ปตท.หนุนธุรกิจพลังงานสีเขียว ชูทีมไทยแลนด์สู้วิกฤติ
ซีอีโอปตท. หวังไทยเป็นศูนย์กลางขับเคลื่อนดิจิทัล สร้างไทยแลนด์ทีม ตีตลาดต่างประเทศถืออำนาจการต่อรองธุรกิจ อยากเห็นประเทศไทยเป็นประเทศที่สามัคคี-เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
"เนชั่นกรุ๊ป" จัดงานดินเนอร์ทอล์ค “Nation Dinner Talk : THAILAND FUTURE อนาคตประเทศไทย 2022” ในโอกาสครบรอบ 50 ปี เพื่อนำเสนอทิศทางอนาคตของประเทศจากภาคเอกชนและพรรคการเมือง ที่จะมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศไทยที่กำลังเจอทั้งวิกฤติโควิด-19 และวิกฤติพลังงานราคาสูงขึ้นจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในมิติเศรษฐกิจในฐานะได้ประเมินการเติบโตเศรษฐกิจโลกก่อนสงครามรัสเซียและยูเครน โดยปี 2565 เศรษฐกิจน่าจะโต 4.4% ส่วนใหญ่หลายประเทศน่าจะโตน้อยลงจากปีก่อน ยกเว้นญี่ปุ่นไทย ซึ่งปัจจัยปัญหาทางการเมืองระหว่างรัสเซียและยูเครน กระทบทั่วโลกถึง 0.2-06%
สำหรับปัจจัยต้องมองปัจจัยเฉพาะหน้าทั้งสายพันธุ์โอมิครอน ภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ ปัจจัยที่เป็นอยู่กับเราระยะหลังการเกิดโควิด คือปัจจัยในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ที่จะต้องกระทบอีกระยะ ซึ่งการทำงานโลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงทั้งจากผลกระทบของโควิด-19 และเทคโนโลยีดิจิทัล รวมถึงซัพพลายเชนที่เปลี่ยนโฉม
"ตอนนี้พบว่าคนจองรถที่ฮอนด้าผลิต แต่ไม่ได้รถ เพราะไม่สามารถผลิตรถได้ตามความต้องการลูกค้า นอกจากนี้ ปัญหาสุขภาพ ที่ทุกคนดูแลในเรื่องนี้มากขึ้น และเรื่องของสิ่งแสดล้อม การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
สำหรับประเทศไทย ต้องการเห็นอนาคตมาจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ศักยภาพของประเทศ และการที่ไทยเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีที่จะพัฒนาให้เป็นกรีน อีโคโนมี หรือกรีนเอ็นเนอจี่ โดยผลิตพลังงานจากขยะ พืช พลังงานหมุนเวียนที่มาจากแสงแดด และลม ซึ่งในอนาคตจะหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์สีเขียว ซึ่งประเทศจะต้องพัฒนาผลผลิตภัณฑ์สีเขียวให้มากกว่านี้ โดยเราต้องเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ไม่ใช่แค่แปรรูป เช่น ยา ไทยมีศักยภาพ ดังนั้นหลายภาคส่วนต้องช่วย
“รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) จะต้องผักดันให้ไทยเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเราผลิตรถเครื่องยนต์สันดาป แม้ปตท.จะเป็นบริษัทน้ำมันของไทย แต่ก็ต้องปรับตัวและหาทางเดินคู่ขนาน”
นายอรรถพล กล่าวว่า ประเทศไทยมีโรงงานผลิตรถยนต์สันดาป ดังนั้น จะต้องตั้งเป้าผลิตรถอีวีสู่เซาร์อีสเอเซียให้ได้ และไปสู่ระดับโลก เป็นดิจิทัลฮับด้านสุขภาพให้ได้ จะเห็นได้ว่า ประเทศจีนมีการล็อกดาวน์ประเทศ แต่เป็นประเทศล็อกดาวน์จากโควิด เพราะไม่สามารถผลิตแพทย์ได้เพียงพอ พอเริ่มติดเชื้อเยอะต้องล็อกดาวน์ เพราะบุคลากร ดังนั้น ในไทยค่อนข้างพร้อม น่าจะเป็นจุดแข็งได้ดี
“สิ่งที่อยากจะเห็น คือ ภาคเอกชนและภาครัฐบาลควรฟอร์มไทยแลนด์ทีม เพื่อขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวพ้นจากวิกฤติต่างๆ ในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ”
นอกจากนี้ ปตท.เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ต้องเจอการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอนาคตด้านพลังงานที่พบว่ายานยนต์ไฟฟ้ามาเร็ว ซึ่งทำให้ต้องพัฒนาประเทศสู่วิสัยทัศน์ใหม่ และ New S- Curve ซึ่งทำให้ ปตท.ขับเคลื่อนพนักงาน บุคคลากร ประเทศชาติและสังคม ซึ่งแม้พลังงานหมุนเวียน จะต้องมีเทคโนโลยีเข้ามาก็ต้องพัฒนาให้ทัน เช่น แบตเตอรี่
ทั้งนี้ ปตท.ได้ขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ใหม่ “Powering Life with Future Energy and Beyond ขับเคลื่อนทุกชีวิต ด้วยพลังแห่งอนาคต” โดยกลุ่ม ปตท.ตั้งงบลงทุน 5 ปี กว่า 9 แสนล้านบาทเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศไทยในทุกด้าน ดังนั้น ท้ายอยากเห็นประเทศไทยเป็นสังคมที่สามัคคี และเป็นสังคมที่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน