ประภัตร ปัดปิดปังเอเอสเอฟระบาด หมูแพงเพราะกลไกตลาดบิดเบือน
ประภัตร แจง เอเอสเอฟ ไม่กระทบราคาหมู แต่แพงเพราะกลไกการตลาดถูกบิดเบือน ชี้ไม่เคยปิดบังการระบาด แต่ร่วมทุกหน่วยงานคุมทุดด้าน 2 ปี เอาอยู่ทำไทยส่งออกได้ทั้งหมูเป็นและเนื้อหมูในตลาดเพื่อนบ้าน
นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่า การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือเอเอสเอฟครบ100 ปีเริ่มจากเคนยา เข้ายุโรป เข้าจีน ปี 61 ขยายเข้า เวียดนาม เมียนมา กัมพูชา ในปี 62 รวมทั้งได้พบหมูลอยน้ำมา เชียงแสน เมื่อวันที่ 5 ส.ค. ปี 62
กรมปศุสัตว์ได้เดินทางไป ดูสถานการณ์ พร้อมเรียกประชุมทุกหน่วยงานรัฐเอกชน ให้ความร่วมมือเพราะเป็นอุบัติใหม่ และเริ่มดำเนินการตั้งด่านปิดพรมแดนไม่ให้เคลื่อนย้ายในพื้นที่เสี่ยงสูง พร้อมตรวจสอบซากหมูพบ เอเอสเอฟ ภายใต้งบประมาณ 1,100 ล้านบาท
ตามหลักสากลเพื่อพบเชื้อต้องทำลายหมูบริเวณโดยรอบรัศมี 5 กิโลเมตร ทำให้สามารถยับยั้งการระบาดมาได้ 2 ปี แต่โรคหมูมี 3 อย่างที่คล้ายกันคือ PRRS เอเอสเอฟ และอหิวาต์ มีอาการคล้ายกัน คือ ซึม ไม่กินอาหาร เดินไม่ได้ มีผื่นขึ้น ไม่มีวัคซีนรักษา ไม่แพร่เชื้อสู่คนและสัตว์อื่น ซึ่งในระหว่างนั้นยังส่งออกได้ทั้งหมูเป็นและเนื้อ ปี 63 ส่งอออก 3 ล้านตัว ปี 64 1.3 ล้านตัว ต่างประเทศยอมรับเพราะไม่พบเชื้อในหมูไทย
แต่ เมื่อเกิดเอเอสเอฟระบาด 2.7 แสนตัวที่ตายไป เกษตรกรรายย่อยกระทบมากที่สุด รัฐบาลให้เงินชดเชยรายย่อย จ่ายไป100 % เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา
สำหรับปริมาณหมู แม่พันธุ์ มี 1.1 ล้านตัวต่อปี ขยายหมูขุน 1/20 ตัว หรือ มีหมูในระบบ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ที่เหลือส่งออก 1.3 ล้านตัว แต่ราคาหมูหน้าเขียงปรับเพิ่มขึ้น ในเดือน ต.ค. 64 ถึง กิโลกรัมละ 128 บาท และปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ จึงสำรวจปริมาณหมู และสต็อก พบว่ามี ถึง 25 ล้านกก. ซึ่งเพียงพอกับการบริโภค แต่ราคาหมูที่เพิ่มขึ้นชัดเจนว่าเป็นผลจากการบิดเบือนการตลาด
ไม่ใช่เป็นผลมาจาก เอเอสเอฟ ที่ทำให้หมูตายและขาดตลาด เพราะปริมาณหมูเป็นอยู่ครบพอ และเนื้อมหูตรวจเช็คยังมีอยู่ ซึ่งตอนนี้ทุกคนยอมรับแล้วว่าเกิดจากความผิดพลาดทางการตลาด พ่อค้าก็ต้องรู้ว่าสถานการณ์เหล่านี้ คือเทคนิคบิดเบือนกลไกทางการตลาด
“ ผม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ฯ ไม่เคยได้เคยได้ประโยชน์อะไรจากพ่อค้าหมู เลยเราพยายาม ทำเพื่อควบคุมแก้ไข และไม่ได้ปกปิดการระบาด อย่างที่ฝ่ายค้านกล่าวอ้าง ในขณะที่ได้ช่วยเหลือผู้เลี้ยงรายย่อย โดยจ่ายเงินแล้วเสร็จไปแล้ว เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมา จำนวน 1.8 แสนราย จากผู้เลี้ยงหมูทั้งหมด 1.9 แสนราย ที่เหลือ 4 พันรายเป็นรายกลางและรายใหญ่ “
รวมทั้งผู้เลี้ยงรายย่อย ได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต อบรม เพื่อให้เลี้ยงใหม่ภายใต้การยกระดับฟาร์มให้ดีขึ้นมีมาตรฐานมากขึ้น โดยมีเงินทุน 3 หมื่นล้านบาทให้กูยืม ประสานกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทุกวิทยาเขต ผลิตลูกหมูให้เกษตรกรนำไปเลี้ยง เพื่อเร่งผลิตหมูเข้าตลาดกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว