ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

หลังเช็คสิทธิ "ประกันสังคม" ม.33 ม.39 ม.40 แล้ว ผู้ประกันตนหลายคนยังคงเกิดปัญหาที่ว่า ระบบแจ้งว่า "ได้รับสิทธิ" แต่พอเช็คเงินในบัญชีกลับไม่มีเงินโอนเข้ามา แบบนี้ต้องแก้ไขอย่างไร? ชวนรู้คำตอบจากประกันสังคม พร้อมวิธีผูกบัญชีพร้อมเพย์ที่ถูกต้อง

ช่วงเดือน พ.ย.64 นี้ ผู้ประกันตน ม.33, ม.39, ม.40 ที่เคยยื่นทบทวนสิทธิเยียวยา ประกันสังคมเอาไว้ ต้องรีบตรวจสอบสิทธิ เช็คสิทธิ ประกันสังคมของตนเองด่วน เพราะสำนักงานประกันสังคมเริ่มทยอย "ประกาศผลทบทวนสิทธิ" ออกมาแล้ว

แต่รู้หรือไม่? ยังมีผู้ประกันตนบางคนพบปัญหาว่า "เงินเยียวยา" ไม่เข้าบัญชี ทั้งๆ ที่เช็คสิทธิแล้วพบว่าตนเอง "ได้รับสิทธิ"

กรณีแบบนี้ต้องแก้ไขอย่างไร กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะพาไปรู้แนวทางแก้ไขปัญหา รวมถึงรู้จักวิธีการผูกบัญชีพร้อมเพย์ที่ถูกต้อง ตามมาอ่านทางนี้!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

1. เช็คสิทธิ "ประกันสังคม" ได้รับสิทธิแล้ว ทำไมเงินไม่เข้า?

มีประชาชนหลายคนเข้าไปสอบถามคำถามลักษณะนี้ที่หน้าเพจเฟซบุ๊คของ "สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน" โดยทางเจ้าหน้าที่แอดมินเพจก็ได้ตอบคำถามเอาไว้ว่า ให้ผู้ประกันตนตรวจสอบบัญชีของตนเองก่อนว่าได้ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนแล้วหรือไม่? โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (กรณีนี้เฉพาะผู้ประกันตน ม.40)

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

  • การรับสิทธิเงินเยียวยาประกันสังคม กรณี ม.40 ผู้รับสิทธิต้องผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนให้เรียบร้อย ก่อนที่ถึงวันโอนเงินเข้าบัญชี 5 วันทำการ
  • หากผู้รับสิทธิผูกพร้อมเพย์หลังจากวันที่โอนเงินในระบบแจ้งไว้ แบบนี้จะต้องรอไปอีก 5 วันทำการ เพื่อให้ระบบจะประมวลผลดำเนินการโอนเงินให้ผู้ประกันตนใหม่
  • จากนั้นเมื่อระบบประมวลผลเสร็จ เงินถึงจะโอนเข้าบัญชีในอีก 1 สัปดาห์ถัดไป โดยจะโอนเงินให้ทุกวันพฤหัสบดี

ข้อควรรู้ : ระบบจะโอนเงินเยียวยาให้ผู้รับสิทธิในทุกสัปดาห์ (จนกว่าวงเงินจะครบตามสิทธิ) ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

แต่ถ้าพบว่าตนเอง "ได้รับสิทธิ" และเคยได้เงินเยียวยารอบแรกไปแล้ว (สำหรับผู้ที่สิทธิเยียวยา 2 เดือน) แต่ในการโอนเงินรอบสอง กลับพบว่าเงินไม่เข้าบัญชี กรณีแบบนี้ให้ผู้ประกันตนนำ Statement หรือสมุดบัญชีที่มีการปรับรายการเป็นปัจจุบัน แล้วนำสมุดบัญชีนั้นมาติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

 

2. วิธีผูกพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชน ทำแบบนี้!

การผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขบัตรประชาชนชน สามารถทำได้กับทุกธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่ ในที่นี้เราขอยกตัวอย่างวิธีผูกพร้อมเพย์ของ 3 ธนาคาร มาให้ทำความเข้าใจกันในเบื้องต้น ดังนี้

ธนาคารกสิกร : มีวิธีการผูกพร้อมเพย์ ดังนี้

  • โหลดแอพฯ K-Plus มาแล้วเปิดใช้งาน
  • เปิดหน้าบัญชี แล้วเลือกบริการอื่นๆ
  • เลือกพร้อมเพย์
  • เลือกลงทะเบียน/แก้ไข
  • เลือกลงทะเบียนบัตรประชาชน
  • จากนั้นกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หรือเลือกบัญชีแล้วกด ยอมรับเงื่อนไขและยืนยัน
  • หน้าจอจะแสดงผล ลงทะเบียนสำเร็จ

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

ธนาคารกรุงไทย : วิธีการผูกพร้อมเพย์ ทำได้ดังนี้

  • โหลดแอพฯ Krungthai NEXT แล้วเปิดใช้งาน
  • เลือก บริการธนาคาร
  • เลือกบริการ พร้อมเพย์
  • เลือกบัญชีแล้วกดไปที่ ผูกพร้อมเพย์
  • เลือกผูกด้วยบัตรประชาชน
  • กดยืนยันข้อมูล สำเร็จการทำรายการ

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

ธนาคารไทยพาณิชย์ : วิธีการผูกพร้อมเพย์ ทำได้ดังนี้

  • โหลดแอพฯ SCB Easy แล้วเปิดใช้งาน
  • เลือกเมนู สมัครพร้อมเพย์
  • จากนั้นกด ยอมรับเงื่อนไข และกด ถัดไป
  • เลือกบัตรประชาชน หรือเบอร์มือถือที่ต้องการ
  • เลือกบัญชีที่ต้องการจะผูกพร้อมเพย์ และกด ผูกบัญชี
  • ผูกพร้อมเพย์สำเร็จ กด เสร็จ เพื่อจบรายการ

ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 ได้รับสิทธิ แต่ทำไมเงินไม่เข้า?

3. บางคนมีสิทธิได้เยียวยา 2 เดือน แต่ทำไมเงินเข้าแค่ 1 เดือน?

จากกรณีที่เมื่อวานนี้ (3 พ.ย.64) เป็นรอบวันโอนเงินเยียวยาประกันสังคม ม.33 กลุ่มที่ยื่น "ทบทวนสิทธิ" ไปก่อนหน้านี้ แต่เกิดปัญหาว่า ผู้ที่มีสิทธิได้เยียวยา 2 เดือน (5,000 บาท) กลับได้เงินเข้ามาแค่เดือนเดียว (2,500 บาท) แบบนี้เกิดจากอะไร? ต้องแก้ไขอย่างไร? 

เรื่องนี้ ลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกประกันสังคม ได้ให้สัมภาษณ์กับกรุงเทพธุรกิจและตอบคำถามนี้ว่า 

"หากเป็นผู้ประกันตน ม.33 ที่อยู่ในพื้นที่ 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ที่จะต้องได้สิทธิการเยียวยา 2 เดือนนั้น ย้ำว่าต้องได้เงินเยียวยารวดเดียว 5,000 บาท หากใครได้ 2,500 บาท สามารถส่งเรื่องไปตรวจสอบได้ที่สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ของตน 

แต่ทั้งนี้ต้องเช็คสเตทเมนต์ของบัญชีตนเองด้วยว่า ก่อนหน้านี้เคยมีเงินเยียวยาก้อนแรกถูกโอนเข้าไปให้หรือยัง" รองโฆษกประกันสังคมกล่าว

ย้ำอีกครั้งว่าผู้ประกันตนทั้ง ม.33 ม.39 ม.40 ต้องเช็คให้ดีว่าตนเองเข้าข่ายอยู่ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้มหรือไม่ (แบ่งเป็น 13 จังหวัดแรก และ 16 จังหวัดหลัง) เพื่อดูให้ชัดเจนว่าสิทธิของคุณตรงกับเงื่อนไขการรับเงินเยียวยา 1 เดือน หรือ 2 เดือน