3 หุ้นใหญ่หลุดดัชนี เทขายมูลค่าวูบพันล้าน
คัดเลือกเข้า “ SET50 และ SET 100” มีผลในระหว่างครึ่งปีแรก 2565 (1มกราคม-30มิถุนายน2565) แต่การลงทุนในหุ้นดังกล่าวจะมีการลดและเพิ่มพอร์ตเพื่อให้อิงกับดัชนีล่วงหน้า ส่งผลทำให้หุ้นร่วงถูกเทขายและหุ้นที่อยู่ในกลุ่มได้รับน้ำหนักลงทุนมากขึ้น
ตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ประกาศรายชื่อประกอบไปด้วย ดัชนีSET50 มีหลักทรัพย์เข้าใหม่ 3 หลักทรัพย์ ประกอบด้วย บมจ. แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC),บมจ. บ้านปู (BANPU)และ บมจ. เงินติดล้อ(TIDLOR)
ดัชนีSET100มีหลักทรัพย์เข้าใหม่ 10 หลักทรัพย์ ประกอบด้วยบมจ. แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC),บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต (BLA),บมจ. บ้านปู เพาเวอร์ (BPP),บมจ. อีสเทิร์นโพลีเมอร์ กรุ๊ป (EPG),บมจ. เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) (KEX),บมจ. อาร์ ซี แอล(RCL),บมจ. แสนสิริ(SIRI),บมจ. สตาร์ค คอร์เปอเรชั่น (STARK),บมจ. เงินติดล้อ(TIDLOR)และ บมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA)
จำนวนหุ้นดังกล่าวสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจคือใน SET 50 และ SET 100 มีหุ้นที่ที่เป็นหุ้นเข้าใหม่และหุ้นที่ถูกถอดออก เนื่องจากกระแสการปรับหุ้นในดัชนีดังกล่าวมีการระบุเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปจกในอดีตที่วัดจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดในการคำนวณดัชนี (Full Market Capitalization)
ประกอบด้วย Market Capitalization, ValueTrade, Turnover ratio, Free Float เป็นต้น และเกณฑ์เชิงคุณภาพ (Quantitative) เช่น ไม่เข้าข่ายถูกเพิกถอน ไม่ถูกสั่งพักการซื้อขาย หรือมีปัญหาด้านงบการเงิน เป็นต้นเป็นการใช้มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่ปรับด้วยสัดส่วนผู้ถือหลักทรัพย์รายย่อยในการคำนวณดัชนี (Free Float Adjusted Market Capitalization) สำหรับทุกดัชนี
โดยนำข้อมูลหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติของตลาด ซึ่งหมายถึงหลักทรัพย์ที่เข้าข่ายมาตรการกำกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Surveillance measure list) มาประกอบการพิจารณา และจะไม่พิจารณาปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ช่วงเดือนที่เข้ามาตรการดังกล่าวตั้งแต่ Level 1 ขึ้นไป
รอบนี้ถูกจับตาหุ้นที่ถอดออก SET 50 บมจ.เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC)- บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ DELTA และบมจ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) และ ถอดออกจาก SET 100 DELTA – BJC – บมจ.พรีเซียส ชิพปิ้ง (PSL)
บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) – บมจ.โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) หรือ PTL –บมจ.พรีมา มารีน( PRM) – บมจ.อิชิตัน กรุ๊ป (ICHI) – บมจ. เอเชีย เอวิเอชั่น (AAV) – บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปนดิวซ์ ( NRF) และ บมจ.เถ้าแก่น้อย ฟู้ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง ( TKN)
หุ้นกระทบหนักสุดหนีไม่พ้น DELTA จากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงรุนแรงถึง 24 บาทมาปิดที่ 402 บาท หากนับตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นที่เคยอยู่ที่ระดับ 656 บาท (5 ม.ค.64) และขึ้นทำราคาสูงสุดของหุ้นที่ 748 บาท (11 ม.ค.64) จากที่เคยทำราคานิวไฮ 838 บาท (28 ธ.ค.63) ส่งผลทำให้ทั้งปีราคาหุ้นปรับตัวลดลงมาแล้ว 12.35 %
ด้วยลักษณะหุ้นที่มีฟลีโฟลตต่ำ (Free Float) ต่ำที่ 22 % ทำให้กลายเป็นหุ้นชี้นำดัชนีตลาดหุ้นไทยไปโดยปริยาย และราคาหุ้น DELTA เป็นปรากฎการณ์ปี 2563 ส่งผลทำให้ต้องมีปรับทบทวนมาตรการคำนวณหุ้นในกลุ่ม SET50 และ SET 100 ตามมา
บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทรีนีตี้ ในแง่ของผลกระทบต่อเม็ดเงินนั้นหากอ้างอิงแบบ Conservative ที่สุดคือดูเฉพาะเม็ดเงินรวมของกองทุนประเภท SET50 Index Fund ทั้งหมด 27 กองทุน (Morningstar) ซึ่งมีสินทรัพย์รวมกันทั้งสิ้น ณ ขณะนี้ 51,000 ล้านบาท จะคำนวณได้ว่า เม็ดเงินอย่างน้อยที่จะถูก Liquidate ออกมาจาก หุ้นขนาดใหญ่แต่ละตัว
กรณี DELTA มีมูลค่า 2,400 ล้านบาท BJC อยู่ที่ 600 ล้านบาท STA อยู่ที่ 200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าแรงขายที่เกิดขึ้นจริงน่าจะมากกว่านี้แน่นอน เพราะการคำนวณดังกล่าวยังไม่รวม Passive fund ในตลาดที่ Tracking กับดัชนีอื่นอีก เช่น SET100 เป็น ต้น