TTB ไตรมาส 3/64 กำไร 2,539 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 6.9%
TTB แจ้งงบไตรมาส 3/64 กำไรสุทธิอยู่ที่ 2,359 ล้านบาท ลดลง 6.9% เทียบไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้น 45.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่ 9 เดือนแรก คว้ากำไร 7,675 ล้านบาท ลดลง 13.5% เทียบปีก่อน
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TTB เปิดเผยว่า สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ปี 2564 บริษัทมีกำไรสุทธิหลังตั้งสำรองฯ และหักภาษีอยู่ที่ 2,359 ล้านบาท ซึ่งลดลงร้อยละ 6.9 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.7 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน สำหรับรอบ 9 เดือนปี 2564 กำไรสุทธิอยู่ที่ 7,675 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 13.5 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคิดเป็นอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น หรือ ROE ที่ร้อยละ 5.0
ธนาคารทหารไทยธนชาต ยังคงดำเนินธุรกิจอย่างระมัดระวังท่ามกลางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไปจากมาตรการ ผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ในการดำเนินธุรกิจที่เปราะบาง โดยให้ความสำคัญในภารกิจการรวมกิจการให้เสร็จสมบูรณ์ตามแผนธนาคารเติบโตสินเชื่อใหม่อย่างระมัดระวังและดำเนินการปรับโครงสร้างเงินฝากอย่างเหมาะสมเพื่อคงกลยุทธ์การเติบโตอย่างมีคุณภาพและสถานะทางการเงินให้แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตในอนาคต จากสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีความท้าทาย การเติบโตของรายได้หลักได้รับแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อซะลอตัวและสินเชื่อลดลง
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นจากความมีวินัยด้านค่าใช้จ่ายและการเร่งรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนธนาคารยังคงความรอบคอบในการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้วยการตั้งสำรองฯ ในระดับสูงสำหรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น การรวมกิจการเสร็จสมบูรณ์จะช่วยให้ธนาคารเริ่มการส่งมอบในการรับรู้ประโยชน์ด้านรายได้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้แก่ลูกค้า
ปรับโครงสร้างเงินฝากให้เหมาะสมสอดคล้องกับการบริหารสภาพคล่อง: ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปรับโครงสร้างงบดุลให้เหมาะสม ส่งผลให้โครงสร้างเงินฝากมีสัดส่วนที่เหมาะสมด้วยการลดเงินฝากต้นทุนสูงและทดแทนด้วยเงินฝากเพื่อออมที่มีคุณภาพและเงินฝากเพื่อทำธุรกรรม ณ สิ้นเดือน ก.ย.2564 เงินฝากรวมลดลงร้อยละ 3.5 ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (YTD) มาอยู่ที่ 1,325 พันล้านบาทสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างงบดุลให้เหมาะสมและการบริหารสภาพคล่องในภาวะสินเชื่อชะลอตัว อย่างไรก็ดี All Free เงินฝากเพื่อทำธุรกรมของลูกค้ารายย่อยขยายตัวต่อเนื่องยละ 35.1 YTD
ขณะที่เงินฝากออมทรัพย์เพิ่มขึ้นเช่นกัน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจัดกลุ่มลูกค้าใหม่ภายหลังการรวมกิจการเสร็จสิ้น โดยผลิตภัณฑ์เงินฝาก Ultra-saving บางส่วนถูกจัดประเภทไปเป็นเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำและบัตรเงินฝากลดลงร้อยละ 27.7 YTD อย่างไรก็ดี ธนาคารจะยังคงปรับโครงสร้างเงินฝากให้เหมาะสมด้วยผลิตภัณฑ์เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากเพื่อออมที่มีคุณภาพและรักษาสมดุลของระดับเงินฝากประจำเพื่อการบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
เน้นเติบโตพอร์ตสินเชื่อที่มีคุณภาพในช่วงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน: ส่งผลให้สินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือน ก.ย.2564 ลดลงร้อยละ 2.4 YTD อยู่ที่จำนวน 1,359 พันล้านบาท สินเชื่อบริษัทลูกค้าธุรกิจลดลงร้อยละ 6.4 YTD จากการชำระคืน ขณะที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจต่างประเทศขยายตัวปานกลางในช่วงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากสภาพธุรกิจที่ไม่เอื้ออำนวยและกลยุทธุ์การเติบโตอย่างระมัดระวัง ยอดสินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กรายใหม่ยังคงต่ำกว่าการชำระคืน ส่งผลให้สินเชื่อเอสเอ็มอีขนาดเล็กไม่รวมผลกระทบจากการจัดกลุ่มลูกค้าใหม่ยังคงหดตัว
ส่วนสินเชื่อลูกค้รายย่อยลดลงร้อยละ 1.8 YTD จากสินเชื่อเช่าซื้อลดลงร้อยละ 3.5 YTD เนื่องจากการชำระหนี้คืนสูงกว่ยอดสินเชื่อใหม่ ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิตปรับตัวลดลง อย่างไรก็ดี สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงขยายตัวปานกลางที่ร้อยละ 1.5 YTD ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดที่สูงขึ้น จากที่ธนาคารดำเนินการปรับโครงสร้างงบดุลอย่างเหมาะสมและคงกลยุทธ์เติบโตสินเชื่ออย่างมีคุณภาพ พอร์ตสินเชื่อสินเชื่อของธนาคารได้มีการเปลี่ยนแปลงและปรับไปยังกลุ่มสินเชื่อลูกค้ารายย่อย ปัจจุบันสัดส่วนสินเชื่อลูกค้ารายย่อยคิดเป็นร้อยละ 56 ของสินเชื่อรวม
การบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพและการปรับโครงสร้างงบดุลอย่างเหมาะสมช่วยลดผลกระทบจากแรงกดดันด้านรายได้: ด้วยการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ รายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2564 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.6 เทียบไตรมาสก่อน อยู่ที่จำนวน 12,577 ล้านบาท แม้อยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาลงและสินเชื่อชะลอตัว ส่งผลให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ลดลง 3 bps อยู่ที่ร้อยละ 2.95 ในไตรมาส 3 ปี 2564 ส่วนใหญ่มาจากอัตราผลตอบแทนเงินให้สินเชื่อลดลง อย่างไรก็ดี ด้วยการปรับโครงสร้างงบดุลให้มีความเหมาะสมและการบริหารต้นทุนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพช่วยลดผลกระทบและหนุนให้ต้นทุนทางการเงินปรับตัวดีขึ้น
ส่วนรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.0 จากไตรมาสก่อน อยู่ที่ 3,086 ล้านบาท จากรายได้ที่มีใช่รายได้หลัก ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิมีสัญญาณการพื้นตัวแม้ว่ากิจกรรมทางธุรกิจชะลอตัวจากการล็อกดาวน์บางส่วน หนุนโดยรายได้ค่าธรรมเนียมกองทุนรวม ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมแบงก์แอสชัวรันส์ค่อนข้างทรงตัวจากการลดลงของรายได้ค่าธรรมเนียมประกันสินเชื่อเช่าซื้อ ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมลูกค้าธุรกิจยังคงเติบโตต่อเนื่องจากค่ธรรมเนียมการให้สินเชื่อ ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า อยู่ที่ 15,663 ล้านบาท ในไตรมาส 3 ปี 2564
PPOP ในไตรมาส 3 ปี 2564 สะท้อนทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและการรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุน: รายได้จากการดำเนินงานได้รับแรงกดดันจากการเศรษฐกิจที่ถดถอยอย่างรุนแรงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นและลดลงต่อเนื่องร้อยละ 1.8 เทียบไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากการเร่งรับรู้ประโยชน์ด้านต้นทุนเพื่อที่จะเป็นเงินทุนสำหรับค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการและความมีวินัยด้านค่าใช้จ่าย สะท้อนอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ไม่รวมผลกระทบการปันส่วนราคาซื้อหลังจากการรวมกิจการของธนาคารธนชาต (PPA) ทรงตัวที่ร้อยละ 45 ในไตรมาส 3 ปี 2564
อย่างไรก็ดี อัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้คาดว่าจะยังคงอยู่ในเป้าหมาย เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรวมกิจการที่ยังเหลืออยู่ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2564 PPOP ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.8 จากไตรมาสก่อนหน้ามาอยู่ที่ 8,438 ล้านบาท
คงความรอบคอบในคุณภาพสินทรัพย์ท่ามกลางความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19: ด้วยการพิจารณาในหลายปัจจัยอย่างรอบคอบเพื่อรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบางจากผลกระทบของโควิด-19 TTB ยังคงดำเนินธุรกิจอย่างรอบคอบและดูแลคุณภาพสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดด้วยการตั้ง ECL อย่างเข้มงวดและพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการตั้งสำรองผ่าน Management Overay ในไตรมาส 3 ปี 2564 ธนาคารตั้งสำรองฯ เป็นจำนวน 5,527 ล้านบาท
โดยธนาคารยังคงตั้งสำรองในระดับสูง ในขณะที่รักษาระดับเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในอนาคตและบรรเทาผลกระทบจามาตรการช่วยเหลือสิ้นสุดลง ขณะที่สินเชื่อขั้นที่ 3 อยู่ที่จำนวน 44.11 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่ร้อยละ 2.98 ธนาคารยังคงปรับพอร์ตสินเชื่ออย่างต่อเนื่องและตัดหนี้สูญของสินเชื่อด้อยคุณภาพเพื่อลดความเสี่ยงเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้น