ศักยภาพผู้ประกอบการ ปรับโลจิสติกส์รับ EEC (ตอนที่ 1)

ศักยภาพผู้ประกอบการ ปรับโลจิสติกส์รับ EEC (ตอนที่ 1)

โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard

โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Seaboard โครงการนี้เป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด EEC มีเป้ าหมายยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone” รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster และอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอีก 20 ปีข้างหน้า (จิรามน สุธีรชาติ, 2560)


ตามนโยบายของภาครัฐเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียนโดยนำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ย่อมส่งผลดีต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยในทุกเซกเมนต์ เช่น กลุ่มธุรกิจคลังสินค้าห้องเย็นมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากทิศทางของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น “Food Hub” รวมทั้งโลจิสติกส์ยานยนต์มีแนวโน้มเติบโตที่ดี และบริหารสินค้าอันตรายก็มีแนวโน้มการเติบโตที่ดี เนื่องจากการเปิด AEC โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าไปยังประเทศเมียนมาและกัมพูชาที่มีอัตราเติบโตถึง 6-7% (ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา, 2560)

รวมทั้งการขนส่งแบบ B2B B2C และ C2C ที่เติบโตมากตามการขยายตัวของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ จึงส่งผลให้บริษัทผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ต้องพัฒนาศักยภาพและปรับตัวเพื่อรองรับกับความต้องการนี้ ขณะที่ธุรกิจรับขนย้ายสินค้าในไทย และต่างประเทศ ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโต โดยบริษัทผู้ให้บริการต้องหาวิธีเพิ่มมูลค่า (ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา, 2560) อย่างไรก็ตาม ความสำ เร็จในการดำเนินธุรกิจต้ องขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ แต่ละรายที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้มากน้อยเพียงใด มีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานจากภาครัฐ

รวมทั้งการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลากหลายประเภท ซึ่งจะเป็นการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนชาวไทย และนักลงทุนจากต่างชาติจากการเติบโตตามการพัฒนาสาธารณูปโภคด้านคมนาคมและการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ


ธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น แผนโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ จะต้องให้ความสำคัญ ซึ่งในอนาคตอันใกล้จะเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญ และจะผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (Hub) ทางโลจิสติกส์ของอาเซียนและเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ระยอง และ ฉะเชิงเทรา ซึ่งถ้าผู้ประกอบการโลจิสติกส์ทุกภาคส่วนไม่ปรับตัวรับโอกาส อาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจ

โดยสรุปแล้วธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก สามารถที่จะกำหนดแนวทางการดำเนินงาน แต่ละมิติ ตามข้อมูลต่างๆ ที่ทางผู้เขียนรวบรวมมา ก็คือว่า

1.ข้อมูลทั่วไปพบว่า ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการในรูปแบบบริษัท (จำกัด) มีลักษณะการให้บริการของสถานประกอบการ เป็นผู้ให้บริการรับขนส่ง โดยเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้น เป็นคนไทย มากกว่าร้อยละ 50 ขนาดของกิจการ มีการจ้างงาน 10-50 คน และผู้ประกอบการได้รับผลทางบวกต่อมติเห็นชอบหลักการโครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561 อีกทั้งองค์กรมีการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวสู่โครงการพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก

2.การวิเคราะห์ระดับสมรรถนะหรือศักยภาพ ด้านโลจิสติกส์ ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์

2.1 มิติที่ 1 ด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร พบว่าผู้ประกอบกิจการให้ ความสำคัญต่อสมรรถนะหรือศักยภาพ ด้านการกำหนดกลยุทธ์องค์กร ระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญมากในระบบ ในการประเมิน และพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า และ มีระบบในการพัฒนาและประเมินพนักงาน ขณะที่ให้ความสำคัญปานกลางคือ การทำข้อตกลงกับลูกค้าหลัก และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันวางแผนของกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ และการทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน

2.2 มิติที่ 2 ด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ พบว่า ผู้ประกอบกิจการให้ความสำคัญต่อสมรรถนะหรือศักยภาพ ด้านการวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ ระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญมากในการพัฒนาหน่วยงานรับผิดชอบด้านโลจิสติกส์ และขั้นตอนการทำงานกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน และเป็นลายลักษณ์อักษร ขณะที่ให้ความสำคัญปานกลาง คือ การพิจารณาการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ความสามารถในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มของตลาด และความสามารถในการวางแผน และการปรับแผนการทำงานด้านโลจิสติกส์

2.3 มิติที่ 3 ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์ พบว่าผู้ประกอบกิจการให้ความสำคัญต่อสมรรถนะหรือศักยภาพ ด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์ ระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญมากในการพัฒนากิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ และประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดส่งสินค้า ขณะที่ให้ความสำคัญปานกลาง คือ ความสามารถในการให้บริการและต้นทุนค่าเสียโอกาส ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ และการบริหารจัดการความสามารถในการให้บริการที่เหลืออยู่

2.4 มิติที่ 4 ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ พบว่า ผู้ประกอบกิจการให้ความสำคัญต่อสมรรถนะหรือศักยภาพ ด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญมากในการกำหนดรหัสมาตรฐานสำหรับสินค้า และกระบวนการ ขณะที่ให้ความสำคัญปานกลาง คือ การนำระบบตรวจติดตามอัตโนมัติมาใช้ การใช้โปรแกรมในการจัดการข้อมูลทางด้านซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ และการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านซัพพลายเชน

2.5 มิติที่ 5 ด้านความร่วมมือกันระหว่างองค์กร พบว่า ประกอบกิจการให้ความสำคัญต่อสมรรถนะ หรือศักยภาพ ด้านความร่วมมือกันระหว่างองค์กร ระดับปานกลาง โดยให้ความสำคัญมากในการเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรกันและระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน ขณะที่ให้ความสำคัญปานกลาง คือ การเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือทางด้านโลจิสติกส์ระหว่าง องค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา


ดังนั้น ในตอนต่อไป ก็จะเป็นแนวทางว่าด้วยการต่อยอด เพื่อให้ผู้ดำเนินงานธุรกิจการให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก เกิดความยั่งยืนในลำดับต่อไป