การแก้ไขหนี้นอกระบบที่ไร้ระบบของประเทศไทย (5)
โมเดล “สถาบันการเงินชุมชนแบบ Grameen Bank” ถูกนำมาใช้ในประเทศไทตั้งแต่ปี 2532-2534 แต่ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง ปี 2567 จึงยังคงมีหนี้นอกระบบท่วมเมือง...
หนี้นอกระบบของประเทศไทยนับวันจะขยายตัวใหญ่ขึ้น ยิ่งในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมา ประเทศถูกปกครองด้วยระบบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คนจนเพิ่มขึ้นมากขนาดของหนี้นอกระบบก็ยิ่งมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ธนาคารแห่งประทศไทย (ธปท.) ได้พยายามออกนโยบายมากมาย เพื่อเสริมโอกาสให้ลูกหนี้นอกระบบสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น ล่าสุด ได้กำหนดหลักเกณฑ์ Risk based pricing (RBP)
สำหรับสินเชื่อบุคคลที่ไม่มีหลักประกันและสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ ซึ่งผมไม่เชื่อว่าจะช่วยแก้ไข้หนี้นอกระบบได้ การใช้โมเดลเศรษฐมิติ (Econometric Model) ของพวกนักเรียนนอกที่ไม่เข้าใจปัญหาที่แท้จริงของเศรษฐกิจไทย ทำให้การแก้ปัญหาไม่ได้ผล
ปัจจุบันผมยังไม่เห็นสถาบันการเงินที่มีนโยบายธุรกิจเพื่อสังคมที่เห็นศักยภาพของคนจนในประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีวิธีการประเมินความเสี่ยงจากการปล่อยสินเชื่อด้วยระบบ Scoring ซึ่งไม่สามารถวิเคราะห์คนจนได้
แม้แต่สถาบันการเงินของรัฐก็มีข้อกฎหมายที่ทำให้ผู้ปฎิบัติงานไม่มีความคล่องตัวในการพิจารณาสินเชื่อธนาคารแห่งประเทศไทยที่เรียกร้องความเป็นอิสระในการบริหารงาน ยังปล่อยให้สถาบันการเงินโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อเพื่อการบริโภคที่สามารถสร้าง NIM แสวงหากำไรสูงสุด แตกต่างกับธนาคารแห่งประเทศไทยในสมัยที่ ดร ป๋วย อึ้งภากรณ์ เป็นผู้ว่าการที่กำหนดนโยบายบายให้ธนาคารพาณิชย์ช่วยเหลือคนจน เช่น การปล่อยสินเชื่อเกษตรสำหรับการเปิดสาขาในชนบท และการออกนโยบายหลายอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อคนจน
ผมได้นำเสนอบทความ “มุมองจาก Grameen Bank ในการแก้ไขหนี้นอกระบบ” ผ่านกรุงเทพธุรกิจ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ผ่านมา 7 ปี รัฐบาลในอดีต ได้ใช้นโยบายประชารัฐ เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินนโบายเศรษฐกิจ แต่ก็ยังไม่สมามารถแก้ไขหนี้นอกระบบได้ิ จึงขอเสนอมุมมองจาก Grameen Bank อีกครั้ง มีหลายมุมมองที่นำมาปรับใช้ และสร้างสถาบันการเงินที่แก้ไขหนี้นอกระบบได้
Grameen Bank ก่อตั้งโดย Mohammad Yunus นักเศรษฐศาสตร์ ชาวบังคลาเทศ ในปี 2519 ดำเนินธุรกิจแบบเอกชน 100% มีเป้าหมายทางสังคมเป็นที่ตั้ง ช่วยเหลือให้คนจนมีโอกาสกู้เงิน โดยคิดอัตราดอกเบี้ยตามตลาด เป็นตัวอย่างของพฤติกรรมแบบ “ทุนนิยมที่มีมนุษย์ธรรม” หลักการของ Grameen Bank ตรงกันข้ามกับธนาคารพาณิชย์ ระบบของ Grameen Bank ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อเป็นสิทธิมนุษย์ชนขั้นพื้นฐาน ไม่ได้ตั้งอยู่บนการตีค่าสินทรัพย์ของผู้กู้ แต่ตั้งอยู่บนศักยภาพของเขา
แนวคิดเรื่อง ไมโครเครดิต เกิดขึ้นขณะที่ Yunust เป็นอาจารย์ใหม่ของคณะเศรษฐศาสตร์ ที่ Chittagong University ซึ่งตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านยากจน ชื่อว่า Jobra ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นหนี้นอกระบบ Yunust ยึดมั่นในปัจจัยหลัก 2 ประการ คือการตั้งสมมติฐานที่ถูกต้องเกี่ยวกับศักยภาพของคนจน และการใช้กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้างแรงจูงใจให้ชำระหนี้ ให้การศึกษาคนจนเกี่ยวกับการบริหารเงิน Yunust เรียกโมเดลผธุรกิจของ Grameen Bank ว่า Trust-Based Banking
โมเดล “สถาบันการเงินชุมชนแบบ Grameen Bank” ถูกนำมาใช้ในประเทศไทตั้งแต่ปี 2532-2534 แต่ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจัง ปี 2567 จึงยังคงมีหนี้นอกระบบท่วมเมือง...