SCB การลงทุนสร้างมูลค่าเพิ่ม (9 ธ.ค. 64)
ธุรกิจธนาคารหลังโควิดจะเปลี่ยนไป - Covid-19 ทำให้การเติบโต และมูลค่าธนาคารทั่วโลกเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมูลค่าของธุรกิจธนาคารแบบดั้งเดิม (conventional bank) เป็นซื้อขายด้วยมูลค่าลดลง (discounted value)
แต่มูลค่าของธนาคารประเภท digital banking/fintech start-up จะถูกให้มูลค่าที่สูงขึ้น ทั้งนี้ซึ่วตั้งแต่ที่ COVID เริ่มระบาด มี fintech หลายแห่งเกิดขึ้นมา และเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมูลค่าของเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจดังกล่าวถูกตีมูลค่าไว้ในระดับที่สูงลิ่ว (figure 6) โดย P/BV ที่ 3-9 เท่า
จากวัฏจักรการฟื้นตัวสู่โหมดของการเติบโต
ธปท.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือธพ.หลายด้าน ทำให้ธนาคารสามารถจัดการ และผ่านช่วงที่ยากลำบากในด้านคุณภาพสินทรัพย์มาได้ และสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เรามองว่าที่ระดับนี้ SCB มีความโดดเด่นกว่าธนาคารอื่น ๆ ในแง่ของการพัฒนาแพลตฟอร์ใ และใช้ช่องทางที่หลากหลายเพื่อสร้างการเติบโต, และพลวัตรของการเติบโตจากการจัดโครงสร้างองค์กรในรูปของบริษัท holding
SCB ตั้งเป้าสัดส่วนรายได้จากธุรกิจใหม่ไว้ที่ 1/3
SCB แปลงสภาพตัวเองเป็นบริษัท holding ด้วยการ 1.) แยกธุรกิจสินเชื่อผู้บริโภคออกไปอยู่ภายใต้บริษัทในเครือ และผนึกพันธมิตร 2.) ขยายการลงทุนแบบ venture capital และเข้าลงทุนใน fintech unicorns เพื่อสร้างการเติบโตจากภายใน 3.) เข้าลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่ และผนึกพันธมิตร ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถแยกความเสี่ยง และจับมือกับพันธมิตรที่แตกต่างกันไปในแต่ละธุรกิจ, และขยายธุรกิจได้อย่างมีพลวัตร (figure 2-3) ทั้งนี้ ธนาคารคาดว่าธุรกิจใหม่จะสร้างรายได้คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของรายได้รวมทั้งเครือ ทั้งนี้ในการดำเนินกิจการของบริษัท holding ธนาคารจะโอนฐานเงินทุนจากธนาคารประมาณ 7 หมื่นล้านบาทไปที่บริษัท holding (SCB X) เพื่อซื้อบ.ลูกๆ ที่แยกตัวออกจากธนาคารมูลค่า 19.5 พันล้านบาท
Re-rate P/BV เป็น 1.2x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2565F ใหม่ที่ 163 บาท (จาก 132 บาท)
เราประเมินมูลค่าหุ้น SCB โดยใช้สองแนวทางเปรียบเทียบกัน ได้แก่ 1.) เพิ่ม P/BV ที่ 3.0x สำหรับธุรกิจ
digital banking ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้/กำไร 10% ของทั้งเครือภายในระยะเวลาสองปี ในขณะที่ใช้
P/BV 1.0x สำหรับธุรกิจ conventional banking (สร้างกำไร 90% ของทั้งเครือ) ทำให้ได้ P/BV เหมาะสม
ที่ 1.25x และ 2.) ใช้ ROE ถ่วงน้ำหนักของ 3 หน่วยธุรกิจ (10.5% สำหรับธนาคาร, 18% สำหรับสินเชื่อ
ผู้บริโภค, และ 20% สำหรับธุรกิจ fintech ใหม่) ทำให้ได้ PBV เหมาะสม (ROE/COE) ที่ 1.2x (COE ที่
10%) ในที่นี้เราใช้ P/BV ที่ 1.20x ทำให้ได้ราคาเป้าหมายปี 2565F ที่ 163 บาท และยังคงคำแนะนำซื้อ
Risks
การเติบโตรายได้ไม่เป็นไปตามประมาณการ, NPL เพิ่มขึ้น และกันสำรองเพิ่มขึ้น.