ธปท.จ่อออก ‘ไฟแนนเชียลแลนด์สเคป’กรีนไฟแนนซ์ 5 ด้าน หนุนแบงก์ตระหนักด้าน ESG
ธปท.เร่งแบงก์ให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม ESG มากขึ้น ผ่านการปล่อยกู้ และให้ดอกเบี้ยที่เหมาะสม หวังสร้างแรงจูงธุรกิจหันสู่กระแสESG จ่ออกไฟแนนเชียลแลนสเคป เกี่ยวกับกรีนไฟแนนซ์5 ด้านหวังแบงก์ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ESGมากขึ้น
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในด้าน Green หรือ ESG ถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่
ทั้งนี้มองว่า มี 3 ด้านที่สังคมต้องตอบโจทย์ให้ได้ คือ สังคม ธรรมภิบาล และสิ่งแวดล้อม หรือ ESG
สำหรับบทบาทของธปท. คือการให้สถาบันการเงินรับผิดชอบต่อลูกหนี้ ต่อลูกค้า ในเรื่องไม่ให้ ลูกค้าก่อหนี้สินล้มพ้นตัว และด้านธรรมภิบาลเช่นเดียวกัน ที่อยากเห็นคณะกรรมการธนาคาร สถาบันการเงิน และผู้ที่เกี่ยวกับใช้บริบทด้านธรรมภิบาลในการบริหารจัดการ ซึ่งเหล่านี้ ต้องทำควบคู่กับ สิ่งแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อมที่มองว่าเป็นสิ่งสำคัญ และใกล้ตัวมาก โดยการประชุมของทั่วโลกมีการให้ความสำคัญกับด้านสิ่งแวดล้อมและมีการตกลงร่วมกัน ที่จะวางแผนการจะทำอย่างไรให้ลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นขึ้น ดังนั้นผลกระทบตรงนี้เป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ ขณะเดียวกันพบว่าหากดูความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความเสี่ยง 5 อันดับแรกของโลก เช่นการเกิดภูเขาไฟใต้ทะเลทำให้เกิดสึนามิ หรือโลกร้อนที่มากกว่าคาด ล้วนเป็นเหตุการณ์ที่สะท้อนความล้มเหลวของการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
หากดู ด้านสิ่งแวดล้อมของไทย ไทยถูกจัดอันดับ 9 จาก 180 ประเทศ ที่มีความเปราะบางด้านเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติมากที่เกิดขึ้นบ่อย ดังนั้นด้านเศรษฐกิจประเทศไทยได้รับทั้งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากผลกระทบที่เกิดขึ้น
โดยเฉพาะผลกระทบทางอ้อมที่ไทยได้รับผลกระทบ จากมาตรฐานของต่างประเทศที่ออกมา หรือ Transition Risk โดยหลายประเทศมีการออกมาตรการที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในยุโรปที่มีการออก CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism ซึ่งเป็นมาตรการที่คล้ายกับการจัดเก็บภาษี โดยระบุว่าหากประเทศ ที่ดำเนินการด้านภาวะแวดล้อม จะถูกเก็บภาษีที่สูงขึ้น เหล่านี้คือผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้น
ซึ่งผลกระทบทั้งหมด จะกระทบต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของประเทศ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมหลัก 3 ด้าน ทั้งภาคเกษตร ภาคการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ภาคเกษตร ที่เกิดผลกระทบจากภัยแล้ง ภัยธรรมชาติ เหล่านี้กระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและที่อยู่อาศัย
ดังนั้นต้องหาโอกาสจากวิกฤตให้ได้ ในการทำเกษตรสมัยใหม่ ช่วยกันเพิ่มมูลค่าทางสินค้า เพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยหลุดจาก ความเสี่ยงสูง ผลตอบแทนต่ำ หรือ High Risk Low Return ให้ได้
ในภาคการเงิน ต้องยอมรับว่าภาคการเงิน เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญเพื่อทำให้เศรฐกิจไปสู่ความยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำต่างๆให้เข้าถึงบริการทางการเงิน คือการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อมาตอบโจทย์ทางการเงิน ด้วยราคาที่เหมาะสม
ดังนั้นการมีภาคการเงินที่เป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจ และเพื่อตอบโจทย์ระยะยาวมากขึ้น ดังนั้นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม คำนึงถึงประโยชน์ระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เป็นฟันเฟือนที่สำคัญที่สุด
ในมุมการลงทุนต้องเปลี่ยนไปจากเดิม จากการมองในภาพระยะสั้น เป็นระยะยาวมากขึ้น การลงทุนในตลาดการเงินปัจจุบัน เน้นลงทุนด้าน กรีน ESG มากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทไหนมีเป้าหมายในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ net zero หรืออยู่ใน Dow Jones Sustainability ก็จะมีโอกาสสูง ในการหาฟันดิ้ง หาเงินทุนระยะยาว และหานักลงทุน และระดมทุนได้ถูกกว่าด้วย ดังนั้นในฐานะผู้กำกับดูแล ก็พยายามหาแนวทางในการสนับสนุนให้ภาคการเงินตระหนักและให้ความสำคัญด้าน ESG มากขึ้น
หลายประเทศมีการให้ความสำคัญเกี่ยวกับกรีนไฟแนนซ์ มีการจูงใจด้วยดอกเบี้ย พิเศษ หรือการให้ LTV หรือการให้สินเชื่อของหลักประกัน ที่จะให้อัตราพิเศษ ที่ใช้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถเป็นต้น
นอกจากสถาบันการเงินที่ให้แรงจูงใจส่วนนี้แล้ว ทั่วโลกยังมีการออกกรีนบอนด์ ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างยุโรป ปัจจุบันมีการออกแบบหุ้นกู้ที่มีความหลากหลายมากขึ้น
เช่น sustainability link bonds ซึ่งเป็นตราสารหนี้ ที่ให้ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับเป้าหมาย หากออกแล้วสามารถพิสูจน์ได้ว่าธุรกิจไปทางกรีนได้ ก็สามารถลดดอกเบี้ยตราสารหนี้ลงได้ แต่หากทำไม่สำเร็จ จำเป็นต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้นักลงทุน เหล่านี้คือความเชื่อมโยง เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคธุรกิจในการออกพันธมิตรที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม
ขณะที่ภาคการเงินเองก็ต้องให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ในการตัดสินใจและดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการให้สินเชื่อด้านกรีนมากขึ้น ด้วยดอกเบี้ยที่เหมาะสม และสนับสนุนเทคโนโลยีและธุรกิจสีเขียว
ซึ่งการสร้างแรงจูงใจอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อมาตรฐานและประโยชน์ กับนักลงทุนในการตัดสินใจ เพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงในการตัดสินใจลงทุนธุรกิจนั้นๆด้วย ซึ่งภาคการเงินต้องให้ความสำคัญด้านนี้มากขึ้น
ในส่วนของธปท. มีพันธกิจที่ชัดเจน ที่จะสนับสนุนเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ที่ต้องตอบโจทย์ระยะยาว ภาคธุรกิจ ประชาชนต้องอยู่รอด ดังนั้น ESG ในฐานะผู้กำกับดูแลต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ และต้องผลักดันให้ภาคการเงินประเมินความเสี่ยง เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม และยึดเรื่องนี้เป็นด้านสำคัญ และเป็น culture ที่ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญ และให้กิจกรรรมต่างๆเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
ฉะนั้นในช่วงที่ผ่านมา ธปท.มีการร่วมมือกับสถาบันการเงินหลายรูปแบบ และเดือนหน้าจะมีการออก ภูมิทัศน์ทางการเงินในอนาคต หรือ Consultation paper financial Landscape ซึ่งจะมีกรีนไฟแนนซ์อยู่ด้วย ซึ่งจะมี 5 ด้าน ในการผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม
เรื่องแรก ที่ธปท.อยากเห็น คือการผลักดัน ในการจำแนกธุรกิจให้ชัดเจน กลุ่มไหนคือกลุ่มเขียว และกลุ่มไหนไม่ได้เป็นมิตรกับส่งแวดล้อม หรือ Green toxonomy เพื่อจำแนก และจัดสรรเงินทุนไปสู่กิจกรรมที่คิดว่า ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจที่อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยน สามารถปรับเปลี่ยนและปรับตัวได้เหมาสม สอดคล้องกับบริบทของไทย
เรื่องที่สอง การกำหนดมาตรการการเปิดเผยข้อมูลของสถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินแสดงความมุ่งมั่น ในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน สอดคล้องกับมาตรฐานสาขา ทั้งข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ จะช่วยให้นักลงทุนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ตัดสินใจได้ดีขึ้น
เรื่องที่สาม คือการส่งเสริมให้สถาบันการเงิน มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมจริงจังและเป็นระบบมากขึ้น หรือ Internalization of Environmental Risks โดยการออกแบบโปรดักท์ ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่สะท้อนความเสี่ยง และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจ ปรับตัวและลดธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์และนำไปสู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ด้านที่สี่คือ ต้องหามาตรหรือแรงจูงใจที่เหมาะสม หรือ Incentives โดยมีกลไกที่จะลดภาระหรือต้นทุนให้กับสถาบันการเงิน และภาคธุรกิจ เพื่อเร่งการปรับตัว ผ่านเรื่องต่างๆโดยเพิ่มโอกาสโดยเฉพาะเอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น ปรับตัวได้ดีขึ้น และคำนึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
และด้านที่ห้า คือการสร้างฐานความรู้ ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม หรือ Copacity Building เพิ่มศักยบุคลากรทางการเงิน ให้เข้าใจ เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆเพื่อช่วยเหลือกับเรียลเซกเตอร์อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแผน 5 ด้านที่จะอยู่ในไฟแนนเชียลแลนสเคป
ซึ่งเป็นบทบาท ที่ธปท.หวังว่าจะเป็นฟันเฟือนตัวหนี่งที่ผลักดันให้เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซี่งเรื่องนี้ จะต้องบูรณาการร่วมกันกับทุกภาคส่วนคงไม่ใช่ แค่ธปท.ที่จะผลักดันเรื่องนี้ แต่ต้องอาศัยภาคการเงิน ภาคธูรกิจ ประชาชนที่จะช่วยกัน มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อไปข้างหน้าในด้าน ESG
สุดท้ายมองว่าด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องจำเป็นและจริงจัง และเร่งด่วน สำคัญที่สุด ประเทศเราต้องการบุคลากรที่ผลักดันเรื่องนี้ ไม่ว่าจะอยู่อาชีพอะไรก็ตาม ให้ความสำคัญกับ ESG มากขึ้น เพราะความเสี่ยงนี้ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด”