Automotive มาตรการหนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ EV

Automotive  มาตรการหนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ EV

ครม. อนุมัติมาตรการจูงใจ EV ซึ่งรวมถึงเงินอุดหนุนและการรถภาษีเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนไปสู่การใช้รถ EV เราคาดว่ามาตรการจะหนุนบริษัทโครงสร้างพื้นฐาน EV (EA, GPSC, OR, FORTH, STARK) ให้ขยายสถานีชาร์จรถ EV เพื่อรองรับจำนวน EV ที่มากขึ้นใน 2022-2023

นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเตรียมโรงงานใหม่สำหรับการผลิต EV เป็นประโยชน์ต่อนิคมฯ (AMATA, WHA, ROJNA) ขณะที่มาตรการจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตรถยนต์เร่งการผลิตรถยนต์ EV ในประเทศ ดังนั้นเราจึงมองว่ามาตรการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (AH, SAT, STANLEY, HANA, KCE) ในระยะยาว

 

ครม.อนุมัติมาตรการจูงใจการเปลี่ยนเป็นรถ EV

ครม.อนุมัติมาตรการจูงใจซึ่งรวมถึงเงินอุดหนุนและการลดภาษีเพื่อหนุนการเปลี่ยนเป็นยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มาตรการสอดคล้องไปกับนโยบายผลิตรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเป็นศูนย์ (zero-emission vehicle) และเป้าหมาย 30@30 มาตรการจูงใจมี 4 ส่วน:

        1. เงินอุดหนุนสำหรับรถยนต์และรถกระบะ 70,000-150,000 บาทต่อคันและมอเตอร์ไซด์ 18,000 บาทต่อคัน

        2. ลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 8% เป็น 2% และรถกระบะเป็น 0%

        3. ลดอากรนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศและนำเข้าทั้งคัน (CBU) มากที่สุด 40% ถึงปี 2023

        4. ลดอากรขาเข้าชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ (CKD) รวม 9 รายการ

ผู้ผลิตรถยนต์ที่เข้าร่วมต้องยอมรับเงื่อนไข เช่น ผลิตชดเชยให้เท่ากับที่จำนวนนำเข้าในเงื่อนไข CBU ระหว่างปี 2022-23 ในปี 2024 (และขยายเป็นปี 2025 ได้) โดยต้องผลิตในสัดส่วน 1.5 เท่า (นำเข้า 1 หน่วย, ผลิต 1.5 หน่วย)

 

 

 

มาตรการหนุน EV จะเป็นปัจจัยบวกอีก 2-3 ปี

ในระยะแรก (2022-2023) มาตรการจะเน้นไปที่การกระตุ้นให้เกิดการใช้ EV โดยงดเว้นภาษีและให้เงินอุดหนุน และในระยะต่อมา (2024-2025) มาตรการสนับสนุนจะเน้นไปที่การผลิตในประเทศ และยกเลิกสิทธิประโยชน์รถนำเข้าบางรายการ

 

มาตรการเป็นประโยชน์ต่อบริษัทที่เดี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานในระยะสั้นและผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในระยะยาว

ช่วงปี 2022-2023 มาตรการจะหนุนบริษัทที่เดี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐาน (EA, GPSC, OR, FORTH, STARK) เพื่อขยายสถานีชาร์จเพื่อรองรับ EV ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเตรียมโรงงานใหม่สำหรับการผลิต EV เป็นบวกต่อกลุ่มนิคมฯ (AMATA, WHA, ROJNA) แต่เรามีมุมมองเป็นกลางต่อผู้ผลิต EV เนื่องจากช่วงแรกผู้ผลิตจะเน้นการนำเข้า แต่หลังปี 2024 เป็นต้นไป มาตรการจะกระตุ้นให้ผู้ผลิตเร่งการผลิต EV ในประเทศเพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ (AH, SAT, STANLEY, HANA, KCE)