ธปท.จ่อปรับประมาณการณ์ ‘เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจไทย’ปี 65 ‘เพิ่มขึ้น’ มี.ค.นี้

ธปท.จ่อปรับประมาณการณ์ ‘เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจไทย’ปี 65 ‘เพิ่มขึ้น’  มี.ค.นี้

ธปท.ชี้อยู่ระหว่างการทบทวนเป้า เงินเฟ้อและเศรษฐกิจไทยปี 65 เพิ่มขึ้น โดยเงินเฟ้อมีโอกาสมากกว่าคาดที่ 1.7% โดยคาดประกาศเป้าใหม่ในการประชุมกนง.รอบมี.ค. ชี้เงินเฟ้อที่ปรับขึ้นส่วนใหญ่ มาจากราคาพลังงานเป็นหลัก ขณะที่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นยังมีจำกัด

ธปท.จ่อปรับประมาณการณ์ ‘เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจไทย’ปี 65 ‘เพิ่มขึ้น’  มี.ค.นี้       นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กล่าวว่า ธปท.อยู่ระหว่างการทบทวน การคาดการณ์เงินเฟ้อและเศรษฐกิจไทยปี 2565 ใหม่ โดยคาดว่าจะสามารถประกาศประมาณการณ์ใหม่ได้ในการประชุม กนง.รอบเดือนมี.ค. 
         โดยมองว่าในเงินเฟ้อมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า โดยเดิมธปท.คาดการณ์เงินเฟ้อปีนี้ที่ 1.7% และปีหน้า 1.4% เมื่อการเผยแพร่เงินเฟ้อ ธ.ค. 2564  แต่จากพัฒนาการเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น เหล่านี้เป็นความเสี่ยงที่คาดว่า เงินเฟ้อในระยะถัดไป มีความเป็นไปได้ที่จะมากกว่า 1.7% ได้ ดังนั้นจึงจะมีการปรับประมาณการณ์เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 
ส่วนการทบวนตัวเลขเศรษฐกิจไทยปี 2565 การปรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยคงไม่ได้แตกต่างจากเดิม หรือมีนัยสำคัญมาก โดยมาจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามปัจจัยไม่แน่นอนจาก โควิด-19ที่ยังสูงต่อเนื่อง 

ธปท.จ่อปรับประมาณการณ์ ‘เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจไทย’ปี 65 ‘เพิ่มขึ้น’  มี.ค.นี้     แต่อย่างไรก็ตาม แม้เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะไตรมาสแรกปีนี้ที่มองว่าจะปรับตัวขึ้นสูง แต่คาดว่าครึ่งปีหลังจะเห็นเงินเฟ้อปรับลดลงได้ ดังนั้นมองว่า เงินเฟ้อปี 2565 ยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 1-3% 
       “การปรับเป้าเงินเฟ้อ เป็นสิ่งที่กนง.คลัง ได้หารือร่วมกันทุกปี ในแต่ละปี กนงจะทบทวนว่า เงินฟ้อ 1-3% เหมาะสมหรือไม่ ที่ผ่านมาเราได้คงกรอบไว้ที่ 1-3%เพราะคิดว่ากรอบนี้ เป็นระดับเงินเฟ้อที่ไม่ผันผวน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ทำให้ภาคธุรกิจวางแผนธุรกิจได้เอย่างเหมาะสมระยะถัดไปในระยะข้างหน้า”

ธปท.จ่อปรับประมาณการณ์ ‘เงินเฟ้อ-เศรษฐกิจไทย’ปี 65 ‘เพิ่มขึ้น’  มี.ค.นี้     ด้านนายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า หากดูการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ถือว่าเป็นปัจจัยที่กนง.ให้ความสำคัญ โดยเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นเมื่อเดือนม.ค.ที่ผ่านมา ที่ 3.2%  

     ส่วนใหญ่มาจากราคาพลังงานเป็นหลัก และอาหารสด เช่นราคาเนื้อหมูที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้ามีจำกัดเฉพาะบางประเภทเท่านั้นไม่ได้ มีการปรับเพิ่มขึ้นในสินค้าอื่นๆเป็นวงกว้าง 
      โดยพบว่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มาจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ โดยราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นถึงเกือบ 30%  เทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่อาหารสด เช่นเนื้อหมู เพิ่มขึ้น 22% ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาเป็นการปรับขึ้นราคาสินค้าเฉพาะบางหมวด ไม่ได้มีการเพิ่มขึ้นในหลาย ๆ สินค้าพร้อมกันเป็นวงกว้าง 
      ทั้งนี้ มีสินค้าจำนวนมากเกือบ 200 รายการในตะกร้าเงินเฟ้อที่ราคาที่คงที่หรือลดลง

       สำหรับเงินเฟ้อในระยะต่อไป แนวโน้มของราคาน้ำมันรวมถึงการคลี่คลายของปัญหาการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ตู้คอนแทนเนอร์ และเนื้อหมู จะช่วยให้อัตราเงินเฟ้อปรับลดลงได้ 
    หากย้อนไปดูพลวัตรของเงินเฟ้อในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ถูกเคลื่อนด้วยราคาพลังงานเป็นหลัก โดยเงินเฟ้อที่ต่ำในปี 2563 เพราะราคาน้ำมันต่ำกว่า 40ดอลลาร์ต่อบาเรล แต่ปี 2564 ที่เงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเป้น 70 ดอลลาร์ต่อบาเรล 
    ความเสี่ยงในระยะข้างหน้า เงินเฟ้อมีโอกาสผันผวนขึ้น หลักๆมาจากราคาพลังงาน และอาหารสด และมีความเสี่ยงจากควาไม่แน่นอนที่อาจเพิ่มขึ้นกว่าคาด เช่นราคาน้ำมัน สูงขึ้น และส่งผ่านไปสู่การขนส่ง ค่าโดยสาร หรือราคาอาหารต่างๆทั้งบริโภคนอกบ้าน และในบ้าน ที่อาจปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ผู้ประกอบการส่งผ่านต้นทุนราคาสู่ราคาสินค้ามากขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นความเสี่ยงที่ต้องจับตาในระยะถัดไป คือราคาน้ำมัน อาหารสด การส่งผ่านต้นทุน และซัพพลายดิสรับชั่น
 

เสถียรภาพต่างประเทศไทยแข็งแกร่ง
     สำหรับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อสหรัฐ ที่ 7.5% เหล่านี้อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับจำนวนความเร็ว และจำนวนครั้งของการขึ้นดอกเบี้ยได้ เหล่านี้จะมีผลต่อการดำเนินนโยบายการเงินหรือไม่ 
ธปท.มองว่า นโยบายการเงินของไทย ก็ไม่ได้ตาม การดำเนินนโยบายการเงินต่างประเทศ

    โดยนโยบายการเงินไทย ทำเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ 3ด้าน คือการเติบโต การดูแลเสถียรภาพทางการเงิน และเงินเฟ้อ ซึ่งเป็นสิ่งที่ธปท.มีการติดตามใกล้ชิด

     แต่ยอมรับว่าการทีของเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลในแง่ของความผันผวนในตลาดการเงิน หากตลาดเงินรู้สึกว่าเฟดปรับนโยบายการเงินเร็วกว่าคาด อาจส่งผลกระทบต่อเงินทุนเคลื่อนย้ายต่ออัตราแลกเปลี่ยน และกระทบต่อประเทศเกิดใหม่ทุกประเทศได้ ไม่เฉพาะประเทศไทย 
      ที่ผ่านมาเสถียรภาพของประเทศไทย ในด้านต่างประเทศ ค่อนข้างแข็งแกร่ง เศรษฐกิจไทยมีหนี้ต่างประเทศน้อย ไม่เหมือนละตินอเมริกา มีเงินสำรองระหว่างประเทศค่อนข้างสูง

     ขณะที่ภาคธุรกิจไทยมีการระดุมทุนจากธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก และธนาคารพาณิชย์ไทย มีการระดมทุนจากเงินฝากในประเทศ ดังนั้นแม้จะมีความผันผวน ที่เกิดขึ้นกับตลาดการเงิน แต่หากเทียบกับต่างประเทศ หรือเทียบอินโดฯ ที่พึ่งพานักลงทุนต่างประเทศเป็นหลัก ถือว่า ไทยมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศทีแข็งแกร่ง ที่เอื้อต่อการทำนโยบายการเงินให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ 3เป้าหมายหลักได้
      “หากเฟดมีการขึ้นดอกเบี้ย แน่นอนสิ่งที่กังวลคือภาวะการเงินตึงตัวขึ้น โดยเห็นได้จากตลาดพันธบัตร 10ปี ของสรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้นเยอะ แต่หากดูการกู้ยืมระยะสั้น โดยเฉพาะพันธบัตรระยะสั้น 2-3ปีของไทย ก็พบว่าไม่ได้ปรับขึ้นตามสหรัฐ ดังนั้นผลกระทบที่มีต่อไทยค่อนข้างน้อย และจำกัด เพราะเราพึ่งพาธนาคารพาณิชย์เยอะ ดังนั้นมองว่าผลกระทบจะไม่มากเท่าประเทศเกิดใหม่บางประเทศ”

ธปท.เข็น3ภารกิจเอื้อเศรษฐกิจไทยไม่ให้สะดุด
      สำหรับการดูแลภาคเศรษฐกิจไทย ที่ผ่านมา ธปท.มีการทำ3สิ่งเพื่อเอื้อให้เศรษฐกิจไทยไม่สะดุด ด้านแรกคือการคงดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ภาวการณ์เงินผ่อนคลาย โดยคงดอกเบี้ยตั้งแต่ พ.ค. 2564 เพราะกนง.ให้ความสำคัญกับการขยายตัวของเศรษฐกิจ

      สอง มิติของการเติมเงินใหม่ ธปท.มีการออกมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อฟื้นฟู และการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อลดภาระหนี้ของประชาชนและมีการประสานงานกับแบงก์ใกล้ชิด เพื่อดูแลลูกหนี้ ให้สามารถชำระหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถชำระหนี้

      ขณะที่ระยะยาว ธปท.มีหลายมาตรากรเช่นคลินิกแก้หนี้ ทางด่วนแก้หนี้ เพื่อใหการแก้ไขปัญหาลูกหนี้มีความต่อเนื่อง เหล่านี้เพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง