AAV ปรับแผนระดมเงิน 1.4 หมื่นล้าน เพิ่มทุน 8 พันล้านหุ้น
AAV เพิ่มทุน 8 พันล้านหุ้น มูลค่า 1.4 หมื่นล้าน "เสนอขายแก่นักลงทุนในวงจำกัด -เสนอขายแก่ผู้ถือหุ้นเดิม -รองรับการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ" หวังนำเงินเพิ่มสภาพคล่อง -ซื้อหุ้นเพิ่มทุน ไทยแอร์เอเชีย คาดทำรายการแล้วเสร็จ ไตรมาส1/65
บริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ว่า คณะกรรมการ(บอร์ด)บริษัท ซึ่งประชุมวันที่ 19 ต.ค.2564 มีมติ อนุมัติแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทและบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (“ไทยแอร์เอเชีย) รวมเรียกว่า “กลุ่มบริษัทฯ”) และให้เสนอแผนการปรับโครงสร้างถือหุ้นต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ ดังนี้
1.อนุมัติ การเพิ่มทุนจดทะเบียนของ บริษัทฯ จากทุนจดทะเบียนเดิมจำนวน 485,000,000 บาท เป็นทุนจดทะเบียนใหม่จำนวน 1,285,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 8,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท ที่ราคาหุ้นละ 1.75 บาท มูลค่า 14,000 ล้านบาท
แบ่งเป็น ไม่เกิน 5,028,571,429 หุ้น เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด ในราคาหุ้นละ 1.75 บาท ได้แก่ AirAsia Aviation Limited (AAA) ไม่เกิน 4,457,142,857 หุ้น และ นักลงทุนรายใหญ่ซึ่งเป็ น บุคคลธรรมดาสัญชาติไทยจำนวน 6 ราย นไม่เกิน 571,428,572 หุ้น
ส่วนอีกไม่เกิน 1,714,285,714 หุ้น เสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) โดยมีอัตราส่วนการจัดสรรหุ้น 5.7625 หุ้นสามัญเดิมต่อ 1 หุ้นสามัญเพิ่มทุน (โดยเศษของหุ้นให้ปัดทิ้ง) ในราคาหุ้น ละ 1.75 บาท ทั้งนี้ การเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นของ บริษัทฯ ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่แต่ละรายถืออยู่ (Rights Offering) จะเกิดขึ้นหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในแก่บุคคลในวงจำกัดใแล้ว และบุคคลใน วงจำกัด มีสิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ของบริษัทฯ ตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ตนถืออยู่ในบริษัทฯ
คณะกรรมการกำหนดวันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่ม
ทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น (Record Date) ในวันที่ 16 ธันวาคม 2564 และวันจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท ในช่วงวันที่ 10 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 14 มกราคม 2565 (รวม 5 วันทำการ) อย่างไรก็ดี การ กำหนดสิทธิในการ จองซื้อหุ้นและได้รับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนยังมีความไม่แน่นอนจนกว่าจะได้รับอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
นอกจากนี้อีกไม่เกิน 1,257,142,857 หุ้น เพื่อรองรับการแปลงสภาพของหุ้นกู้แปลงสภาพ
คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเห็นว่าบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยการออกหุ้นสามัญ
เพิ่มทุน และหุ้นกู้แปลงสภาพ เพื่อเสนอขายให้แก่บุคคลในวงจำกัด (PP)และผู้ถือหุ้นเดิมตาม
สัดส่วนการถือหุ้น เนื่องจากบริษัทฯขาดสภาพคล่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส
โคโรน่า (Covid-19) เป็นระยะเวลายาวนาน และเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นในไทยแอร์เอเชีย
เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเป็นเจ้าของหุ้นในไทยแอร์เอเชียได้ทั้งหมด และนักลงทุนซึ่งจะเข้ามาลงทุน
จองซื้อหุ้นใหม่และหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัทฯ (PP) นั้น ก็เป็นบุคคลที่มีศักยภาพทางด้านเงินทุน
มีฐานะทางการเงินมั่นคง และมีความพร้อมในการชำระเงินเพิ่มทุน
ดังนั้นจึงเป็นแนวทางการระดมทุนที่มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนครั้งนี้ ซึ่งจะท าให้บริษัทฯ ได้รับเงินทุนตามจำนวนที่ต้องการในระยะเวลาอันสั้น และสามารถลดความเสี่ยงในการระดมทุนที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน และมีความผันผวนมากในปัจจุบัน
บริษัทฯ คาดว่าแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ และของไทยแอร์เอเชียนั้นจะแล้ว
เสร็จอย่างช้าไม่เกินไตรมาสแรกของปี 2565และบริษัทฯ คาดว่าแผนการปรับโครงสร้างการถือ
หุ้นของบริษัทฯ และของไทยแอร์เอเชียนั้นจะได้รับการตอบรับจากสถาบันการเงิน และนักลงทุน
ต่าง ๆ เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ สถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่บริษัท จำนวนประมาณ 3,900 ล้านบาท เพื่อให้บริษัทฯ สามารถเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของไทยแอร์เอเชีย จำนวนรวมประมาณ 20,115,789 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท) มูลค่ารวมทั้งสิ้น ประมาณ 3,900 ล้านบาท คณะกรรมการของบริษัทฯ ได้อนุมัติให้บริษัทฯ กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินจำนวนประมาณ 3,900 ล้านบาท โดย ไทยแอร์เอเชีย (บริษัทย่อยของบริษัทฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจสายการบิน (operating company)) เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้จากเงินเพิ่มทุนที่บริษัทฯ จะได้รับตามแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทฯ และไทยแอร์เอเชียในครั้งนี้
โดยภายหลังการเพิ่มทุนในครั้งนี้ บริษัทฯ จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชียในสัดส่วน ประมาณร้อยละ 69.2 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของไทยแอร์เอเชียภายหลังการเพิ่มทุน โดยไทยแอร์เอเชียจะนำเงินที่ได้รับจากการเพิ่มทุนจำนวนประมาณ 3,900 ล้านบาทไปชำระคืนหนี้ทางการค้าต่าง ๆ ให้กับกลุ่มบริษัทของ AirAsia Group Berhad (“AAGB”) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ AirAsia Aviation Limited ("AAA") โดยณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564ไทยแอร์เอเชียมีหนี้การค้าคงค้างกับกลุ่มบริษัทของ AAGB ประมาณ 4,182 ล้านบาทด