ถอดสูตรปั้นคอนเทนท์ให้ปัง! บน TikTok สร้างเอ็นเกจเมนต์แบรนด์
2 ปีที่ผ่านมา ติ๊กต๊อก(TikTok) ถือเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มาแรงอย่างมาก ฐานผู้ใช้งานก็เปลี่ยนไปจากวัยรุ่น ขยับไปสู่กกลุ่มเป้าหมายที่กว้าง(Mass) สู่กลุ่มผู้ใหญ่ ทุกเพศทุกวัย จากการเสพสื่อบันเทิง สนุกสนาน ยังติดตามการสรุปข่าวสารได้มากขึ้น
ปัจจุบันแบรนด์ยังให้ความสนใจเข้าไปเกกาะกระแสหรือเทรนด์ที่เกิดขึ้นบนติ๊กต๊อก ไม่แค่เพื่อสร้างการรับรู้(Awareness) แต่ทำให้เกิดการขาย(Conversion) ได้ด้วย แต่การสร้างคอนเทนท์อย่งไรให้ประสบความสำเร็จ ผู้บริโภคสนใจ รวิน จิระกรานนท์ Creative Strategist TikTok มี คาถา สำคัญมาแบ่งปัน ได้แก่ “มโน” คือคิดอย่างไรให้ปัง “สุโข” คิดอย่างไรให้สนุก และ “ไชโย” การร่วมมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย
คาถาแรก “เทรนด์” ที่เกิดขึ้นเป็นติ๊กต๊อก ถือเป็นกุญแจที่ช่วยให้แบรนด์สินค้า รวมถึงครีเอเตอร์ สร้างสรรค์คอนเทนท์ให้ตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างดี และการอัพเดทเทรนด์ยังทำให้ไม่ตกขบวนด้วย ทั้งนี้ เทรนด์ที่เกิดบนติ๊กต๊อกมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.ไวรัลเทรนด์ ซึ่งเกิดในสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น สควิดเกม ที่ฮอตฮิตมาก แบรนด์และครีเอเตอร์ สามารถสร้างเนื้อหาเพื่อพูดคุย สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย 2.แพลตฟอร์มเทรนด์ ที่เกิดขึ้นบนติ๊กต๊อก จนเป็นที่นิยมอย่างยิ่งคือ การชาเลนจ์ทำสิ่งต่างๆ มีทุกสัปดาห์ หรือทุกเดือน หากแบรนด์สามารถปรับชาเลนจ์ให้สอดคล้องกับสินค้าและบริการ จะเพิ่มโอกสทางกกาารตลาดได้
3.การสร้างเทรนด์ใหม่ของตัวเอง(Hack the trends/ Own the trneds) เมื่อมีกระแสเกิดขึ้น แบรนด์สามารถดึงกระแสนั้นมาเป็นของตัวเอง แล้วขยี้ให้ขยายใหญ่ขึ้น กรณีศึกษาขนมขบเคี้ยว “เลย์” เมื่อเห็นผู้บริโภคทำชาเลนจ์นำมันฝรั่งทอดกรอบมาทำมันบด จึงต่อยอดกิจกรรมสร้างเทรนด์ให้ใหญ่กว้างขวางกว่าเดิม
“4 อย่างที่ต้องทำในการเล่นกับเเทรนด์ ต้องจับตาดูเทรนด์ให้เข้าใจกลุ่มเป้าหมายชอบคอนเทนท์แบบไหน และเข้าใจภาพกว้างคอนเทนท์แบบไหนให้ผลลัพธ์ดีต่อแบรนด์สินค้าและบริการ บางหมวดอาจเหมาะบางเทรนด์ บางหมวดอาจไกลแบรนด์เกินไป ควรเริ่มทำวิดีโอคอนเทนท์ที่เป็นออแกนิก สร้างกลุ่มเป้าหมา ผู้ติดตาม แล้วค่อยวิดีโอที่ต้องมีค่าใช้จ่ายดึงคนดู ทำให้เป็นกระแส เพื่อเข้าถึงคนหมู่มาก”
นอกจากนี้ ต้องไม่ “ตีกรอบไอเดีย” ปล่อยให้ความคิดสร้างสรรค์ทำงานเต็มที่ แต่การะทำให้คอนเทนท์ปังยิ่งขึ้น ยังมีเครื่องมืออื่นช่วยเสริมพลัง คือ คาถา 2 เสียง ที่มีทั้งเพลง ซึ่งทำให้มู้ดและโทนของวิดีโอคอนเทนท์เป็นตามต้องการ เช่น สนุกสนาน ตื่นเต้น หม่น การพากย์ ช่วยเล่าเรื่องที่มีความละเอียดซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น และเทคนิคใช้เสียง ASMR หรือเสียงเสมือนจริงที่ตอบสนองต่อประสาทสัมผัสอัตโนมัติ ถือเป็นเอ็ฟเฟกต์ทำให้คอนเทนท์ดึงดูดการรับชมมากขึ้น เช่น เสียงการกินอาหาร ครีเอเตอร์สายกินนิยมใช้แพร่หลาย
“เสียงคือหนึ่งในมิติสำคัญทำให้คอนเทนท์น่าสนใจมากขึ้น จากข้อมูลพบว่การใช้เสียงในคอนเทนท์ทำให้แบรนด์เชื่อมโยงกับผู้บริโภค และทำให้นึกถึง(Brand recall)มากถึง 800% เมื่อเทียบกับการมีแค่โลโก้ สโลแกน และเสียงทีมีเอกกลักษณ์ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ถึง 88% หากแบรนด์จับคู่ภาพกกับเสียงได้ลงตัว คอนเทนท์จะสมบูรณ์ขึ้น โดยติ๊กต๊อก มีคลังเพลงกว่า 1,000 เพลงให้แบรนด์และครีเอเตอร์เลือกใช้”
รวิน จิระกรานนท์
คาถาสุดท้ายกลยุทธ์ความร่วมมือกับครีเอเตอร์ ปัจจุบันผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดหรือ Influencer ทำให้กลยุทธ์ความร่วมมือกับครีเอเตอร์นิยมแพร่หลาย เพราะคนดังเหล่านั้นไม่เพียงช่วยสร้างการรับรู้(Awareness) แต่ยังกระตุ้นการตัดสินใจ(Consideration) ข่วยสร้างยอดขาย(Conversion) และมีความจงรักภักดีต่อแบรนด์(Loyalty)ได้ด้วย
“68% ของผู้บริโภคค้นหาข้อมูลสินค้าหลังจากครีเอเตอร์โพสต์คอนเทนท์ต่างๆบนติ๊กต๊อก สะท้อนให้เห็นถึงพลังที่มีอิทธิพลในการดึงผู้บริโภคมาสนใจซื้อสินค้าได้”
อดิศัย ธรรมร่มดี รองประธานกรรมการ ด้านช่องทางการขายออมนิชาเนลและการตลาดดิจิทัล ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล กล่าวว่า ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และโรบินสัน เริ่มใช้แพลตฟอร์มติ๊กต๊อกในการทำตลาดอย่างหนักต้นปี 2564 เพื่อสร้างเอนเกจกับคนรุ่นใหม่ วัยมิลเลเนียล แต่แพลตฟอร์มเติบโตเร็วมาก ทำให้เข้าถึงผู้ใช้งานกว้างขวางขึ้น
การสร้างสรรค์คอนเทนท์ของเซ็นทรัล บน Tiktok
สำหรับกลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์บนติ๊กต๊อกของเซ็นทรัลคือ นำเสนอความสนุกที่ย่อยและเข้าใจง่ายหรือ FunCroMoment เชื่อมโยงประสบการณ์ชอปปิงออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกันให้ผู้บริโภครับรู้ทั้งบริการ มีช่องทางช้อปออมนิชาแนล มีโซเชียลคอมเมิร์ซ มีผู้ช่วยชอปปิงส่วนตัว เป็นต้น
“เราใช้ติ๊กต๊อกเพื่อสร้างเอนเกจเมนต์ สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผผู้บริโภค และช่วยสร้างแบรนด์เลิฟ เพระคอนเทนท์ติ๊กต๊อกมีความเป็นกันเอง การลงทุนให้ผลลัพธ์ดี เพราะลูกค้าอยู่กับวิดีโอคอนเทนท์เรานานขึ้น เข้าใจสิ่งที่เราจะสือ จึงโฟกัสทำตลาดต่อ”