Sideways Up เก็งกำไร TSTH WICE BLA (14 มี.ค. 65)

Sideways Up เก็งกำไร TSTH WICE BLA (14 มี.ค. 65)

คาดดัชนีฯ Sideways Up แนวต้าน 1,670 จุด (EMA 10 วัน) / 1,682 จุด แนวรับ 1,645 จุด (EMA 25 วัน) / 1,636 จุด แนะนำ เก็งกำไร TSTH WICE BLA

ทางเทคนิค ดัชนีฯ อยู่ในทิศทางฟื้นตัว หลังสามารถรีบาวนด์จากแนวรับของกรอบ Up Channel 1,580-1,725 จุด โดยมีแนวต้านสำคัญที่ 1,670 จุด ไฮไลท์ที่ต้องติดตาม คือ สถานการณ์สงครามรัสเซียกับยูเครน หลังประธานาธิบดีปูตินส่งสัญญาณว่าการเจรจามีความคืบหน้า ขณะที่รัสเซียรุกใกล้ เมืองหลวงของยูเครนมากขึ้น ส่วนปัจจัยลบยังคงเป็นราคาสินค้าโภคภัณฑ์ต้นน้ำยังคง ทรงตัวในระดับสูง จากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียของสหรัฐฯ และชาติตะวันตกเพิ่ม ความเสี่ยงเชิงลบต่อเศรษฐกิจและผลกำไรบจ. ปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยุโรป และผลประชุม Fed, BoE สัปดาห์นี้ มีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ (ลบต่อหุ้นกลุ่ม Growth Stocks)

 

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ

       +KTZ Portfolio: Mid-Small Cap แนะนำ BGC M TWPC (แนะนำ ซื้อ TPIPL) / Big Cap แนะนำ GULF CRC AWC BEC TCAP CENTEL BH ADVANC AOT DTAC MINT KTB PLANB BLA (แนะนำ ขาย COM7)

       +กลุ่มอิงการเปิดประเทศของไทย: ธนาคาร KBANK SCB BBL พาณิชย์ CPALL CPN CRC OSP ท่องเที่ยว AOT CENTEL ERW BA

       +/-ผลกระทบจากสงครามยูเครน และรัสเซีย: +กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ต้นน้ำ PTTEP PTT TOP ESSO IRPC BCP (Stock Gain) BANPU CPI TWPC TSTH –กลุ่มได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาและ Supply Disruption BGRIM HANA KCE AH SAT *กลุ่มที่มีผลกระทบจำกัด ADVANC DTAC TRUE BH BDMS KBANK SCB TISCO KKP

       -XD Effect: สัปดาห์นี้ มีผลต่อดัชนีฯ -1.58 จุด นำโดย EGCO SIRI VNG CCET RATCH SANKO INOX LANNA CK

       +กลุ่มขายอุปกรณ์ Apple: COM7 SPVI CPW ADVANC TRUE DTAC JMART

 

ปัจจัยบวก

      ตลาดหุ้นไทย/Fund Flow: นักลงทุนต่างชาติ ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 แต่ด้วยปริมาณลดลงมาก +675.96 ล้านบาท (Vs สัปดำห์ก่อนหน้า +10,466 ล้านบาท)

 

 

 

ปัจจัยลบ

        ตลาดหุ้นไทย/ตลาดอนุพันธ์: สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติ เปิด Short SET50 Index Future ต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 4 จำนวน -7,601 สัญญำ (Vs สัปดาห์ก่อนหน้า -19,796 สัญญา) ส่งผลให้ YTD เปิด Short สะสมแล้ว -35,210 สัญญา (เฉพาะเดือน มี.ค. -26,386 สัญญา)

        ไทย/กลุ่มโรงกลั่น: อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เผยเตรียมพร้อมที่จะประกาศเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายน้ำมันดิบเป็น 5% จากเดิม 4% และน้ำมันสำเร็จรูปเป็น 2% จากเดิม 1% ซึ่งจะช่วยให้มีปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มขึ้นอีก 7 วัน

 

ประเด็นสำคัญ

         - France รายงานดุลการค้าเดือน ม.ค. คาดขาดดุลลดลงเป็น -9.5 พันล้านยูโร (Vs เดือน ธ.ค. ขาดดุล -11.32 พันล้านยูโร)

         - USA คาด Consumer Inflation Expectation เดือน ก.พ. คาด 5.9% (Vs เดือน ม.ค. 5.8%)

         - XD Effect วันนี้มีผลต่อดัชนีฯ -0.68 จุด นำโดย EGCO CK ACE AGE

         - Opportunity Day วันนี้ APP BJCHI NDR NCL IIG L&E DREIT

 

+/-Global Market Summary: วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทยปิดบวกเป็นวันที่สาม: ดัชนีตลาดฯ ปรับสูงขึ้นในภาคเช้า ก่อนที่ภาคบ่ายแกว่งตัวในกรอบแคบ 1,653-1,659.67 จุด ก่อนปิดตลาดที่ 1,658.01 จุด +10.93 จุด วอลุ่มซื้อขาย 7.85 หมื่นล้านบาท นำขึ้นโดยกลุ่มเหล็ก +2.77% บรรจุภัณฑ์ +2.3% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ +1.98% ธุรกิจการเกษตร +1.94% หุ้นบวก >4% INOX TTA JUTHA TSTH RS DITTO MILL BEYOND ASIMAR RAM TH STPI TTCL AMA SAM IMH ILINK หุ้นลบ >4% A5 TC

 

+/- ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ แต่ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ DJIA -0.69% S&P500 -1.3% NASDAQ -2.18% นำโดยกลุ่มสื่อสาร -1.9% กลุ่มเทคโนโลยี -1.8% โดยตลาดหันมาวิตกเกี่ยวกับ ผลประชุมเฟดกลางเดือน มี.ค. หลังจากยิลด์พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี ปรับสูงขึ้นตลอดสัปดาห์ใกล้ระดับ 2% ส่วนตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก CAC40 +0.85% DAX +1.38% FTSE +0.8% โดยได้แรงหนุนจากแรงซื้อคืนหุ้นที่ร่วงลงแรงที่ผ่ำนมา เพราะคาดว่าสงครามยูเครน-รัสเซีย ใกล้ยุติ

+/- น้ำมันดิบปิดบวก แต่ทองคำปิดลบ: WTI +USD3.31 ปิดที่ USD109.33/บาร์เรล Brent +USD3.34% ปิดที่ USD112.67/บาร์เรล เป็นผลจากการกังวลต่ออุปทานน้ำมันตลาดโลกขาดแคลน จากสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ออกมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันส่งออกจากรัสเซีย ส่วนทองคำปิดลดลง -USD15.40 ปิดที่ USD1,985/ออนซ์ จากแรงขายทำกำไรทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย หลังประธานาธิบดีปูตินส่งสัญญาณว่ามีความคืบหน้าในการเจรจาเกี่ยวกับ ความขัดแย้งในยูเครน

 

ประเด็นสำคัญ

- Ukraine War 2022E Earnings Outlook: ข้อมูลจากบริษัทรีฟินิทิฟ (Refinitiv) ระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 24 ก.พ. บรรดานักวิเคราะห์ได้ปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการของกลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ระดับโลกในช่วง 12 เดือนข้างหน้าลง 0.5% เมื่อแยกย่อยตามภูมิภาค บริษัทในยุโรปถูกปรับลดคาดการณ์ผลประกอบการลง 2.8% ขณะบริษัทในเอเชียถูกปรับลดคาดการณ์ลง 0.45% ส่วนบริษัทสหรัฐฯ คาดว่าจะมีผลประกอบการเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.02% โดยธุรกิจพลังงานและเหมืองแร่เป็นภาคส่วนที่มีการปรับเพิ่มผลประกอบการมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มสินค้ำฟุ่มเฟือย, การเงิน และอสังหาริมทรัพย์ ถูกปรับลดคาดการณ์รายได้ลง

- USA/ครัวเรือนสหรัฐฯ: Yardeni Research บริษัทด้านที่ปรึกษา ระบุว่า ครัวเรือนชาวอเมริกันจะต้องจ่ายค่าเชื้อเพลิงเบนซินปีนี้เพิ่ม USD2,000 และค่าอาหาร ผ่านเงินเฟ้อพุ่ง อีก USD1,000

- IMF: ส่งสัญญาณปรับลดประมาณการเติบโตเศรษฐกิจโลกลดลงจากผลกระทบสงครามยูเครน-รัสเซีย จากเดิมที่ทำไว้เมื่อเดือน ม.ค. ที่ +4.4% (Vs ปี 2021 +5.9%) โดย Russia จะเข้าสู่ภาวะ Recession

- ไทย/พลังงาน: ปลัดกระทรวงพลังงาน เผยหากสถานการณ์ยังคงตึงเครียดต่อไป อาจทำให้เดือน เม.ย. นี้ราคาน้ำมันดิบดูไบเกิน 120 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล น้ำมันดีเซล 150–170 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บาร์เรล ขณะที่สถานการณ์ราคา LPG ตลาดโลกก็ปรับเพิ่มขึ้นทิศทางเดียวกับราคาน้ำมัน โดยราคาอยู่ที่ 968 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน เช่นเดียวกันกับราคาก๊าซธรรมชาติก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะอุปทานจากรัสเซียที่ไม่แน่นอน

- Japan: รายงาน Business Survey Index ของผู้ผลิตขนาดใหญ่ (คำนวณจาก % บริษัทฯ ที่คาดว่าธุรกิจจะดีขึ้น / % บริษัทฯ ที่คาดว่าธุรกิจจะแย่ลง) ใน 1Q22 ออกมาเป็น -7.6% (Vs 4Q21 +7.9% และคาด -1.3%) เนื่องจากต้นทุนผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อมาร์จิ้น เพราะได้รับผลกระทบจากการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ อิงจากญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าพลังงานและผลิตภัณฑ์พลังงาน

- Germany: รายงานเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ขยายตัว 5.1% YoY, +0.9% MoM (เท่ากับคาดการณ์ของตลาด) แต่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือน ม.ค. ที่ขยายตัว +4.9% YoY, +4% MoM จากปัญหาคอขวดด้านขนส่งและราคาต้นทุนวัตถุดิบปรับสูงขึ้น รวมถึงราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ทั้งนี้ แนวโน้มเดือน มี.ค. คาดว่าจะขยายตัวสูงขึ้น จากการรับรู้ราคาพลังงาน หลังเกิดวิกฤติสงครามยูเครนและรัสเซีย

+ UK: รายงาน GDP เดือน ม.ค. เติบโต 10% YoY ซึ่งดีกว่าคาดการณ์ของตลาดที่ +9.3% YoY และเทียบกับเดือน ธ.ค. ที่เติบโตเพียง 6% YoY ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ม.ค. เติบโต 2.3% YoY ดีกว่าคาดการณ์ที่ 1.9% YoY และเทียบกับเดือน ธ.ค. ที่ 0.4% YoY ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ขยายตัวแข็งแกร่ง ทำให้มีโอกาสสูงที่ BoE จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 25 bps. เป็น 0.75 ในการประชุมปลายสัปดาห์นี้

 

กลยุทธ์การลงทุน แนะนา Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: KBANK BLA OSP

หุ้นแนะนำเก็งกำไร: TSTH WICE BLA

Derivatives: แนะปิด Long S50H22 ทำกำไรทั้งหมดสำหรับคนที่ถือสถานะข้ามสัปดาห์มา (ติดตามรายละเอียดเพิ่มใน KTZ-D Report)