'ไทยเบฟ' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

'ไทยเบฟ' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

ไทยเบฟ เปิดแผนดันตลาดอาเซียน ประกาศยุทธศาสตร์ 6 ปี ภายใต้ “Sustainable Growth to PASSION 2030” ชู 2 กลยุทธ์ “REACH Compettitvely” และ DIGITAL for Growth ให้ผู้บริโภคเข้าถึงบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เบียร์ช้างลั่น! ขึ้นเบอร์ 1 ปีหน้า กลุ่มอาหาร "แซงคู่แข่ง" ขึ้นบิ๊ก 3

พร้อมเร่งเครื่อง “ลงทุน 1.8 หมื่นล้านบาท” ปี 68 เสริมแกร่งกิจการเหล้า เบียร์ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และธุรกิจร้านอาหาร ลั่น “เบียร์ช้าง” เตรียมขึ้นเบอร์ 1 ในไทยปีหน้า  เหล้าจัดทัพสินค้าพรีเมียมบุกอาเซียน เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ขอโต 2 หลัก ผุดเมกะโปรเจกต์ “AgriValley” ลุยผลิตภัณฑ์นม

นายฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทได้วางแผนการดำเนินธุรกิจ 6 ปี ภายใต้ “Sustainable Growth to PASSION 2030” และ ชู 2 กลยุทธ์สานเป้าหมายการเติบโต ได้แก่ 1. REACH Compettitively การเข้าด้านบริการกลุ่มลูกค้าหรือผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ หรือจะเป็นการสร้างประสิทธิภาพในการให้บริการ เนื่องจากมิติการแข่งขันดึงดูดลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย เพื่อตอบสนองความต้องการยุคที่ผู้บริโภคชาญฉลาด หากการบริการล่าช้าเกิน 30 วินาที ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้บริการผู้ประกอบการรายอื่นแทน

“พฤติกรรมของสมาร์ตคอนซูเมอร์ ความอดทนรอคอยกับการบริการมีน้อยมาก หากช้ากว่า 30 วินาที ลูกค้าจะเดินเปลี่ยนร้านเลย เพราะปัจจุบันทางเลือกมีอยู่มาก ดังนั้น Reach Compettitively สำคัญมาก และไม่ใช่แค่บริการประทับใจ แต่รวมถึงสินค้า ราคาดี บริการ ครบครัน เพราะตอนนี้ผู้บริโภคถามหาทุกสิ่งอย่าง หลายเหตุผลและจริงจังขึ้นกว่าเดิม”

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร ภาพ: ศุภกิต คุ้มกัน 

 2. DIGITAL for Growth การทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากผู้บริโภคยุคนี้มีสมาร์ตโฟนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต หากธุรกิจไม่เปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะเสียเปรียบในการแข่งขัน

“ไทยเบฟต้องมี 2 เรื่องนี้ คือ Reach Compettitively และ Digital for Growth เป็น PASSION 2030 ของเรา และเป็นสิ่งที่เราต้องชำนาญได้ดีมากพอ เพื่อรองรับการแข่งขัน”

 

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

ปี 68 ลงทุนใหญ่ 1.8 หมื่นล้านบาท

นายประภากร ทองเทพไพโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการต่างประเทศ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจสุรา และผู้บริหารสูงสุด การเงินและบัญชีกลุ่ม กล่าวว่า แผนการลงทุนของกลุ่มไทยเบฟ จะใช้งบลงทุนปกติ(CAPEX) ประมาณ 7,000-8,000 ล้านบาท แต่หลังจากบริษัทที่บริษัทในเครืออย่าง InterBev Investment Limited (IBIL) ทำการแลกหุ้นอสังหาฯกับทีซีซี แอสเซ็ทส์ จำกัด (TCC Assets Limited:TCCAL) และเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นใน F&N ส่งผลให้เอฟแอนด์กลายเป็นบริษัทย่อยในเครือ จากเดิมเป็นบริษัทร่วม ทำให้มีการเพิ่มงบลงทุนต่อปี

ทั้งนี้ ปี 2568 บริษัทเตรียมงบลงทุนไว้ 1.8 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายธุรกิจ แบ่งเป็น กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์หรือนอนแอลกอฮอลล์ วงเงิน 9,500 ล้านบาท ซึ่งจะมีการจัดสรรงบลงทุน 8,000 ล้านบาท ในโครงการ อะกริ วัลเลย์ (Agri Valley Farm) ฟาร์มโคนมในประเทศมาเลเซีย

ส่วนธุรกิจเบียร์จะลงทุน 3,000 ล้านบาท สำหรับโรงงานเบียร์ในประเทศกัมพูชา ซึ่งจะมีการกำลังผลิตเบียร์เริ่มต้น 50 ล้านลิตร รวมถึงผลิตชาเขียวพร้อมดื่ม และผลิตภัณฑ์นมแบรนด์ทีพอท ขณะที่ธุรกิจสุราลงทุน 2,500 ล้านบาท ธุรกิจอาหาร 1,000 ล้านบาท และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนความยั่งยืน 2,000 ล้านบาท

 

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

“เหล้า” ปรับโครงสร้างใหม่ เสิร์ฟสินค้าพรีเมียมเจาะส่งออก

อย่างไรก็ตาม การลงทุนในธุรกิจสุรา จะนำเงินไปปรับปรุงโรงงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมกันนี้ ได้มีการปรับโครงสร้างของธุรกิจสุราในต่างประเทศใหม่ และขยายทีมงาน เพื่อสานเป้าหมายในการนำแบรนด์สุราในกลุ่มพรีเมียม ไปขยายในต่างประเทศ ได้แก่แบรนด์ พระยา รัม , รวงข้าว สยาม แซฟไฟร์ และ ปราการ (ซิงเกิลมอลต์วิสกี้) เพื่อร่วมผลักดันการเติบโตของธุรกิจสุราต่างประเทศ แม้ว่าภาพรวมรายได้จากธุรกิจสุราต่างประเทศจะไม่ใหญ่มากนัก แต่เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโอกาสสูง

ส่วนตลาดในประเทศมีแผนนำเสนอสินค้าใหม่อีก 2 รายการ เพื่อเจาะกลุ่มตลาดแมส โดยมองเป้าหมายว่า จากการขยายตลาดอย่างต่อเนื่อง จะผลักดันทำให้รายได้ส่วนแบ่งการตลาดรวม (มาร์เก็ตแชร์) ในตลาดเหล้าสี 95% และตลาดเหล้าขาวครองส่วนแบ่งการตลาด 90%

“เบียร์” โฟกัส 3 ตลาด ไทย เวียดนาม กัมพูชา

นายไมเคิล ไชน์ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเบียร์ กล่าวว่า แผนของกลุ่มธุรกิจเบียร์ในปี 2568 เตรียมงบไว้ 3,000 ล้านบาท เน้นโฟกัสทั้งในตลาดไทย เวียดนาม และกัมพูชา โดยกัมพูชา แห่งมีกำลังการผลิตเบียร์รวมประมาณ 50 ล้านลิตรจะแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตรวดเร็วมากในภูมิภาคอาเซียน และมีขนาดใหญ่ลำดับที่สี่ของภูมิภาค ส่วนตลาดเวียดนาม บริษัทเป็นผู้นำในตลาดนี้มีสัญญาณบวกกลับมาฟื้นตัวแล้ว ทำให้มั่นใจไทยเบฟจะรักษาความเป็นผู้นำในตลาดได้ต่อไป

ส่วนความคืบหน้าของแผนการระดมทุนของบริษัทในเครือกับ บริษัท เบียร์โค(BeerCo) สู่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยหากสามารถสรุปแผนได้ในช่วงสิ้นปีนี้และการประเมินผลประกอบการโดยรวม ก็มีโอกาสนำไประดมทุนได้ในช่วงไตรมาสสามของปี 2568 เนื่องจากภาพรวมตลาดหุ้นและการลงทุนที่กลับมาดีขึ้น

“ช้าง” ลั่นปีหน้าขึ้นบัลลังก์เบอร์ 1 เบียร์ในไทย

นายทรงวิทย์ ศรีธรรม ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจเบียร์ ประเทศไทย เสริมว่า ภาพรวมเบียร์ช้าง ได้วางกลยุทธ์ที่มุ่งความเป็นผู้นำในตลาด ทั้ง การขยายพอร์ตโฟลิโอสินค้ากลุ่มแมสพรีเมียมมากขึ้น ทั้งช้างโคลด์บรูว์ เฟเดอร์บรอย และช้างอันพาสเจอไรซ์ พร้อมการมุ่งขยายช่องทางในการจำหน่ายสินค้า และเพิ่มสัดส่วนพื้นที่บนชั้นวาง รวมถึงมุ่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเสริม โดยประเมินว่า จากแผนการรุกตลาดอย่างหนัก จะทำให้เบียร์ช้างกลับมาเป็นผู้นำในตลาดเบียร์ของประเทศไทยได้ในเร็วๆ นี้

ทั้งนี้ภาพรวมตลาดเบียร์ของประเทศไทยในปีนี้ ในด้านปริมาณอยู่ระดับใกล้เคียง 2,000 ล้านลิตร และมีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งตลาดมีการขยายตัวได้ในระดับหลักเดียว แต่ประเมินว่า ตลาดรวมในปี 2568 มีโอกาสกลับมาขยายตัวด้วยจำนวนกว่า 2,000 ล้านลิตรได้ อยู่มาอยู่ในระดับปกติ ใกล้กับช่วงก่อนเกิดช่วงโควิดแล้ว จากแรงหนุนของตลาด และนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่กลับมาในประเทศไทย

 

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ต้องโต 2 หลัก

นายโฆษิต สุขสิงห์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่และผู้บริหารสูงสุดปฏิบัติการประเทศไทย ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานดิจิทัลและเทคโนโลยี กล่าวว่า หลังจากการแลกหุ้นอสังหาริมทรัพย์ระหว่างบริษัทย่อยของไทยเบฟกับ TCCAL และการเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในเฟรเซอร์แอนด์นีฟ (เอฟแอนด์เอ็น) จะทำให้บริษัทได้ประโยชน์จากต้นทุนต่อหน่วยที่ลดลงจากขนาดการผลิตที่ใหญ่ขึ้นหรือ Economies of Scale) ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรปรับตัวดีขึ้น

นอกจากนี้ จะเห็นบริษัทนำเข้าสินค้าเบอร์ 1 ของเอฟแอนด์เอ็นทำตลาดเชิงรุก โดยไทยเตรียมส่งสินค้าซีรีส์เพื่อสุขภาพแบรนด์ “F&N NUTRIWELL” ช่วงสิ้นปี อีกด้านจะเห็นการลุยตลาดเครื่องดื่มในกัมพูชาทั้งชาเขียวพร้อมดื่มโออิชิ และผลิตภัณฑ์นมทีพอท ส่วนไทยจะเห็นการผสานพลังหรือซีนเนอร์ยีกับการจัดจำหน่ายของทั้งกลุ่มไม่ว่าจะเป็นไทยเบฟ เสริมสุข และเอฟแอนด์เอ็น เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้ามากขึ้น ซึ่งปัจจุบันสินค้าบางรายการ ขายผ่านห้างโลตัสเพียง 60% เท่านั้น ที่สำคัญจะเห็นการรุกตลาดผลิตภัณฑ์นมหลังจากลงทุนในโครงการ AgriVally ประเทศมาเลเซีย ซึ่งนมเป็นสินค้าที่ทำกำไรค่อนข้างดี

“เป้าหมาย PASSION 2030 ธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ต้องเติบโตอัตรา 2 หลักต่อปี”

“อาหาร” ปี 73 มุ่งเปิดร้านแตะ 1,200 สาขา

นายโสภณ ราชรักษา ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานทรัพยากรบุคคลและสมรรถนะองค์กร ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหารประเทศไทย และผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจโลจิสติกส์ กล่าวว่า ปี 2568 ธุรกิจอาหารจะใช้งบลงทุน 1,300 ล้านบาท เพื่อเปิดร้านอาหารใหม่ 69 สาขา โดยเฉพาะแบรนด์เรือธงอย่างเคเอฟซี และโออิชิ รวมถึงปรับปรุงร้านเดิมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า

นอกจากนี้ บริษัทจะมีการลุยโปรเจกต์ใหญ่นำร้านอาหาร 16 แบรนด์ ไปเปิดในพื้นที่โครงการวัน แบงค็อก จำนวน 16 สาขา ซึ่งจะเปิดโฉมได้ปลายเดือนตุลาคมนี้ โดยโมเดลดังกล่าวใช้งบลงทุนรวม 400 ล้านบาท

สำหรับ PASSION 2030 ธุรกิจอาหารต้องการมีร้านทั้งสิ้นแตะ 1,200 สาขา ส่วนปี 2568 จะมีร้านทั้งสิ้น 888 สาขา ขณะเดียวกันบริษัทยังมองโอกาสเสริมแกร่งธุรกิจอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคหลังโควิด ทำให้ตลาดรวมอาหารพร้อมทานมูลค่าใกล้เคียง 1 หมื่นล้านบาท และมองการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ รวมถึงสินค้ากลุ่มฮาลาล โดยใช้มาเลเซียเป็นฐานทัพผลิตและส่งออกไปยังตลาดต่างๆ

ปัจจุบันธุรกิจอาหารของกลุ่มไทยเบฟก้าวเป็นท็อป 3 ของผู้เล่นรายใหญ่ ด้วยรายได้ 1.7 หมื่นล้านบาท รองจากกลุ่มไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป และเอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป แซงหน้าคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

 

\'ไทยเบฟ\' ขยับใหญ่ยึดอาเซียน ลงทุน 1.8 หมื่นล้าน ขยายเหล้า เบียร์ นอนแอลฯ อาหาร

“ฐาปน” หนุนนโยบายรัฐปั๊มชีพจรเศรษฐกิจ

นายฐาปน กล่าวอีกว่า หลังผู้บริโภคชาวไทยเผชิญโควิด-19 ระบาด ทำให้มีการนำเงินไปใช้จ่ายล่วงหน้า ทั้งดูแลสุภาพ และชอปปิงออนไลน์มากกว่าเดิม ส่งผลให้ปัจจุบันกำลังซื้อหรือเงินในกระเป๋าเบาบาง เมื่อรัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ถือเป็นเรื่องภาคธุรกิจทุกส่วนรอคอยมาตรการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและกระตุ้นเศรษฐกิจ

“เป็นหน้าที่ของทุกรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลักดันให้มีการเติบโต รวมถึงรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร ก็ต้องพยายามขับเคลื่อน ผลักดันให้เกิดการหมุนตัวของเศรษฐกิจ เงินที่จะสะท้อนลงมาสู่ระบบ ให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอย ถือเป็นเรื่องจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ”