วิกฤติธนาคารล้มในสหรัฐ คนและความเชื่อมั่นคือสิ่งสำคัญที่สุด (4)
แม้ FED เป็นธนาคารกลางที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก มีโครงสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีกฎกติกาที่รัดกุม สามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น จนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ แต่แบงก์ในสหรัฐยังเกิดวิกฤติบ่อยครั้ง
วิกฤติธนาคารในสหรัฐยังไม่จบ หลังจาก Silicon Valley Bank และ Signature Bank ถูกสั่งให้ปิดกิจการลงในเดือนมีนาคม 2566 ต่อมาในเดือนเมษายน 2566 หน่วยงานกำกับดูแลของรัฐ ได้ทำการยึดและขายธนาคาร First Republic Bank ให้กับ JP Morgan Chase การล้มของ First Republic Bank ถือเป็นความล้มเหลวครั้งที่ 3 ของธนาคารระดับภูมิภาคขนาดใหญ่ในปีนี้
สัปดาห์ที่แล้วหุ้นธนาคารสหรัฐร่วงลงอย่างหนัก โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร Reginal หรือระดับภูมิภาค ธนาคาร Packeest ร่วงลง -28% ธนาคาร Western Alliance ร่วงลง -15% โดยรวม SPDR S&P Reginal Banking ETF หรือดัชนีวัดมูลค่ารวมของกลุ่มธนาคาร Reginal ร่วงลง -7% ส่งผลกระทบถึงหุ้นของธนาคารขนาดใหญ่ โดยหุ้นของ Bank Of America ร่วงลง -3% JP Morgan ร่วงลง -1.59% Goldman Sachs ร่วงลง -2.1% Morgan Stanley ร่วง -1.87% ทำให้ดัชนี S&P 500 Banking Index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นกลุ่มธนาคารโดยรวมร่วงลง -2.37%
ในปี 1907 เคยเกิดเหตุการณ์ Bankers’ Panic ที่มีการฉ้อฉลในการปั่นราคาหุ้นของ United Copper Company ที่จบลงด้วยความล้มเหลว ราคาหุ้นร่วงลงอย่างหนักทำให้ Knickerbocker Trust Company สถาบันการเงินใหญ่อันดับ 3 ใน New York ซึ่งเป็นเจ้าหนี้หลักได้รับผลกระทบตามมาคือการขาดความเชื่อมั่นของประชาชน ผู้ฝากเงินทั่วประเทศแห่ไปถอนเงินจากบัญชีเงินฝากออกมาหมด
สภาคองเกรสนำโดยวุฒิสภา Nelson Aldrich มีแนวคิดจัดตั้ง Federal Reseve System ซึ่งเป็นเสมือนถุงเงินสำรองเพื่อให้ธนาคารสมาชิกสามารถเข้ามากู้เงินเมื่อประสบภาวะวิกฤติ โดยผู้รับหน้าที่เติมถุงเงินได้แก่ กลุ่ม Rpckefellerกลุ่ม JP Morgan กลุ่ม City Bank กลุ่ม National Bank of Commerce รวมถึงธนาคารอื่น ๆ ใน New York และเป็นที่มาของ Fed จนเป็นธนาคารกลางสหรัฐ
FED มีโครงสร้างที่ใกล้เคียงบริษทเอกชนมาก มีธนาคารสมาชิกเป็นผู้ถือหุ้น ธนาคารสมาชิกจะได้รับเงินปันผล 6% ต่อปี FED ไม่ใช่ธนาคารกลางแบบรวมศูนย์ แต่เป็นระบบที่สร้างจากธนาคารกลาง 12 แห่ง เงินสำรองที่ใช้ในการดำเนินนโยบายไม่ได้มาจากเงินสำรองหรืองบประมาณของประเทศแบบธนาคารกลางอื่น แต่มาจากสมาชิกในแต่ละเขตโครงสร้างการบริหาร FED ตามกฎหมาย Federal Reserve Act กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงาน
โดยการแบ่งพื้นที่เป็น Federal Reserve District ในแต่ละเขตมี Federal Reserve Bank ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางประจำเขตของตัวเอง โดยธนาคารสมาชิกของแต่ละเขตมีสิทธิในการเลือกคณะผู้อำนวยการและประธานของ Federal Reserve Bank ที่ตัวเองเป็นสมาชิก พร้อมมีหน้าที่ใส่เงินทุนเพื่อใช้ในการบริหารภายใน ในแต่ละเขตจะมีอิสระในการตัดสินใจค่อนข้างสูง มีงบประมาณในการดำเนินงานของตัวเองแต่ละเขต
FED มีโครงสร้างการบริหารงานโดยกระจายสาขาไปทั่วภูมิภาคแตกต่างจากธนาคารในประเทศไทยที่เน้นการรวมศูนย์ ประธานาธิบดีโดยความเห็นของวุฒิสภา มีอำนาจในการเลือกสมาชิกของ Board of Governors ทั้ง 7 คน ที่มีอำนาจสูงสุดในระบบ Federal Reserve System ซึ่งมีอำนาจในการกำกับดูแล Federal Reserve Bank ทั้ง 12 แห่ง และช่วยกำหนดเครื่องมือและแนวทางปฏิบัติเพื่อผลักดันนโยบายทางการเงิน
FED เป็นธนาคารกลางที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก ถึงแม้จะโครงสร้างการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ มีกฎกติกาที่รัดกุม สามารถแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้น จนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้ แต่ธนาคารในสหรัฐยังเกิดวิกฤติบ่อยครั้ง เพราะยังมีคนที่ไม่ดีอยู่ในระบบ ที่สามารถหาช่องทางในการทุจริตได้…