GFPT - ดีขึ้น แต่ยังไม่มากพอ (28 ธ.ค. 64)
เราคาดว่ากำไรใน 4Q21F และ 1H22F จะยังคงอ่อนแอ แต่กำไรใน 2H22F จะปรับตัวดีขึ้นเนื่องจาก (1) อุปสงค์ฟื้นตัว (2) ต้นทุนอาหารสัตว์ลดลง เพราะอุปทานเพิ่มขึ้นจากผลผลิตรอบใหม่ (3) ต้นทุน logistic ลดลงเนื่องจากคาดว่าปัญหาความคับคั่งของการจราจรทางน้ำที่ท่าเรือจะลดลง
เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี FY22F ขึ้นอีก 13% เป็น 1.1 พันล้านบาท และยังคงคำแนะนำถือ โดยปรับราคาเป้าหมายเป็น 13.10 บาท อิงจาก PER ปี FY22F ที่ 15x
ความเสี่ยงหลักคือต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
เมื่ออิงจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ราคาไก่ในประเทศเพิ่มขึ้น 28% QTD เป็น 37 บาท/กก. พนุนโดยอุปสงค์ฟื้นตัวตามการกลับมาเปิดร้านอาหาร ในขณะเดียวกัน ต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มขึ้นยังคงเป็นความเสี่ยงหลัก โดยราคากากถั่วเหลืองในตลาดโลกลดลง 12% จากระดับสูงสุดของปีนี้มาอยู่ที่ USD406/ตัน แต่ราคากากถั่วเหลืองในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 19.80 บาท/กก. (+4% QTD) เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน ราคาข้าวโพดในประเทศเพิ่มขึ้น 3%QTD เป็น 10.70 บาท/กก. ดังนั้น เราจึงคาดว่าผลประกอบการใน 4Q จะดีขึ้น qoq จากอัตรากำไรขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 8-9% จาก 5.4% ใน 3Q
ผลประกอบการจะยังคงอ่อนแอไปจนถึง 2Q22 แต่คาดว่าจะดีขึ้นใน 2H22
เราคาดว่าผลประกอบการใน 1H22F จะยังคงอ่อนแอเนื่องจาก (1) อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง เนื่องจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน และมีการใช้มาตรการป้องกัน COVID-19 ที่โรงงานของบริษัท (2) ต้นทุนอาหารสัตว์แพงขึ้น (3) ต้นทุน logistic สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าผลประกอบการใน 2H22F จะดีขึ้นเนื่องจาก (1) อุปสงค์ฟื้นตัว (2) ต้นทุนอาหารสัตว์ลดลงเพราะอุปทานเพิ่มขึ้นจากผลผลิตรอบใหม่ (3) ต้นทุน logistic ลดลงเนื่องจากคาดว่าปัญหาความคับคั่งของการจราจรทางน้ำที่ท่าเรือจะลดลง ทั้งนี้ เมื่ออิงตามรายงานของ USDA ปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองในปีเก็บเกี่ยว 2021/2022 จะเพิ่มขึ้น 4% เป็น 382 ล้านตัน
คงคำแนะนำ ถือ และปรับเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 13.10 บาท (เดิม 10.90 บาท)
เราปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี FY22F ขึ้นอีก 13% เป็น 1.1 พันล้านบาท หลังจาก (1) ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาไก่ปี FY22F จากเดิม 33 บาท/กก. เป็น 36 บาท/กก. (2) ปรับเพิ่มสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นปี FY22F จากเดิม 13.0% เป็น 13.5% ทั้งนี้ ราคาเป้าหมายของเราอิงจาก PER ปี FY22F ที่ 15x