กอนช.วาง 4 แนวทาง ’สกัด’ น้ำท่วมนิคมฯบางปู
มีการคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกหนักต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเป็นต้นไปทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งหาทางรับมือ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต่ำและพื้นที่ทางเศรษฐกิจอย่างนิคมอุตสาหกรรมบางปู วันนี้กอนช.มีการลงพื้นที่สำรวจจุดรับน้ำต่างๆ ไปติดตามจากคุณปัทมา เทพโพด
โดยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะรองผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สมเกียรติ ประจำวงษ์ ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหาและแผนงานการแก้ไขบริหารจัดการน้ำ ก่อนลงพื้นที่สำรวจเส้นทางแผนการระบายน้ำ ความพร้อมรองรับน้ำในจุดต่างๆ บริเวณสถานีสูบน้ำนิคมอุตสาหกรรมบางปู สถานีสูบน้ำคลองตำหรุ สถานีสูบน้ำสุวรรณภูมิ และพื้นที่โดยรอบที่จะเป็นจุดรับน้ำเพื่อระบายลงสู่ทะเล
เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า จากที่นิคมอุตสาหกรรมที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมในอดีตหลายแห่ง รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมบางปู ที่เพิ่งได้รับผลกระทบจากปริมาณน้ำท่วมขัง จึงได้ลงพื้นที่ครั้งนี้ได้ติดตามความก้าวหน้าการเตรียมแผนรับมือของการนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงความพร้อมของหน่วยงานเกี่ยวข้อง
โดยต้องจัดการระบบการระบายน้ำให้สอดรับจากตะวันออกตอนบนระบายสู่ทะเล การแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำที่จะเป็นอุปสรรค สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลางซึ่งมีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝนในช่วงนี้ที่จะเริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนกันยายน ต่อเนื่องถึงเดือนตุลาคมนี้
สำหรับน้ำเหนือ ขณะนี้แม้ฝนจะเริ่มมา แต่ทุกหน่วย ก็มีการพร่องน้ำไว้ประมาณ 20 ถึง 30% เพื่อรองรับน้ำฝน และได้สกัดเพื่อพร่องน้ำไปยังแม่น้ำบางปะกงที่ยังมีช่องว่าง อยู่
ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาได้ผ่านจุดพีคที่จังหวัดนครสวรรค์มาแล้วแต่ยังมีบางพื้นที่ในช่วงจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่อาจจะได้รับผลกระทบบ้าง โดยจังหวัดได้มีการแจ้งเตือนและกรมชลประทานเตรียมดึงน้ำออกซ้ายขวาเพื่อไม่ให้กระทบต่อกรุงเทพมหานครและพื้นที่ปริมณฑล
ด้านฝั่งตะวันออก ต้องปรับพื้นที่เพื่อรองรับฝนที่จะตกหลังช่วงวันที่ 10 เป็นต้นไป
ส่วนนิคมอุตสาหกรรมบางปู เบื้องต้น ต้องติดตั้งเครื่องสูบน้ำสำรองไว้ เพื่อรองรับปริมาณน้ำให้ได้ สิ่งกีดขวาง ถนนตัดผ่านทางน้ำ และเร่งเคลียร์ตอม่อที่ยังกีดขวางทางน้ำอยู่
ส่วนเดือนกันยายน นี้ ได้มีการแจ้งให้ทุกพื้นที่ลงเครื่องสูบน้ำประจำ และบางพื้นที่มีเครื่องสูบน้ำยังไม่ลงก็ขอให้ลงเครื่องสูบน้ำ
และแจ้งจำนวนต่างๆไปที่จังหวัด เพื่อให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยได้เป็นผู้ดำเนินการต่อไป