นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า ดำเนินงานมา 11 ปี ถือว่าได้ช่วยให้คนในจังหวัดระยองมีคุณภาพที่ดีขึ้น เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของสมาชิกทั้ง 5 บริษัทผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมฯ ซึ่งได้แก่ กลุ่ม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), กลุ่ม บริษัท เอสซีจี จำกัด (มหาชน), บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด, กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และ บริษัท โกลว์ พลังงาน จำกัด (มหาชน) รวมถึงการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้อุตสาหกรรมได้อยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืนในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ทิศทางต่อจากนี้ไป เมืองระยองจะเป็นเมืองที่นำเอาแนวคิดนวัตกรรมเทคโนโลยีมาพัฒนา ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนให้ EEC เป็นเมืองนวัตกรรม และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างพอเพียง และเกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นจะต้องช่วยดูแลระบบนิเวศ การพัฒนาต้องสมดุล ตอนนี้มี BCG โมเดล เซอร์คูลาร์อีโคโนมี หรือ แม้แต่กรีนอีโคโนมี ที่จะต้องอยู่ร่วมกันทั้งภาคการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยว จึงต้องเตรียมรองรับเมื่อประชาคมโลกคลายการหวาดกลัวจากโควิด เพื่อกลับมาใช้ชีวิตปกติ
“อุตสาหกรรมเมืองระยองงจะต้องคำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทั้ง การรักษาป่า ปลูกชายเลน ซึ่งขยะอุตสาหกรรมถือเป็นสิ่งหนึ่งที่ต้องบริหารจัดการให้ดี การบริหารจัดการขยะจะต้องใช้ความระมัดระวัง โดยใช้เทคโนโลยีเข้าไปทำลายขยะ เพราะบางส่วนเป็นพิษต้องย่อยสลายทันทีเพื่อไม่กระทบประชาชน ดังนั้น จึงต้องช่วยกันผลักดันให้ระยองเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ที่ได้รับการรับรองเป็นอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ 5 ในปี2565”
นายวรวิทธิ์ นามวงศ์ นายกสมาคมเพื่อนชุมชน กล่าวว่า การช่วยเพิ่มรายได้ ให้แก่ชุมชนถือเป็นจุดมุ่งหมายของสมาคมฯ ซึ่งปัจจุบันได้มีการพัฒนาและสร้างรายได้รวมกว่า 60 ล้านบาท โดยสมาชิกทั้ง 17 กลุ่มบริษัท ถือว่ามีส่วนช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่อง ที่ร่วมดูแลด่านหน้า อาทิ การมอบชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ โรงพยาบาลองค์กรส่วนท้องถิ่นชุมชน ส่วนความช่วยเหลือชุมชน ด้วยการมอบถุงยังชีพให้กับองค์กรส่วนท้องถิ่น จัดตั้งศูนย์พักคอย มอบทุนพยาบาลจำนวน 470 ทุน เพื่อกลับมาช่วยโรงพยาบาลในชุมชน เสริมทีมบุคลากรด่านหน้าแก้ปัญหาโควิดที่ผ่านมา
ในขณะที่ด้านสิ่งแวดล้อม ได้ส่งเสริมโมเดลทุกภาคส่วน ร่วมดูแลคุณภาพน้ำ โดยใช้เทคโนโลยีปรับปรุงคุณภาพน้ำ ตามแผน 5ปี สร้างแหล่งท่องเที่ยว ผลักดันระยองเป็นอุตสาหกรรมระบบนิเวศยั่งยืน ผสมผสานความรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้เกิดเศรฐกิจหมุนเวียน เป็นเศรษฐกิจสีเขียว ด้านการศึกษา ส่งเสริมให้สมาชิกชุมชนมีการศึกษาและมีรายได้เพื่อเลี้ยงครอบครัว เช่น เพื่อนชุมชนติวเตอร์มีนักเรียนร่วมทั้งหมด 27,000 คน และทุนการศึกษาปริญญาตรี-อาชีวศึกษาในจังหวัดระยองรวมกว่า 400 ทุน ด้านสังคม มีการพัฒนาบ้านโรงเรียน ที่เป็นมิตต่อสิ่งแวดล้อง ขยายสู่วัดดำเนินความร่วมมือกับท้องถิ่น อีโค่ทัวริสซึ่ม (Ecotourism) หรือการท่องเที่ยวเชิงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
นายมงคล เฮงโรจนโสภณ นายกสมาคมเพื่อนชุมชนท่านใหม่ กล่าวว่า ทิศทางการดำเนินงานในอนาคต จะร่วมผลักดันทุกภาคส่วนในมาบตาพุดคอมเพล็กซ์ ทั้งภาคผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ที่จะทำให้ระยองเป็นเมืองน่าอยู่คู่อุตสาหกรรม โดยปี2564 ที่สู่เขตควบคุมมลพิษและอยู่ในระดับที่4 ถือเป็นเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสุข โดยที่ผ่านมาโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน สู่ Eco Factory ทำให้ผ่านการรับรองเป็นโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศครบ 100% ตั้งแต่ ปี2562 และสามารถต่ออายุการรับรองครบทั้ง76 โรงงาน ในปี2564
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นส่วนสำคัญที่เร่งด่วนในภาคอุสาหกรรมต้องลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในงานประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 หรือ COP26 ว่าประเทศไทยพร้อมที่จะยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่ด้วยทุกวิถีทาง เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี2065
“สมาคมฯ พร้อมขับเคลื่อนแสดงเจตนารมณ์ เพื่อขับเคลื่อนประเทศและฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ ทั้งการส่งเสริมขาย สนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ กำหนดกลยุทธ์พิจารณาวิสาหกิจชุมชนทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาระบบบัญชีโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการพัฒนาสินค้าบรรจุภัณฑ์ เข้ามาพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งชุมชนและผู้ประกอบการสร้างรากฐานสู่ชุมชนเพื่อสู่อุตสาหกรรมระบบนิเวศอย่างยั่งยืน”