ระเบียบโลกใหม่: EEC Entrepreneurial Mindset
คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก เพื่อช่วยส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับชุมชนในพื้นที่EEC
โดยคำนึงถึงการสร้างอาชีพ การสร้างรายได้ที่มั่นคง และได้ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน และผู้ค้ารายย่อยในเขตอีอีซี ด้วยการร่วมส่งเสริมสินค้าโอทอป (OTOP) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถในการขาย ในตลาดและขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า การวางแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน รวมถึงแนวทางการตั้งบริษัทวิสาหกิจชุมชน (EEC EntrePrise) ที่เป็นการลงทุนร่วมระหว่าง สกพอ. สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และหน่วยงานเอกชน
มีหน้าที่ วางแผนการผลิต การตลาด และส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาส่งเสริมทักษะและช่องทางเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมหนึ่งในปัจจัยในการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจที่หลายหน่วยงานภาครัฐให้ความสำคัญและส่งเสริมผู้ประกอบการในหลากหลายสาขาการพัฒนาทักษะด้านต่างๆเกี่ยวข้องกับทางธุรกิจ มีศูนย์พัฒนาธุรกิจชุมชน (EEC Incubation Center) ทำหน้าที่ ศึกษาวิจัย พัฒนาสินค้าชุมชนให้มีคุณภาพในระดับมาตรฐานมีรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลากรให้ทำงานร่วมกับนวัตกรรมใหม่
แต่สิ่งหนึ่งที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาของผู้ประกอบการ เมื่อเทียบกับทักษะทางด้านอื่นๆ คือ ความเป็นผู้ประการที่ต้องมี Entrepreneurial Mindset หรือ แนวคิดของผู้ประกอบการอยู่ภายในตัว
คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการนั้น มีหลายประการ แต่คุณลักษณะที่จะเน้นและให้ความสำคัญเบื่องต้นคือ 1. การมีมุมมองที่แตกต่าง และ 2. การมองเห็นภาพรวมธุรกิจและความเสี่ยง การที่มีคุณลักษณะเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องใช้สำหรับการเป็นผู้ประกอบการอย่างเดียว แต่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ยังอยู่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 และสถาณะการความตรึงเครียดและไม่แน่นอนของการการเมืองโลก นอกเหนือจากการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และใช้ชีวิตดำเนินธุรกิจแบบใหม่ New Normal แล้ว เราอาจจะต้องรับมือกับระเบียบโลกใหม่ New World Order ที่อาจจะเกิดอีกด้วย
การส่งเสริมการพัฒนาที่กล่าวมาข้างต้นนั้น สำคัญและยังจำเป็นแต่การเพิ่มความสำคัญในการพัฒนา กรอบความคิด การบวนการทางความคิด (mindset) ก็ควรได้รับความสำคัญและส่งเสริมเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น เราควรมีการเพิ่มการพัฒนาส่งเสริมจากที่ส่วนใหญ่จะเป็นการส่งเสริมที่มุ่มเน้นผู้ประกอบการแบบการค้าระหว่างผู้ค่าโดยตรงถึงลูกค้าหรือผู้บริโภค business to customer (B2C) มาเป็น ให้การพัฒนาการให้เกิดธุรกิจแบบ ระหว่างธุรกิจกับธุรกิจด้วยกัน Business to Business (B2B) การเพิ่ม แนวความคิดอาจจะทำให้เกิดธุรกิจใหม่ เช่น การรับจ้าง การรับผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า หรือ Original Equipment Manufacturer OEM (Contract manufacturing) ของธุรกิจ OTOP เพราะการแข่ง ในธุรกิจแบบ B2B ของตลาดOTOP นั้น อาจจะเปรียบเสมือนธุรกิจในตลาดน่านน้ำสีแดงที่มีการแข่งขัน สูง การเปลี่ยนการธุรกิจมาเป็นแบบ OEM อาจจะเหมาะสมกับผู้ประกอบการบางราย
เราได้มีการพัฒนาจาก การทำการเกษตรเพื่อยังชีพเป็นเกษตรเชิงพาณิชย์ ระบบของการทำฟาร์ม (Commercial Farming) การส่งเสริมการธุรกิจแบบใหม่ (new business model) สำหรับบางกลุ่มที่พร้อมในการปรับตัว จากผลิตเพื่อการค้าแบบ B2C เป็นแบบ B2B เช่น contract manufacturing contract farming อาจจะตอบโจทย์ต่อผู้ประกอบการบางกลุ่มและส่งเสริมไปสู่การพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ที่ยั่งยืน ดังนั้นการให้ความสำคัญโดยการเพิ่มเติมการพัฒนาEntrepreneurial Mindset ที่จะสามารถสร้างความแตกต่าง ต่อยอด ธุรกิจ และ มีแผนในการรองรับความเสี่ยง จึงสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจให้ยั่งยืนและที่สำคัญคือสามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาได้ในอีอีซี
การที่เรามีมุมมองที่แตกต่างและการเห็นภาพรวม รวมถึงความเสี่ยง กำลังทำอาจจะทำให้เราสามารถรับมือการสถานะการณ์ที่เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น การเกิดระบาดของโควิด-19 สงครามทางเศรษฐกิจ หรือ ทางทหาร