ยังมองผลกระทบต่อตลาดจำกัดถ้าไม่ยกระดับคู่ขัดแย้งเป็น NATO
ติดตามการเจรจาและพัฒนาการของความขัดแย้ง สงครามเริ่มง่ายแต่หยุดยาก แม้มีต้นทุนที่ต้องเสียต่อเนื่องจนอยากหยุด แต่การจะหยุดได้ต้องมีคำตอบให้กับประชาชนถึงความคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยน
ทำให้ความต้องการของยูเครนและรัสเซีย ยังอาจต้องใช้เวลาหาจุดบรรจบ ซึ่งจะยังทำให้สินทรัพย์เสี่ยงและโภคภัณฑ์ เคลื่อนไหวผันผวนต่อไปอีกระยะ อย่างไรก็ตาม ตราบใดที่ความขัดแย้งไม่ยกระดับจากยูเครน-รัสเซียไปเป็น NATO-รัสเซีย (ซึ่งจะทำให้ความเสี่ยงของปัจจัยที่ไม่อาจคาดได้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ) ผลกระทบทางลบที่มีต่อสินทรัพย์เสี่ยงและเศรษฐกิจโลก ก็ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่จำกัด
ติดตามการส่งสัญญาณถึงมุมมองการเติบโตและการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด การขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 15-16 มี.ค. เป็นสิ่งที่อยู่ในความคาดหมายของนักลงทุนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่จะกำหนดมุมมองของนักลงทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง คือ มุมมองเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงปี 2565-66 และคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ที่น่าจะชะลอจากความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ยูเครน เรามองหากมีการสงสัญญาณบางประการ อาจทำให้มุมมองของนักลงทุนปรับดีขึ้น ได้แก่ 1) มุมมองเกี่ยวกับการขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวชะลอลง 2) มีการส่งสัญญาณประคองเศรษฐกิจเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ 3) มีการส่งสัญญาณชะลอการใช้นโยบายการเงินตึงตัว เป็นต้น
หุ้นที่มีโอกาสถูก Window dressing ในช่วงปลายเดือน เรามองหุ้นที่ปรับลดลงเยอะนับจากต้นปีหลายกลุ่มมีโอกาสเกิดการฟื้นตัวในช่วงปิดไตรมาส อย่างไรก็ตามปัจจัยหลายประกาศไม่ว่าจะแรงกดดันด้านต้นทุนหรือแนวโน้มกำไรไตรมาสที่จะมาถึง ดังนั้นในเชิงกลยุทธ์อาจเก็งกำไรแบบกำหนดจุดตัดขาดทุนได้ถึงช่วงปลายเดือน และไม่ควรเก็งถึงประกาศผลประกอบการ ซึ่งในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1) กำไรกลุ่มที่มีต้นทุนเป็นน้ำมันดิบหรือพลังงาน หุ้นกลุ่มนี้ได้แก่ SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT เป็นต้น 2) กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ HANA, KCE 3) หุ้นอื่นๆที่ปรับลดงมาก อาทิ RBF, KEX, SYNEX, RS, VGI, EPG, MEGA, CBG
ประเด็นเก็งกำไรอื่น 1) กลุ่มพลังงาน PTTEP, BANPU, TOP (เน้นโรงกลั่น) 2) กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เป็นกลุ่มที่มักจะเคลื่อนไหวได้ดีในภาวะเงินเฟ้อ อีกทั้ง valuation ต่ำ และปันผลสูง ทำให้มีโอกาสเห็นการฟื้นตัวของ LH, SPALI, AP, SC, ASW 3) กลุ่มบันเทิง งบโฆษณาที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ บวกต่อ ONEE, BEC, WORK, MONO 4) หุ้นเก็งกำไรทางเทคนิค อาทิ WFX, CV, UBE, RAM, IND, MAKRO, CPALL, JAS, BCP, AJ, PTL, PJW, III, TNP 5) กลุ่มอาหารและเกษตร CPF, TU, GFPT, KSL 6) ค่าระวางเรือ PSL, TTA 7) น้ำมันลง SCC, PTTGC, BGRIM, GPSC, TASCO, AAV, EPG, SCGP, SFT
ภาพรวมกลยุทธ์: กลับมาผันผวนโดยโฟกัสจะเริ่มมาอยู่ที่การประชุมเฟดสัปดาห์หน้า ติดตามความเสี่ยงบาทอ่อนค่าหลังราคาน้ำมันขึ้นสูง อาจทำให้ไทยมีโอกาสขาดดุลการค้า ซึ่งอาจกระทบ Fund flow ระยะสั้น //หุ้นแนะนำ: TOP*, RAM*, PJW*, WORK*
แนวรับ: 1,640 / แนวต้าน : 1,666-1,680 จุด สัดส่วน : เงินสด 60% : พอร์ตหุ้น 40%
ประเด็นการลงทุน
สถานการณ์โควิดในจีนแย่ลง – การระบาดกลับมาเร่งขึ้น และจีนเริ่มกลับมาสั่งล็อคดาวน์หลายเมือง ไม่ว่าจะเป็น ซีอาน, หยูโจว, อันหยาง, ฉางชุน และเสิ่นเจิ้น ทำให้ความหวังเปิดประเทศและการผ่อนคลายให้นักท่องเที่ยวจีนเดินทางออกมาได้ถูกเลื่อนไป เป็นปัจจัยลบต่อหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว และทำให้เช้านี้ ดัชนีฮั่งเส็ง และดัชนีหุ้นเซี่ยงไฮ้ ปรับลดลงแรงกว่าภูมิภาค
SUPER - มองเป้ารายได้ปี 65 โต 10,000-11,000 ล้านบาท คาดสิ้นปี COD โรงไฟฟ้าเพิ่มเป็น 1,718 เมกะวัตต์ พร้อมวางเป้าเพิ่ม Private PPA อีก 80 เมกะวัตต์ เดินหน้าขยายโครงการในไทยและเวียดนาม
KTC - เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตช่วง 2 เดือนแรกของปี 65 โต 10% รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น โควิดคลี่คลาย ย้ำเป้ายอดบัตรในปี 65 อยู่ที่ราว 2.5 แสนใบ
HANA - ชี้ความต้องการสินค้าไอทีขยายตัวแข็งแกร่ง เทคโนโลยี 5G ผลักดัน ขณะที่กลุ่ม consumer ฟื้นตัวหลังโควิด-19 เดินหน้าเพิ่มกำลังการผลิตทั้งในไทยและจีน
กรมพลังงาน เตรียมสั่งผู้ค้าเพิ่มสำรองน้ำมันดิบ - กรมธุรกิจพลังงานประสานผู้ค้าเตรียมพร้อมที่จะประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย น้ำมันดิบเป็น 5% จากเดิม 4% และน้ำมันสำเร็จรูปเป็น 2% จากเดิม 1% เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพพลังงานได้ โดยไม่กระทบการดำรงชีพของประชาชน
ประเด็นติดตาม: 15-16 มี.ค. – US FOMC Meeting, 15 มี.ค. – US PPI เดือน ก.พ. / IEA Monthly Report, 16 มี.ค. – US Retail Sales เดือน ก.พ., 17 มี.ค. – EU CPI เดือน ก.พ.
(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)