กลยุทธ์การลงทุน มาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า - ใครได้ประโยชน์/เสียประโยชน์

กลยุทธ์การลงทุน มาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า - ใครได้ประโยชน์/เสียประโยชน์

การปรับภาษีรถ EV จะเป็นบวกในระยะยาว และจะช่วยสร้าง ‘ESG mood and tone’ ในตลาดไทย แต่ไม่น่าจะส่งผลบวกมากนักต่อแนวโน้มกำไรในระยะสั้น

การปรับภาษีรถ EV จะเป็นบวกในระยะยาว และจะช่วยสร้าง ‘ESG mood and tone’ ในตลาดไทย แต่
ไม่น่าจะส่งผลบวกมากนักต่อแนวโน้มกำไรในระยะสั้น

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติมาตรการปรับภาษีรถ EV สองชุด โดยชุดแรกเป็นการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับรถ EV แบบ CBU ลง 20-40% และชุดสองเป็นการอนุมัติปรับภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทั้งระบบ ครอบคลุมรถยนต์ 27 ประเภท ซึ่งอัตราภาษีใหม่สำหรับรถ EV 6 ประเภทจะมีผลทันที ในขณะที่อัตราภาษีใหม่ของรถอีก 21 ประเภทจะมีผลในปี 2569 เรามองว่าการปรับภาษีดังกล่าวจะเป็นบวกในระยะยาวกับ mood and tone ของ ESG ในตลาดไทย แต่ upside ของกำไรในระยะสั้นจากประเด็นนี้น่าจะยังต่ำอยู่

 

นิคมอุตสาหกรรม และ อิเล็กทรอนิกส์จะเป็นกลุ่มหลักที่ได้ประโยชน์จากกระแสรถ EV

เรามองว่าหุ้นสองกลุ่มที่จะได้ประโยชน์อย่างชัดเจนตั้งแต่ในช่วงแรกคือ นิคมอุตสาหกรรม และอิเล็กทรอนิกส์ โดยลูกค้าประมาณ 20-30% ของทั้ง AMATA* และ WHA* อยู่ในกลุ่มยานยนต์อยู่แล้ว ในขณะที่ 70% ของยอดขาย KCE มาจากกลุ่มยานยนต์ ซึ่งเราคาดว่าบริษัทจะยังได้อานิสงส์จากอุปสงค์ multi-layer PCB ที่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ประมาณ 15% ของรายได้ DELTA มาจากกลุ่มยานยนต์ และบริษัทยังจะได้อานิสงส์จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ EV ด้วย เรายังมองว่า EPG*, ซึ่งรายได้หนึ่งในสามมาจากกลุ่มยานยนต์จะได้อานิสงส์จากการผลิตชิ้นส่วนให้กับ Great Wall Motor ด้วย

 

 

ในกลุ่มพลังงาน และสาธารณูปโภค OR* น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในบรรดาสถานีบริการ ส่วน GPSC* จะได้อานิสงส์จากเทคโนโลยี 24M และการลงทุนใน Axxiva

สำหรับกลุ่มพลังงาน PTT* มุ่งสร้างโรงงานผลิตรถ EV, chargers และ EV chargers แต่สัดส่วนกำไรจากธุรกิจนี้น่าจะต่ำเมื่อเทียบกับขนาดธุรกิจของ PTT เอง สำหรับธุรกิจสถานีบริการน้ำมันสามบริษัทที่เราศึกษาอยู่ เราคิดว่า OR* จะได้ประโยชน์มากที่สุดเนื่องจากมีแผนเชิงรุกเกี่ยวกับสถานีบริการชาร์จไฟรถ EV มากกว่าคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน GPSC* น่าจะได้ประโยชน์มากที่สุดในบรรดาธุรกิจโรงไฟฟ้า จากเทคโนโลยี 24M และการลงทุนใน Axxiva

 

ต้องระวังราคารถมือสองที่อาจตก ซึ่งจะกระทบกับธนาคาร และ non-bank ที่เน้นสินเชื่อ H/P

เรามองว่ากระแสรถ EV ในประเทศไทยอาจจะส่งผลลบเล็กน้อยต่อหุ้นกลุ่มการเงิน โดยในส่วนของธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ HP และบริษัท H/P อาจจะได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่อุปสงค์รถ EV ทำให้ราคารถยนต์ระบบเก่าลดลง และกระทบกับมูลค่ารถ/รถมือสอง ซึ่งหากลดลงมากอาจจะทำให้เกิดผลขาดทุนและอาจมีน้ำหนักมากกว่าสินเชื่อ H/P ที่จะเพิ่มขึ้นจากรถ EV โดย TISCO* และ KKP* มีสัดส่วนสินเชื่อ H/P ในพอร์ต 55% และ 50% ตามลำดับ สำหรับบริษัทการเงินประเภท non-bank ราคารถมือสองที่ลดลงอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีผลขาดทุนจากการขายรถที่ยึดกลับมา โดย TIDLOR* มีสัดส่วนสินเชื่อจำนำทะเบียนรถสูงที่สุดในกลุ่มที่ 50% ของพอร์ตสินเชื่อรวม