บล.กสิกรไทยชี้ 4 ปัจจัยกดดันหุ้นไทยปรับฐานในช่วงต้นเดือนเม.ย.
บล.กสิกรไทย มองหุ้นไทยต้นเดือนเม.ย. มีโอกาสปรับฐาน ท่ามกลาง 4 ปัจจัยกดดัน "ไอเอ็มเอฟจ่อลดจีดีพี-สงครามรัสเซียยูเครนยืดเยื้อ-ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทรงตัวระดับสูง-เฟดเตรียมลดขนาดงบดุล" แนะนำงดเพิ่มพอร์ตลงทุน แต่มองกลุ่ม Growth Stock มีโอกาส Outperform หุ้นเด่น COM7
บล.กสิกรไทย ระบุ เริ่มการลงทุนต้นเดือนเม.ย. และเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 คาดตลาดหุ้นโลกและ SET Index มีโอกาสพักฐานสั้นๆ หลังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.ถึงปัจจุบัน หรือ รวม 2 อาทิตย์ โดยดัชนีหุ้นไทยขึ้นมาในระดับเท่ากับก่อนเกิดสงครามแล้ว และคาดยังติดแนวต้านสำคัญ 1,700 จุด
KS ยังคงคำแนะนำตามเดิม คือ ในช่วงนี้ไม่เพิ่มน้ำหนักพอร์ตการลงทุนในระดับดัชนีแถวๆ 1,700 จุด ประเมินตลาดหุ้นสัปดาห์หน้ามีโอกาสอ่อนตัว ประเมินแนวรับสำคัญ 1,665 จุด โดยมุมมองคาดตลาดจะอ่อนตัวเพราะ
ช่วงต้น เม.ย. 65 ตลาดหุ้นโลกจะเผชิญกับ IMF Downgrade World GDP Growth
โดย KS ประเมินมีโอกาสที่โทนการปรับลงในหลายประเทศ โดยเฉพาะฝั่งยุโรปมีโอกาสถูกปรับลด GDP ลงเพราะได้รับผลกระทบจากสงคราม สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ รวมถึงกระแสความกังวลเศรษฐกิจถดถอยยังมีหลังจากเกิดเหตุการณ์ Inverted Yield Curve
แต่ในระยะสั้นมองว่ายังไม่น่ากังวล เพราะปัจจุบัน Yield Curve ยังเป็นลักษณะ Bearish flattening ขณะที่โอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ใน Bloomberg คาดสหรัฐโอกาสเกิดยังต่ำอยู่ที่ 20% แต่ช่วงสั้นตลาดหุ้นยังกังวลและมีโอกาสเห็นการ Take Profit
สงครามรัสเซีย-ยูเครนมีโอกาสยืดเยื้อ
โดย KS ให้น้ำหนักทิศทางการเจรจา และติดตามมาตรการคว่ำบาตร (Sanction) จากประเทศพันธมิตรยูเครนต่อรัสเซียจะมีเพิ่มขึ้นและยืดเยื้อหรือไม่ ประเมินมีโอกาสที่ตลาดหุ้นและราคาโภคภัณฑ์จะยังผันผวนต่อ
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์คาดยังทรงตัวสูงเนื่องจากสงครามยืดเยื้อ
กดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจและกำลังซื้อโลก แม้ช่วงสั้นราคาน้ำมันดิบโลกปรับฐานแรงราว 7% หลังประธานาธิบดีโจ ไบเดน ประกาศจะระบายน้ำมันจำนวน 180 ล้านบาร์เรลออกจากคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ (SPR) โดยจะระบายน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นเวลา 6 เดือน และผลประชุม OPEC+ มีมติเพิ่มกำลังการผลิต 432,000 บาร์เรล/วัน ในเดือนพ.ค.
ประเด็น Fed แม้เดือน เม.ย. ยังไม่มีการประชุม แต่ให้น้ำหนักรายงาน Fed minutes
โดย KS ให้น้ำหนักประกาศลดขนาดงบดุล (Quantitative Tightening : QT) มากกว่า โดยในการประชุม 4 พ.ค Fed จะเริ่ม QT โดยต้องติดตามจะปล่อยให้พันธบัตรหมดอายุเอง (คาดตลาดหุ้นไม่น่าตอบรับเชิงลบมาก) แต่หาก Fed เพิ่มเติมด้วยการขายพันธบัตรออกมา (คาดตลาดหุ้นมีโอกาสตอบรับเชิงลบ)
โดยภาพรวมภาวะที่ตลาดยังกังวล Inverted Yield Curve และ ภาวะ Recession มากขึ้น KS จึงมองว่าหุ้นกลุ่ม Growth และกลุ่ม Tech จะเป็นที่พักเงิน (ทั้งฝั่งสหรัฐและฮ่องกง)
ส่วนตลาดหุ้นไทย KS ประเมินระยะถัดไป SET Index มีโอกาส Underperform เพราะส่วนใหญ่หุ้นไทยจะเป็นกลุ่ม Value แต่หุ้นกลุ่ม Growth มีโอกาส Outperform โดยแนะนำ Trading
1.) กลุ่ม Growth อาทิ COM7 และ Tech Consult อาทิ (BBIK, BE8)
2.) กลุ่มโรงไฟฟ้า (GULF, GUNKUL, SSP, BGRIM, GPSC, SSP 3.) กลุ่ม Anti-commodities (EPG, SCGP, BGRIM, GULF, OR, AAV, BA) ตามราคาพลังงานและน้ำมันดิบโลกที่ปรับลง
ส่วนหุ้นแนะนำลงทุนในระยะกลางในช่วงเดือน เม.ย. แนะนำกลุ่มการเงิน (TIDLOR, ASK ,THANI, AEONTS, BAM CHAYO) กลุ่มเครื่องดื่ม (SAPPE, CBG, OSP) ส่วนกลุ่มที่แนะนำชะลอการลงทุน คือ กลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (4-8 เม.ย.) ที่ 1,665-1,700 จุด โดยมีหุ้น (Top Picks) แนะนำ ได้แก่
- COM7 (ราคาพื้นฐาน 40.8 บาท) ประเมินว่า 1.) ยังมี upside risk จากการเป็นพันธมิตรล่าสุดกับ Index Livingmall ซึ่งอาจปูทางไปยังการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่สัมพันธ์กับ IT และ 2.) โอกาสในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดรายได้จากการขายปลีกสินค้า IT จาก 20-25% โดยบริษัทตั้ง Target 2-3 ปีข้างหน้า 2565-2567 จะมี Market share ที่ 40% และ 3.) เป็น 1 ในหุ้น Growth Stock คาดจะ Outperform ในช่วงนี้ โดยราคาหุ้น COM7 ยืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ย EMA ระยะสั้น กลาง ยาว หากทะลุ 43.5 บาท มีโอกาสเป็นขาขึ้น
ประเด็นเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
- 4 เม.ย. : ตลาดหุ้นจีนปิดทำการเนื่องจากวันเชงเม้ง, ติดตามยอดคำสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (เดือนต่อเดือน) เดือน ก.พ. ตลาดคาด -0.6% MOM จาก 1.4% ในเดือน ม.ค., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) (เดือนต่อเดือน) เดือน ก.พ. ตลาดคาด 2.3% MOM จาก 3% ในเดือน ม.ค.
- 5 เม.ย. : ดัชนีราคาผู้บริโภคของเกาหลีใต้ เดือน มี.ค. ตลาดคาด 3.8% MOM จาก 3.7% ในเดือน ก.พ., ดัชนี PMI รวมสหรัฐจาก Markit เดือน มี.ค, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการบริการสหรัฐเดือน มี.ค, ดัชนี PMI ภาคการบริการจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) ของสหรัฐเดือน มี.ค
- 6 เม.ย. : ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการก่อสร้าง (Construction PMI) ของอังกฤษ เดือน มี.ค.), ดัชนียอดขายปลีก เดือน ก.พ. ของยุโรป ตลาดคาด 9.1%YoY จาก 7.8% ในเดือน ม.ค., ดัชนี PMI จากสถาบันไอวี ( Ivey) (มี.ค.)
- 7 เม.ย. : ดัชนีราคาที่อยู่อาศัยจากธนาคาร Halifax ของอังกฤษ (เดือนต่อเดือน) (มี.ค.)
- 8 เม.ย. : การเปลี่ยนแปลงในการจ้างงาน (Employment Change) ของแคนาดา ในเดือน มี.ค., ยอดสินเชื่อผู้บริโภคของสหรัฐ เดือน ก.พ.