ปรับสูงขึ้น (11 มิ.ย.64)
เก็งกำไร PSL TU CPN
คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้
คาดดัชนีฯ ปรับสูงขึ้น แนวรับ 1615 / 1605 จุด แนวต้าน 1635 / 1640 จุด แนะนำ เก็งกำไร PSL TU CPN สัญญาณทางเทคนิคยังคงเคลื่อนในกรอบขาขึ้น (Higher High) แต่การเข้าเขต Overbought ทำให้มีโอกาสเสมอที่ดัชนีฯ อาจอ่อนตัวระยะสั้น ปัจจัยบวก คือ 1. ความหวังต่อการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์มีสูงขึ้น หลังปริมาณการฉีดวัคซีนสูงกว่า 1.22 ล้านโดส ในช่วงวันที่ 7 - 9 มิ.ย. 2. สภาฯ โหวตผ่านพ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ 2H21E 3. สหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติสหรัฐฯ ปรับเพิ่มเป้าหมาย 2021E US GDP เป็น 7% (Vs เดิม 4.4-5%) 4. ECB Meeting ปรับเพิ่มแนวโน้มเศรษฐกิจปีนี้เป็น 4.6% (เดิม 4%) และสัญญาจะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ต่อไป (3Q21E จะซื้อพันธบัตรฯด้วยปริมาณสูงขึ้นเทียบกับต้นปี) ปัจจัยลบ คือ 1. USA Inflation เดือน พ.ค. พุ่งขึ้นสูงกว่าคาดเป็น +5% YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2008 2. ดัชนีความเชื่อมั่นไทยเดือน พ.ค. ต่าสุดตั้งแต่เริ่มสารวจในเดือน มิ.ย. 2019
ประเด็นอื่น ๆ ที่ต้องติดตาม
- คาดรัฐบาลจะผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในไม่ช้านี้ หลังปริมาณฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่ วันที่ 28 ก.พ. - 9 มิ.ย. อยู่ที่ 5.44 ล้านโดส แบ่งเป็นเข็มที่ 1 +3.96 ล้านโดส และเข็มที่ 2 +1.47 ล้านโดส (คิดเป็นสัดส่วน 5.66% และ 2.1% ของประชากรทั้งหมด) + กลุ่มอิงการบริโภคในประเทศ ค้าปลีก การเดินทาง ท่องเที่ยว
- ศบศ. กำลังพิจารณามาตรการพยุงการจ้างงานช่วยผู้ประกอบการระดับกลางแบบอุดหนุนหรือร่วมจ่าย 3-9 เดือน (+กลุ่มธนาคาร)
- Opportunity day วันนี้ PF PJW VGI SCGP SISB UKEM TU
- ECB Meeting ปรับเพิ่มแนวโน้มเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น 4.6 จาก 4.1% และสัญญาที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป (+ตลาดหุ้นโลก)
- ตลาดคาดว่าผลประชุมเฟดสัปดาห์หน้าจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน แม้เงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือน พ.ค. พุ่งขึ้นเป็น +5% YoY สูงสุดรอบ 15 เดือน (+กลุ่ม Cyclical Plays)
ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้
USA-Michigan Consumer Sentiment เดือน มิ.ย. คาด 84 (Vs เดือน พ.ค. 82.9) / Russian-ผลประชุมธนาคารกลางคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 5.25% (Vs ปัจจุบัน 5%) / UK-Industrial Production เดือน เม.ย. คาด 1.2% MoM (Vs เดือน มี.ค. 1.8% MoM) / Spain-Inflation rate เดือน พ.ค. คาด 2.4% YoY (Vs เดือน เม.ย. 2%)
Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา
- ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัว หลังทำจุดสูงสุดรอบ 1.5 ปี: ตลาดหุ้นไทยอ่อนตัวลง หลังจากปรับขึ้นสูงสุดในครึ่งชั่วโมงแรกของการซื้อขาย ในกรอบ 1623.57-1636.22 จุด ก่อนมาปิดตลาดที่ 1625.27 จุด -1 จุด วอลุ่ม 1.05 แสนล้านบาท (รวม Big Lot มูลค่า 4.9 พันล้านบาท) นำลงโดยกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ -1.9% ธุรกิจการเกษตร -1.1% ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ -0.95% ยานยนต์ -0.67% หุ้นบวก >4% TTA PSL RCL BAM U 7UP SF CCET DDD BFIT MAJOR AEC SR WIN JUTHA FSMART MVP COMAN NCL COLOR UV หุ้นลบ >4% JMART SMT SAMART EFORL ILINK TCMC MICRO BLA NEX
+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก แต่ตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวก DJ +0.06% (+19.10 จุด) S&P500 +0.47% Nasdaq +0.78% โดยมีปัจจัยบวกจากรายงานผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงต่ำสุดรอบ 15 เดือน และการคาดว่าเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน แม้อัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค. สูงสุดรอบ 13 ปี แต่เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราว ส่งผลบวกต่อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีและหุ้นอิงวัฏจักรเศรษฐกิจ ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดคละ DAX -0.06% CAC40 -0.26% FTSE +0.10% โดยมีข่าวดีจาก ECB ปรับเพิ่มแนวโน้มเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น 4.6 จาก 4.1% และสัญญาที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป
+ น้ำมันดิบและทองคำปิดบวก: น้ำมันดิบโลกปรับสูงขึ้น WTI +33 เซนต์ ปิดที่ USD70.29/บาร์เรล Brent +30 เซนต์ ปิดที่ USD72.52/บาร์เรล รับข่าวโอเปคออกรายงานคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกปีนี้จะเพิ่มขึ้น 6.6% หรือ 5.95 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นปัจจัยหนุนในครึ่งปีหลัง ส่วนราคาทองคำโลกปิดบวก +USD0.90 ปิดที่ USD1,896.40/ออนซ์ จากแนวโน้มเฟดคงดอกเบี้ย แม้รายงานเงินเฟ้อเร่งขึ้นในเดือน พ.ค.
ประเด็นสำคัญ
+ ECB Meeting: มีมติคงดอกเบี้ยนโยบายและคงวงเงินในการซื้อพันธบัตร (QE) ตามโครงการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) ที่ระดับเดิม 1.85 ล้านล้านยูโร (USD2.25trn) โดยจะซื้อพันธบัตรเดือนละ 2 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือน มี.ค. 2022
+ การฉีดวัคซีน: สธ. รายงานการฉีดวัคซีนต้าน COVID-19 วันพุธ 9 มิ.ย. +336,674 โดส (Vs วันจันทร์ที่ 7 มิ.ย. +416,847 โดส และวันอังคารที่ 8 มิ.ย. +472,128 โดส) ส่งผลให้ผู้รับวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 7 - 9 มิ.ย. อยู่ที่ 1,225, 649 โดส และสะสมตั้งแต่เริ่มต้นปี (28 ก.พ. - 9 มิ.ย. 2021) อยู่ที่ 5,443,743 โดส
- USA: Inflation เดือน พ.ค. พุ่งขึ้นสูงกว่าคาดเป็น +5% YoY สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2008 (Vs คาด 4.7% YoY และเดือน เม.ย. 4.2% YoY)
+ USA: Weekly Initial Jobless Claims อยู่ที่ 376k ลดลงเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนที่ 385k แต่สูงกว่าคาดการณ์ที่ 370k โดยเป็นระดับต่ำสุดรอบ 15 เดือนนับตั้งแต่วิกฤติ COVID-19 เดือน มี.ค. 2020 เป็นต้นมา
+ พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท: สภาฯ โหวตอนุมัติด้วยคะแนน 270 เสียงต่อ 196 เสียง และศบศ. กำลังพิจารณาใช้เงินล็อตแรกจากพ.ร.ก. ดังกล่าว เพื่อพยุงการจ้างงาน
กลยุทธ์การลงทุน แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)
หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: CHAYO SHR KTC
หุ้นแนะนำเก็งกำไร: PSL TU CPN
Derivatives: ปิด Long S50M21 ทำกำไรภายในวัน (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)