ยังไม่มีข้อมูลใหม่ มองตลาดยังพยายามปรับพอร์ตรับการขึ้นดอกเบี้ย
แถลงการณ์ส่วนใหญ่ของเฟดเป็นไปตามที่ตลาดคาด ทั้งนี้ใจความของแถลงการณ์ส่วนใหญ่ไม่ได้มีข้อมูลใหม่และเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์
ซึ่งรวมทั้งการเริ่มขึ้นดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. แต่ยังคงไม่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับแผนการในการปรับลดงบดุล ทั้งช่วงเวลา, ขนาด รวมถึงรายละเอียดอื่นๆ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวผันผวนจากบวก 2-3% ในช่วงก่อนการแถลงข่าว จากนั้นปรับตัวลดลง ก่อนฟื้นตัวขึ้นมาปิดตลาด ติดลบเล็กน้อย ทั้งนี้เรามองนักลงทุนผิดหวังที่ประธานเฟดไม่พยายามส่งสัญญาณในเชิงผ่อนคลายหรือช่วยลดความกังวล ขณะที่การออกแถลงการของเฟด ในรอบนี้ที่เริ่มมีการพูดถึง การลดงบดุล เป็นความเคลื่อนไหวที่ทำให้ตลาดระยะสั้นอาจตอบรับเชิงลบ อย่างไรก็ตามเรามองความผันผวนในรอบนี้จะไม่ได้แรงหรือสร้างความตระหนกให้กับตลาดเช่นในช่วงที่ผ่านมา และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องคือการปรับพอร์ตรับวัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งยังคงเป็นทิศทางบวกต่อผลตอบแทนพันธบัตรและหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ทั้ง BBL, KBANK และ SCB โดยเฉพาะ KBANK ที่ยัง Laggard ในกลุ่มธนาคารใหญ่
SCC เตรียมนำบริษัทลูกด้านปิโตรเคมี (SCG) เข้าตลาด แต่คาดไม่บวกเหมือนตอน IPO บรรจุภัณฑ์ (SCGP) SCC รายงานกำไร 8.3 พันล้านบาท +22% QoQ, +3% YoY แต่ต่ำกว่าเราคาด 17% และต่ำกว่าตลาดคาด 5% จากกำไรสต็อคน้ำมันที่ต่ำคาด รวมถึงกำไรจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ต่ำคาด แนวโน้มกำไรในระยะสั้นจะยังได้รับแรงกดดันจากต้นทุนแนฟทาที่ปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน ทั้งนี้บริษัทมีแผนแยกบริษัทลูก (spin-off) ด้านปิโตรเคมี (SCG) เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลท. อย่างไรก็ตามเรามองผลดรจะไม่เหมือนตอน SCGP เนื่องจากระดับ PER ของธุรกิจปิโตรเคมีที่ใกล้เคียงกับ SCC ทำให้หลังการจดทะเบียน จะได้รับผลกระทบจากสัดส่วนการถือหุ้นที่น้อยลงที่มีต่อกำไร (ซึ่งต่างจาก SCGP ที่อยู่ในธุรกิจที่ PER สูง ทำให้มูลค่าของหุ้นลูก เพิ่มขึ้น หักล้างกำไรที่ลดลงตามสัดส่วนการถือหุ้น)
เราปรับลดราคาเหมาะสมเหลือ 412 บาท และปรับคำแนะนำลงเป็นถือ (จากซื้อ) บริษัทประกาศจ่ายปันผลเป็นเงินสด 10 บาท XD 7 เม.ย.65
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง การเปิดประมูลโครงการขนาดใหญ่ บวกต่อ CK, STEC, ITD, UNIQ 2) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ ตลาดเก็งกำไรการเข้าสู่ธุรกิจใหม่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล และผลประกอบการปี 2564 ที่น่าจะเห็นการจ่ายปันผลในระดับที่ดี อย่างไรก็ตามยังมีความไม่ชัดเจนของภาพรายได้ปี 2565 อีกมาก การเก็งกำไรจึงควรกำหนจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง KGI, ASP, CGH, FSS 3) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 4) กลุ่มบันเทิง ผลประกอบการมีแนวโน้มฟื้นตัวจากงบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 5) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ SFT, WFX, CV, UBE, VPO, CPI, TOP, GJS, RAM, IND
ภาพรวมกลยุทธ์: ตลาดมีแนวโน้มตอบรับเชิงลบในระยะสั้น แม้ตลาดไม่คาดหวังรายละเอียดหรือข้อมูลใหม่ แต่นักลงทุนมีแนวโน้มผิดหวังที่ประธานเฟดไม่มีการส่งสัญญาณผ่อนคลาย ขณะที่นักลงทุนพยายามจะตีกรอบผลกระทบของมาตรการต่างๆเข้าไปในราคา ภาพรวมเรายังมองการเกิด rotation จากการขายลดกลุ่มผู้ชนะจากโควิด (อาทิ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์) และหมุนไปยังกลุ่มที่ปลอดภัยหรือ Valuation ต่ำ รวมทั้งที่ได้ประโยชน์จากวัฏจักรดอกเบี้นขาขึ้น //หุ้นแนะนำ: PTTEP*, KBANK*, TU, TOP*
แนวรับ: 1,620-1,637 / แนวต้าน : 1,660 จุด สัดส่วน : เงินสด 50% : พอร์ตหุ้น 50%
ประเด็นการลงทุน
JMART – เดินหน้าผลักดัน JFIN Adoption นำโทเคนมาใช้ในอิโคซิสเต็มในกลุ่ม
PLANB – ทุ่มงบ 2.9 พันล้าน ซื้อสื่อโฆษนานอกบ้านของ AQUA พร้อมออกหุ้นเพิ่มทุนให้ AQUA เข้าถือหุ้น PLANB สัดส่วน 2%
TIPH – ทุ่มงบ 115.97 ลบ.ซื้อหุ้น 75% DP Sunvey ต่อยอดธุรกิจสนับสนุนประกันภัย
SPRC น้ำมันรั่ว – เบื้องต้น 60,000-180,000 ลิตร ความเสียหายของสิ่งปลูกสร้างมีประกัน อย่างไรก็ตามการชะเชยต่อบุคคลภานยอก เราคาดอยู่ในระดับ 1-3 พันล้านบาท (เทียบกับที่ PTTGC เคยเกิดเหตุน้ำมันรั่วในจุดเดียวกันและตั้งสำรองไป 1 พันล้านบาท) ราคาในปัจจุบันสะท้อนปัจจัยดังกล่าวแล้ว
ประเด็นติดตาม: - 27 ม.ค. – US GDP 4Q22, US Initial Jobless Claims/ 28 ม.ค. – US PCE Price Index เดือน ธ.ค.
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)