กลยุทธ์การลงทุนรายสัปดาห์ (11 ต.ค. 64)
คาดว่าจะพักฐาน แต่แนวโน้มหลักยังน่าจะขึ้นต่อได้แบบ sideways up ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (4-8 ตุลาคม) ตลาดหุ้นไทยฟื้นตัวได้พอสมควรตามที่เราคาดเอาไว้
โดยกระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดหุ้นแข็งแกร่งมากขึ้นตามสถานการณ์ความเสี่ยงด้านมหภาคของสหรัฐที่ลดลงหลังจากที่สภา congress เห็นชอบให้ขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐออกไปจนถึงต้นเดือนธันวาคม 2564 นอกจากนี้ การที่ OPEC+ ตัดสินใจยืนตามแผนที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมัน (400kbpd) แม้ว่าราคาน้ำมันจะวิ่งขึ้นมาแรงในช่วงนี้ ยังเป็นปัจจัยที่หนุนให้ตลาดน้ำมันวิ่งขึ้นต่อ และช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงานของไทยด้วย สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 ใหม่ยังทรงตัวอยู่ที่ประมาณ 10,000 ราย ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตลดลงอย่างเห็นได้ชัดสอดคล้องกับความคืบหน้าในการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19
ในสัปดาห์นี้ (11-15 ตุลาคม) เราคาดว่าดัชนี SET จะขยับอยู่ในช่วงแคบ ๆ โดย upside ในระยะสั้นจะถูกจำกัดด้วยความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้อของสหรัฐที่กลับมาอีกครั้ง ในขณะที่โมเมนตั้มของเศรษฐกิจอาจจะผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นเพียง 194,000 ตำแหน่ง ต่ำกว่า consensus ที่คาดไว้ที่ 5 แสนตำแหน่ง ในขณะที่ค่าจ้างรายเดือนเพิ่มขึ้น 4.6% YoY ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าการประกาศตัวเลข CPIs ของสหรัฐ, การเผยแพร่รายงานการประชุม FOMC และการปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกโดย IMF ในสัปดาห์นี้น่าจะทำให้ตลาดการเงินทั่วโลกผันผวน สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ความคาดหวังด้านบวกต่อการที่สามารถกระจายวัคซีนได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการกลับมาเปิดเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ และน่าจะช่วยจำกัด downside ของตลาดจากปัจจัยมหภาคภายนอกได้
ติดตามปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคสหรัฐ, การปรับประมาณการของ IMF และสถานการณ์ COVID-19
(0/-) ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ, รายงานการประชุม FOMC และ รายงาน WEO ของ IMF ในวันที่ 13
ตุลาคม จะมีการเผยแพร่ตัวเลข CPIs เดือนกันยายนของสหรัฐ โดย consensus คาดว่า headline CPI จะเพิ่มขึ้น 5.3% YoY และ core CPI จะเพิ่มขึ้น 4.0% YoY ซึ่งหมายความว่าเงินเฟ้อของสหรัฐยังค่อนข้างสูงอยู่ ส่วนในวันพุธกลางคืนตามเวลาท้องถิ่น จะมีการเผยแพร่รายงานการประชุม FOMC รอบวันที่ 22 กันยายน ซึ่งน่าจะมีสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับกรอบเวลาในการประกาศแผนลดขนาด QEในขณะเดียวกัน วันที่ 12 ตุลาคม IMF มีกำหนดจะปรับลดประมาณการ GDP โลกปี 2564 ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 6.0% เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ delta ส่งผลกระทบกับโมเมนตั้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าการปรับลดประมาณการของ IMF ไม่น่าจะส่งผลกระทบกับตลาดหุ้นมากนัก
(0) ปัจจัยภายในประเทศ: สถานการณ์ COVID-19 และน้ำท่วม เราคิดว่านักลงทุนน่าจะยังติดตามยอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 หลังจากที่ผลจากมาตรการ lockdown สิ้นสุดลง รวมถึงความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน และกระแสข่าวเกี่ยวกับการเปิดประเทศไทย แต่ส่วนที่ยังต้องระมัดระวัง คือพายุดีเพรสชั่น‘Lion Rock’ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในแถบทะเลจีนใต้ ซึ่งอาจจะเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้ประเทศไทยมากขึ้นในสัปดาห์นี้ และทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น
ยังคงแนะนำให้ซื้อสะสมในช่วงที่ตลาดผันผวน
ในขณะที่ดัชนี SET น่าจะพักฐานในระยะสั้นจากปัจจัยความไม่แน่นอนในตลาดโลกที่เกิดจาก
ปัจจัยมหภาคของสหรัฐ และการที่ราคาหุ้นในปัจจุบันสะท้อนการเปิดประเทศไประดับหนึ่งแล้ว แต่
เราคิดว่านักลงทุนน่าจะซื้อสะสมหุ้นต่อไป โดยเน้นหุ้นตามธีมการลงทุน 4Q64 ของเราอย่างเช่น กลุ่มที่จะได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการเปิดประเทศเพิ่มเติมในระยะต่อไป เรายังคงชอบหุ้นในกลุ่มธนาคาร, ขนส่ง และหุ้นบางตัวในกลุ่มสื่อ อย่างเช่น KBANK*, BBL*, AOT*,CPN* และ MAJOR* สำหรับหุ้นในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ เรายังคงมองว่าราคาน้ำมันดิบที่ขยับขึ้นมาในช่วงนี้ และ crack spread ที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลดีต่อหุ้นโรงกลั่นอย่างเช่น SPRC* และ ESSO*