จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา วางรากฐานเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่โลกอนาคตยุคที่ 3

จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา วางรากฐานเศรษฐกิจไทย ก้าวสู่โลกอนาคตยุคที่ 3

โลกธุรกิจที่กำลังถูก Disrupt อย่างหนักจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนลยี และสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสุดพลิกพันจากโรคระบาดโควิด-19 การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง คือ หนึ่งในหนทางที่จะพาทุกคนปรับตัว พาธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับโลกธุรกิจในยุคใหม่นี้

บนเวทีงานสัมมนาออนไลน์ Chula Masterverse 2022 Meeting Business Masters in the Metaverse Era จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา" ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ หรือ บิทคับ กล่าวในหัวข้อ มองไปข้างหน้ากับเทคโนโลยีแห่งอนาคต ทั้ง AI  Blockchain และ Metaverse กับบทบาทสำคัญทางธุรกิจของเทคโนโลยีเหล่านี้ว่า  ในวันนี้โลกอนาคตกำลังยุคที่ 3 ในอีก 10 ปีข้างหน้า หรือเรียกว่า Web 3.0 คือ  การพัฒนาบนหลายๆ เทคโนโลยีแห่งอนาคตร่วมกัน ทั้ง AI  Blockchain  BigData AR VR  Metaverse NFT  Cryptocurrency  และ IoT

“ตอนนี้เราเริ่มเห็นประโยชน์การเก็บเดต้าโดยใช้ระบบเอไอมาประมวลผล และถูกจัดเก็บในระบบดีเซ็นทรัลไลซ์ ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้สามารถนำเดต้ามาใช้ประโยชน์และตรวจสอบร่วมกันได้ ซึ่งจะไม่ใช่แต่ภาพและเสี่ยง แต่หลังจากนี้จะเป็น โฮโลแกรม เช่น AR หรือ VR  มองว่า อาจจะเร็วกว่า 5 ปีข้างหน้า น่าจะเห็นทุกคนมีอวาต้าของตนเองที่เก็บ DNA ในบล็อกเชน นี่คือ Web 3.0 ที่ไทย ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า และการพัฒนาจะยิ่งรวดกว่า 100 ปีที่ผ่านมา”  

ตลอด 2-3 ปีที่ผ่านโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และโควิด -19 เป็นตัวเร่งในหลายวงการ เศรษฐกิจยุคดังเดิมยุคเก่าได้รับผลกระทบ แต่เศรษฐกิจยุคใหม่ยังเติบโตได้มหาศาล และที่ผ่านมาไทยพลาดมาแล้วในยุคWeb. 1.0 และ Web 2.0 มาแล้ว เพราะกลัวที่จะเปลี่ยนแปลง  


"จิรายุส" กล่าวว่า แต่สำหรับ บิทคับ เห็นโลกอนาคตที่เป็นดิจิทัลอีคอนอมี จึงต้องมีกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาวางโครงสร้างพื้นฐานของโลกดิจิทัล เพื่อสร้างธุรกิจอีกมากมายบนโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ให้เกิดการจ้างงานและดึงจีดีพีไทยขึ้นอีกมหาศาล

"บิทคับ" จึงพยายามพัฒนาประเทศไทยบนเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐานของโลกอนาคตในยุค 3.0 ขึ้นมา เช่น ดีเซ็นทรัลไลซ์แฟลตฟอร์ม ปัจจุบันถือว่าสำเร็จแล้ว และกำลังพัฒนาไฟแนนซ์เชียลแฟลตฟอร์ม การโอนเงินบนคริปโทเคอเรนซีและบล็อกเชน ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวงการการเงินได้ไทย 

“เรามุ่งพัฒนาโคงสร้างพื้นฐานสิ่งเหล่านี้ที่เป็นของคนไทย ก่อนที่ต่างชาติจะมาเป็นเจ้าของและให้บริการคนไทย เงินก็จะไหลออกนอกประเทศ ภาษีก็ไม่ต้องจ่าย  เราพยายามวางเป้าหมายในโลกของวางเป้าหมายเป็น National  Champions ของคนไทยบ้าง เพื่อไปบุกประเทศอื่นๆ และนำเงินเข้าประเทศ เหมือนแกร็บของ มาเลเซีย  โกเจ็กของอินโดนีเซีย  และแอปเปิ้ลของสหรัฐ”

ขณะที่ NFT  และ คริปโทเคอเรนซี่   ภาคธุรกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ได้


"จิรายุส"  กล่าวว่า  หลังจากปีนี้เป็นต้นไป  NFT กำลังเติบโตขึ้นได้เหมือน บิทคอยน์และอีธีเลียม ที่เติบโตขึ้นมาในเมื่อ 8-10 ปีที่ผ่านมา   และหาก เมตาเวิร์มา สร้างโมเดลธุรกิจใหม่แบบ 360 องศา เชื่อกันระหว่าง 3 โลก  แก่ โลกยุคเดิม โลกอีคอมเมิร์สดิจิทัล โลกเมตาเวิร์ส  จะมีแคมเปญการตลาดมากขึ้น และจะเปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหมาได้ ตอนนี้เทคโนโลยีพร้อมแล้ว อยู่ที่ว่า เราจะมีจิตนาการให้ไปทางไหน

NFT คือ บล็อกเชนที่ทำให้สิ่งที่อยู่ตัวรอบตัว สามารถมีมูลค่าขึ้นมาได้  ไม่ว่าจะเป็น  ประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ แบรนด์ดิ้ง ศิลปะ และทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนสิทธิได้  จะเข้ามาทำให้เกิดโมเดลธุรกิจใหม่ ปฏิบัติในหลายวงการ  เช่น   เล่นเกม เรียน ออกกำลังกาย ฟังเพลง ดูโฆษณา แล้วได้เงิน  เพื่อที่มาขายเหรียญต่อทำกำไร ให้คนที่มีเงินแต่ไม่มีเวลา  จะสร้างบิซิเนสโมเดลใหม่ๆ ที่เรียกว่า “คริปโทอีคอนอมี” 

ยกตัวอย่างเช่น บิทคับ ร่วมกับ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์  สร้าง NFT ยกระดับเวทีนางงาม  ทำให้ตอนนี้มิสยูนิเวิร์ส โลกและฟิลิปปินส์ติดต่อมาให้ทำ NFT เหมือนในไทย  ดังนั้น NFT สามารถเปลี่ยนต้นทุนให้เป็นรายได้  เช่น เอาการ์ดมาแลกรีดีม เป็นโมเมนต์ต่างๆ ได้บัตรจับมือหรือทานอาหาร เพื่อกระตุ้นยอดขาย จากสิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ 

ซีอีโอต้องเปลี่ยนรับโอกาส ในโลกอนาคตยุคที่ 3 
"จิรายุส"  แนะว่า ภาคธุรกิจ ควรปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงอีก 10 ปีข้างหน้า เมื่อการเปลี่ยนแปลงยิ่งเร็วและแรง โอกาสจะยิ่งมาก  แต่ อาจเป็นความเสี่ยงได้สำหรับซีอีโอที่ยึดติดในโลกยุคเดิม ก็จะเกิดการเปลี่ยนถ่ายของโอกาสตามมา 
ดังนั้น ซีอีโอในโลกยุคใหม่ ยังคงมีหน้าที่มองเห็นโลกอนาคต คือ   เห็นว่าเงินเปลี่ยนไปในกระเป๋าไหน รู้ว่ากระแสลมกำลังไปทางด้านไหนก็ไปทางด้านนั้น ไม่จำเป็นต้องสวนกระแสลมที่เร็วและแรง  


สำหรับคนในองค์กร ต้องมีคุณสมบัติ 3 สิ่ง คือ business expertise  technology expertise  Creative expertise  เมื่อ3 คุณสมบัติรวมกัน คือสิ่งที่กูเกิลเรียกว่า  "Smart Creative"  ซึ่งซีอีโอต้องเอาคนเก่งที่สุดในองค์กรไปหาโอกาสใหม่ สร้าง S  Curve ใหม่ๆ ตลอดเวลา อย่าเอาคนเก่งๆ มาแก้ไขปัญหาในองค์กร และอย่าให้องค์กรแก่ตามลูกค้า  

และย้ำว่าสำคัญสำหรับโลกอนาคตอย่างมาก เป็นการพัฒนา Skillset ที่ไม่ใช่ IQ หรือ EQ แต่เป็น AQ คือความสามารถUnlearn สิ่งเก่า ที่เคยประสบความสำเร็จในอดต  และ Relearn พร้อมเรียนรู่สิ่งใหม่ ปรับตัวและความเปลี่ยนแปลงได้ดี