิจได้รับผลกระทบหนักถ้วนหน้า รายเล็กถูกกวาดหายเกือบทั้งกระดาน รายใหญ่ที่แข็งแกร่ง ก็ระส่ำได้ หากเหตุการณ์ยังลากยาวต่อ 

ทีวีดิจิทัล ที่พึ่งเม็ดเงิน โฆษณาจากแบรนด์สินค้าและบริการต่างๆ ต้องกระเทือนอย่างลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะทันทีที่โรคระบาด รัฐงัดมาตรการล็อกดาวน์สกัดไวรัส ธุรกิจค้าขายไม่ได้ ยอดขายตก สุดท้ายการหั่นงบโฆษณาเป็นด่านแรกที่ผู้ประกอบการทำ ส่งผลให้ปี 2563 อุตสาหกรรมโฆษณาติดลบกว่า 17% เข้าสู่ปี 2564 สถานการณ์คุมโควิดดีขึ้น แม้จะมีการระบาดระลอก 2 ที่สมุทรสาคร แต่เอเยนซี่โฆษณาต่างกระทุ้งลูกค้าให้ทำแคมเปญรับไฮซีซั่นหรือหน้าขายช่วงซัมเมอร์ 

161931246360

ทว่า โควิด-19 ระลอก 3 จากคลัสเตอร์ทองหล่อ..ดับฝัน! โอกาสโกยเม็ดเงินโฆษณาและฟื้นธุรกิจสื่อทันที ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือเอ็มไอ ตั้งสมมติฐานการเติบโตของอุตสาหกรรมโฆษณาไว้ 2 สถานการณ์(ซีนาริโอ) คือ 1.ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง แตะระดับต่ำกว่า 100 คนต่อวัน โอกาสเห็นการเติบโต 4% ยังมี และเม็ดเงินจะสะพัด 78,000 ล้านบาท แต่กรณีเลวร้าย 2.ตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ทุบสถิติหรือทำ New High ไม่หยุดหย่อน และไม่มีสัญญาณจะลดลงภายในครึ่งปีแรก อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาปี 64 จะไม่เติบโต หรือดีสุดโต 1% เม็ดเงินสะพัด 75,000 ล้านบาทเท่ากับปีก่อน 

ในความเป็นจริงที่ไทยเผชิญเวลานี้คือจำนวนผู้ติดเชื้อยังเพิ่มขึ้น ซึ่ง วันที่ 24 เม.. ยอดผู้ติดเชื้อเกินกว่า 2,800 คน เสียชีวิต 8 ราย ยังมีผู้ป่วยอาการหนักนับร้อย และใช้เครื่องช่วยหายใจกว่าร้อยราย ทุกวันมีคนโพสต์ข้อความ อัดคลิปป่วยเป็นโควิด-19 ร้องขอเตียงรักษาพยาบาล เป็นภาพที่หดหู่และบั่นทอนกำลังใจไม่น้อย 

อย่างไรก็ตาม หากชีวิตไม่สิ้น คงต้องดินกันต่อไป ในห้วงเวลาวิกฤติที่รัฐบาลรับมือโรคระบาดอย่างยากลำบาก โดยเฉพาะการจัดหาวัคซีนและฉีดให้ประชาชนอาจล่าช้าไม่ทันใจหลายภาคส่วน ทำให้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยผนึกกำลังกับ 45 ซีอีโอ ของบริษัทชั้นนำในไทยและระดับโลก เช่น ไทยเบฟเวอเรจ, กลุ่มธุรกิจทีซีพี, ยูนิลีเวอร์, เนสท์เล่, เซ็นทรัล,เอดับบลิวซี, ไมเนอร์, สิงห์, ทรู, โตชิบา, บางกอกเชน ฮอสพิทอล, เมืองไทยประกันฯ เพื่อช่วยหาและฉีดวัคซีนให้กับพนักงานของตนเอง เรียกว่าร่วมหาทางออกแก้วิกฤติ เพื่อให้เปิดประเทศ และฟื้นเศรษฐกิจ ผู้คนกลับมาใช้ชีวิตดังเดิม 

แนวทางเหล่านี้ หากทำได้ เศรษฐกิจ ธุรกิจฟื้น ก็มาลุ้นต่อให้แบรนด์กลับมาใช้จ่ายโฆษณาโดยเร็ว ต่อลมหายใจธุรกิจสื่ออีกระลอก โดยเฉพาะทีวีดิจิทัลที่กระอักเลือดกันมานานครึ่งทางของใบอนุญาตแล้ว ส่วน 8 ปีที่เหลือจะลั่นระฆังกี่ยก การแข่งขันเลือดสาดยังเกิดขึ้นบนสังเวียนการต่อสู้!!