JMART ซื้อหุ้นบิ๊กล็อต BRR จำนวน 51.15 ล้านหุ้น คิดเป็น 6.30%
“เจมาร์ท” ควักเงินลงทุนซื้อหุ้น “น้ำตาลบุรีรัมย์” จำนวน 51.15 ล้านหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 6.30% โดยเป็นการซื้อผ่านกระดานบิ๊กล็อกจากผู้ถือหุ้นเดิม
บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ JMART แจ้งผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ได้มีมติอนุมัติให้เข้าลงทุนใน บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR โดยลงทุนจานวน 51,150,000 หุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 6.30 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด โดยเป็นการซื้อหุ้นจากกระดาน Big lot ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจากผู้ถือหุ้นเดิมของ BRR ซึ่งไม่เข้าข่ายเป็นบุคคลที่เกี่ยวโยงกับบริษัท
โดย BRR เป็นบริษัทลงทุนในบริษัทอื่น (Holding Company) โดยลงทุนในบริษัทย่อยที่ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ซึ่งดำเนินธุรกิจจานวน 6 บริษัท โดยมีธุรกิจหลักเป็นธุรกิจผลิตและจาหน่ายน้าตาลทราย และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย โดยมีบริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด เป็นบริษัทแกน 2) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานชีวมวล โดยบริษัท บุรีรัมย์พลังงาน จำกัด, บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด และ บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์พลัส จำกัด 3) ธุรกิจผลิตและจาหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ โดยบริษัท ปุ๋ยตรากุญแจ จากัด 4) ธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ต่างๆ จากชานอ้อย และเยื่อพืชธรรมชาติชนิดอื่น โดย บริษัท ชูการ์เคน อีโคแวร์ จำกัด เเละ 5) ธุรกิจการบริหารจัดการโลจิสติกส์และบริการขนส่ง โดยบริษัท บีอาร์อาร์ โลจิสติกส์ แมเนจเมนท์ จำกัด
คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาถึงประโยชน์ในเชิงธุรกิจที่จะได้รับจากการดาเนินธุรกิจร่วมกัน ในการพัฒนา Ecosystem ร่วมกันทางด้านการค้าปลีก และการเงินร่วมกันในอนาคต และได้พิจารณาถึงทิศทางของผลการดาเนินงานของ BRR ในด้านต่างๆ ที่ขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มพลังงานทดแทน และผลิตภัณฑ์ทางด้านรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงโอกาสสำหรับประโยชน์ของคาร์บอนเครดิต
การเข้าทำรายการข้างต้นเข้าข่ายเป็นการได้มาซึ่งสินทรัพย์ ตามประกาศคณะกรรมการกากับตลาดทุนที่ ทจ.20/2551 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการทารายการที่มีนัยสำคัญที่เข้าข่ายเป็นการได้มาหรือจาหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจาหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 (รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม) (รวมเรียกกว่า “ประกาศรายการได้มาหรือจาหน่ายไป”) ซึ่งเมื่อนับขนาดรายการของธุรกรรมดังกล่าว รวมกับขนาดของรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นในรอบ 6 เดือนก่อนเข้าทารายการนี้ ทาให้มีขนาดรายการรวมเท่ากับ ร้อยละ 9.64 เมื่อคำนวณตามเกณฑ์กาไรสุทธิจากการดาเนินงาน ซึ่งเป็นเกณฑ์การคำนวณที่ให้ขนาดรายการสูงสุด