คิบบุตซ์-โมชาฟ นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วย Innovation ในประเทศอิสราเอล…
“คิบบุตซ์-โมชาฟ” นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วยนวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัยของประเทศไทยได้
ตั้งแต่ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 กองพลน้อยอัล-กัสซัมของกลุ่มติดอาวุธฮามาสในปาเลสไตน์ ได้เริ่มปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ ในชื่อปฏิบัติการ Al-Aqsa Storm โดยระดมยิงจรวดมากถึง 5,000 ลูก ถล่มเป้าหมายทั้งสนามบินและเป้าหมายทางทหารในประเทศอิสราเอล และได้ส่งกำลังติดอาวุธหลายสิบแทรกซึมเข้าไปโจมตีในหลายเมืองทางตอนใต้ของอิสราเอล เช่น เมืองคิบบุตซ์เบรีและเมืองคูเซฟี การโจมตีครั้งนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันในสงคราม 11 วัน เมื่อปี 2021 เกือบ 2 เดือนที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทรัพย์สินและชีวิตของประชาชนเป็นจำนวนมาก
ปฏิบัติการ Al-Aqsa Storm ครั้งนี้เป็นข่าวที่สร้างความตระหนกให้กับประชาชนชาวไทยที่ได้ติดตามข่าวไม่น้อย เพราะมีแรงงานไทยที่เสียชีวิต บาดเจ็บและถูกจับเป็นตัวประกันหลายสิบคน
เนื่องจากอิสราเอล เป็นประเทศที่มีแรงงานไทยเข้าไปทำงานโดยเฉพาะในภาคเกษตร แรงงานไทยถือครองตำแหน่งงานในสาขานี้มากที่สุด 95% ภาคบริการและร้านอาหาร คนไทยครองตำแหน่งเป็น Chef และ Cook มากที่สุดถึง 95% ในร้านอาหารไทย จีนและญี่ปุ่น
จากการค้นคว้าข้อมูลของเทคโนโลยีชาวบ้าน ออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2556 มีแรงงานไทยมีแรงงานไทยเข้าไปทำงานในอิสราเอล 26,700 คน แบ่งเป็นทำงานในภาคเกษตร 26,000 คน งานก่อสร้าง 70 คน ช่างเชื่อม 30 คน ร้านอาหาร 500 คน งานดูแลคนชราหรือคนพิการ 100 คน แรงงานไทยที่อยู่ในภาคเกษตร จะทำงานในรูปแบบของนิคนเกษตรที่เรียกว่า “โมชาฟ-คิบบุตซ์” ที่มีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 600-700 แห่ง ตามภูมิภาคต่าง ๆ
กระทรวงแรงงานเปิดเผยรายได้แรงงานไทยในอิสราเอล เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 55,000 บาทต่อเดือน เป็นระบบการจ้างงานแบบรัฐต่อรัฐ โดยแรงานไทยจะสามารถเดินทางไปทำงานได้เพียง 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 5 ปี 3 เดือน สร้างโอกาสให้แรงงานไทยในการสร้างรายได้กลับประเทศเป็นจำนวนมาก อิสราเอลจึงเป็นดินแดนในฝันของแรงงานไทยแห่งหนึ่งของโลก
ปัจจุบันประเทศอิสราเอลได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในการเป็นต้นแบบนวัตกรรมการเกษตร โดยมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการแบ่งปันความรู้ที่ทันสมัยทางด้านเกษตรในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ในช่วงแรกของทศวรรษ 1960 อิสราเอลได้มีบทบาทเกี่ยวข้องกับโครงการหลวงโครงการแรกที่คนไทยรู้จักกันดี
คือโครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ที่ได้นำรูปแบบคิบบุตซ์มาปรับใช้ และผมเคยมีโอกาสเข้าไปฝึกงานในนิคมหุบกะพง ในช่วงการศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และรู้จักคำว่า “คิบบุตซ์” นานมาแล้วปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกรรมในประเทศอิสราเอล ที่เกิดขั้นจากนิคมการเกษตร
ที่เรียกว่า “คิบบุบซ์-โมชาฟ” ที่แรงงานไทยเป็นกำลังสำคัญ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก ในการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัย ตอนต่อไปผมจะนำเสนอรายละเอียดของ “คิบบุตซ์-โมชาฟ” นิคมการเกษตรที่เติบโตด้วยนวัตกรรมที่สามารถนำมาปรับใช้กับการพัฒนาการเกษตรที่ทันสมัยของประเทศไทยได้…