“คลื่นเทคโนโลยี”แก้ปมแรงงาน ปัจจัยทำทุนย้ายฐานลดลง

“คลื่นเทคโนโลยี”แก้ปมแรงงาน     ปัจจัยทำทุนย้ายฐานลดลง

การเกิดขึ้นของคลื่นลูกใหม่ทางเทคโนโลยีที่จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆขณะเดียวกันก็นำปัญหารูปแบบใหม่มาให้ได้ขบคิดด้วย ในที่นี้จะเน้นเรื่อง “เทคโนโลยียุคใหม่ที่สร้างความปั่นป่วนต่อตลาดแรงงาน”

รายงานTechnology and Innovation Report 2021  จัดทำโดย การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรืออังค์ถัด  สาระสำคัญโดยสรุประบุว่า มุมมองโดยทั่วไปจะเห็นว่านวัตกรรมในกระบวนการเพิ่มผลิตภาพจะนำไปสู่การทำลายการจ้างงาน แต่ในทางกลับกันก็พบว่า นวัตกรรมสามารถสร้างสินค้าใหม่ๆ และสร้างงานใหม่ให้ด้วยเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอัตราเร่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่เทคโนโลยีกำลังทำให้ความจำเป็นย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศลดน้อยลง เช่นจีน มีการชะลอหรือล่าช้าออกไปที่จะยกอุตสาหกรรมดั่งเดิมเช่นเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า อิเล็กทรอนิกส์เทคโนโลยีต่ำไปสู่กลุ่มประเทศอย่างเอเชียและแอฟริกา

ปัจจัยนี้กำลังเป็นความท้าทายของประเทศกำลังพัฒนาที่ต้องการดึงการลงทุน เพราะยิ่งเกิดช่องว่างทางเทคโนโลยีมากขึ้นเท่าไหร่ ความน่าสนใจการเข้ามาลงทุนก็จะน้อยลงไป ดังนั้น หลายประเทศจึงกลับไปที่เงื่อนไขยุทธศาสตร์การส่งเสริมในกลุ่มอุตสหกรรมใหม่ การลงทุนด้านบุคลากร และโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีน้ำหนักพอๆกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจและกฎระเบียบการค้าต่างๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจการดึงดูดการลงทุนอีกครั้ง 

เมื่อแรงงานไม่ใช่ปัญหาการผลิตในประเทศพัฒนาแล้ว การกลับไปผลิตในประเทศแม่โดยมีเทคโนโลยี ทั้ง หุ่นยนต์และAIเป็นตัวขับเคลื่อน กำลังเป็นโครงสร้างใหม่ของการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศในอนาคต”

161937120917

นอกจากนี้ รายงานยังชี้ว่า ประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายยังมีความน่าสนใจจากตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เมื่อชนชั้นกลางในประเทศเหล่านี้ กำลังขยายตัวและต้องการการบริโภคมากขึ้น ซึ่งยังเป็นปัจจัยดึงการลงทุนไว้ได้ 

   หากพิจารณาผลกระทบจากเทคโนโลยีต่อการจ้างงานบุคคลจะพบว่า คนงานที่จะได้ว่าจ้างงานต่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทักษะที่แรงงานคนนั้นมีอยู่ ซึ่งธุรกิจกำลังต้องตัดสินใจถึงโครงสร้างการจ้างงาน การลงทุนเทคโนโลยีและผลกำไร 

        อย่างไรก็ตาม เมื่อเทคโนโลยีและนัวตกรรมเกิดขึ้นแล้ว สิ่งเหล่านี้สร้างความเสี่ยงต่อการตกงานและช่วงของรายได้ที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันหนึ่งในปัจจัยเกี่ยวเนื่องสำคัญคือผลกระทบต่อตลาดแรงงานที่มาจาก AI และหุ่นนต์ สองสิ่งนี้รวมเข้ากับ

บิ๊กดาต้า และ IoT ต่างมีส่วนที่สร้างความน่าสะพรึงที่ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะแทนที่งานที่ใช้ทักษะในระดับกลางและยังมีปัจจัยเสริมทับจากการเติบโตของgig economy (ระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยงานครั้งคราว หรืองานที่รับจ้างจบเป็นครั้งๆ ไป)นำไปสู่ค่าจ้างที่ต่ำและความไม่มั่นคงทางการจ้างงาน

 “ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บ้างก็เตือนถึงการล่มสลายของตลาดแรงงานอย่างกว้างขวาง ขณะที่การศึกษาอย่างอนุรักษ์นิยม ก็ชี้ว่าผลกระทบอาจเป็นการประเมินสูงเกินไปในระยะสั้น และประเมินต่ำเกินไปในระยะยาว”

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่ามากกว่า 20 ปีจากนี้ ยุโรปและสหรัฐจะจ้างงานระบบอัตโนมัติที่ 30-50% และอีกราว 8-14% เป็นการจ้างานแบบข้ามสาขา ดังนั้น คนงานต้องปรับตัวรับหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ ที่สอดคล้องกับเทคโนโลยี แต่ผลที่

มากกว่านั้นคือตำแหน่งเดิมแต่ทักษะความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนเดิม เช่น ผู้สื่อข่าว ไม่ใช่แค่การเก็บข้อมูลเท่านั้นแต่จากนี้ไปต้องรับผิดชอบไปจนถึงการนำเสนองานออกสู่สาธารณะด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งที่ก่อนหน้านี้เคยเป็นหน้าที่ของอีกภาคส่วนหนึ่ง 

“อย่ามัวแต่มองว่าหุ่นยนต์จะแย่งงานแต่ต้องมองในมุมที่ว่า จะเกิดงานรูปแบบใหม่อะไรบ้าง ซึ่งพบว่าประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้เห็นประเด็นนี้มากเท่าที่ควร เพราะไม่ได้คำนึงว่า หุ่นยนต์และAI จะเป็นตัวเปลี่ยนโครงสร้างทางการค้าซึ่งมากกว่าแค่การนำของใหม่มาใช้ในธุรกิจเท่านั้น”

ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (อีคอนไทย) กล่าวว่า  กระแสการย้ายโรงงานกลับประเทศ หรือลดการลงทุนในต่างประเทศคงมีไม่มาก เพราะเป้าหมายหลักสำคัญในการเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานในต่างประเทศ ก็เพราะต้องการตลาดในประเทศ หรือภูมิภาคเหล่านี้ 

เนื่องจากค่าขนส่งเป็นต้นทุนที่สำคัญ จึงจำเป็นต้องมีโรงงานในประเทศที่เป็นตลาดสำคัญ เช่น ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เพราะมีประชากรสูง ในส่วนของไทยก็ยังใช้เป็นฐานการผลิตปั้นในภูมิภาคอาเซียนได้ รวมทั้งในประเทศแม่ส่วนใหญ่เป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้ตลาดขยายตัวได้น้อย และมีแรงงานต่ำ ดังนั้นการออกไปลงทุนในภูมิภาคอาเซียนก็ยังคงมีอยู่ โรงงานที่มีอยู่ก็ยังคงไม่ย้ายไปที่อื่น แต่จะปรับไปใช้หุ่นยนต์ เครื่องจักรอัตโนมัติ และโรงงานใหม่ ๆ ก็จะใช่แรงงานน้อยลง

 “ในปัจจุบันราคาหุ่นยนต์แขนกลลดต่ำลงมากถึง 3 เท่าจากในอดีต ที่มีราคากว่า 2-3 ล้านบาท ขณะนี้มีราคาเพียง 7 แสนกว่าบาท โรงงานสมัยใหม่บางแห่งสามารถลดคนงานลงได้ถึง 90% ดังนั้นทั้งผู้ประกอบการ และแรงงานจะต้องเร่งปรับตัวรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น”

ในส่วนของแนวโน้มการลงทุน ก็จะเน้นในเรื่องของขนาดตลาดมากกว่าต้นทุนค่าจ้างแรงงาน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ที่มีประชากรเป็นจำนวนมาก คนชั้นแรงงานมีสัดส่วนที่สูง ทำให้ตลาดมีแนวโน้มโตขึ้นได้อีกมาก ในขณะที่ไทยมีประชากรไม่ถึง 70 ล้านคน และเป็นสังคมผู้สูงอายุ ทำให้เสียเปรียบประเทศเหล่านี้อยู่มาก

สำหรับแรงงานไทย ก็ต้องเร่งปรับตัว โดยแรงงานที่อายุยังไม่มากไม่ถึง 40 ปี ก็ควรเร่งปรับทักษะแรงงานไปสู่แรงงานทักษะสูงที่หุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ไม่ได้ หรือปรับไปเป็นผู้ควบคุม ออกแบบระบบหุ่นยนต์ และเครื่องจักรอัตโนมัติเหล่านี้ ใน             

 “แรงงานที่หวังพึ่งแต่ค่าแรงขั้นต่ำ และสวัสดิการตามที่กฎหมายกำหนดจะอยู่ได้ยากขึ้น หากนายจ้างเปิดโอกาสให้ไปฝึกอบรมเพิ่มทักษะ ก็ต้องรีบฉวยโอกาสเหล่านี้ เพื่อให้รอดพ้นจากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยี”