อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

เจาะอินไซด์การชอปปิงคนไทยปี 67 อีคอมเมิร์ซมาแรง ตลาดรวมพุ่ง 1.1 ล้านล้านบาท ขยายตัว 14% แรงหนุนมาจาก คูปองส่วนลด และส่งฟรี - เผยเทมู ไม่ใช่ผู้ชนะในตลาดไทย

นายธนาวัฒน์ มาลาบุบผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง priceza.com  กล่าวในงาน DAAT DAY Advolution ภาพรวมตลาดอีคอมเมิร์ซในปี 2567 มีการขยายตัว 14% และมีมูลค่าแตะระดับ 1.1 ล้านล้านบาท จากปีก่อน 2566 มีมูลค่า 9.8 แสนล้านบาท พร้อมประเมินว่าในปี 2570 ตลาดรวมอีคอมเมิร์ซ จะมีมูลค่าถึงระดับ 1.6 ล้านล้านบาท

สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีขนาดใหญ่อันดับสองของตลาดในภูมิภาคอาเซียนแล้ว รองจากประเทศอินโดนีเซีย ทั้งที่จำนวนประชากรของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่สี่ของตลาดอาเซียน

ทั้งนี้ตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยมีขนาดใหญ่อันดับสองของตลาดในภูมิภาคอาเซียนแล้ว รองจากประเทศอินโดนีเซีย ทั้งที่จำนวนประชากรของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่สี่ของตลาดอาเซียน

แรงหนุนมาจากการเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคคนไทยสนใจเลือกซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซในระดับสูง รวมถึงแบรนด์ต่างๆ มุ่งทำตลาดผ่านอีคอมเมิร์ซ และแพลตฟอร์มต่างๆ เพิ่มขึ้น 

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

อินไซด์ในการเลือกชอปปิงผ่านออนไลน์ 

ปัจจัยที่มีผลทำให้คนไทยหันมาช้อปผ่านออนไลน์ในปี 2567 ได้แก่ 

  • 54% คูปองและส่วนลด
  • 51.8% ส่งฟรี
  • 40.4% ตัวเลือการจ่ายแบบ COD หรือ การเปิดสามารถแกะดูสินค้าก่อนจ่ายเงินได้

 

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

ทั้งนี้มีความแตกต่างจากในปีก่อน 2566 ปัจจัยสำคัญที่มีผลมากสุดคือ 54.7% ส่งฟรี รองลงมา 49% คูปองและส่วนลด และ 36.1% ตัวเลือกการขายแบบ COD 

แพลตฟอร์มที่มาแรงสุด 

อีกทั้งเมื่อประเมินผลสำรวจพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของคนไทยในรอบ 30 วันที่ผ่านมาพบว่า ช่องทางที่ลูกค้าสนใจเลือกซื้อสินค้ามากสุดคือ 

  • ช้อปปี้ (Shopee) 75% 
  • ลาซาด้า (Lazada) 67% 
  • ติ๊กต็อก (TikTok) 51% 
  • เฟซบุ๊ก (Facebook) 39% 
  • ไลน์ (Line) 24% 
  • ยูทูบ (YouTube) 18% 
  • อินสตาแกรม (Instagram) 16% 
  • ทวิตเตอร์ (Twitter : X) 9% 
  • อเมซอน (Amazon) 9% 
  • เซ็นทรัลออนไลน์ (Central Online) 9% 

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 แพลตฟอร์มหลักในภูมิภาคอาเซียน คือ

  • Shopee 75% 
  • Lazada 67% 
  • TikTok 51% 

สินค้าที่คนอาเซียนนิยมซื้อใน 3 แพลตฟอร์มหลัก 

  • Shopee สำหรับสินค้าที่สร้างยอดขายสูงผ่าน เป็นแฟชั่น และเครื่องแต่งกาย รองลงมาคือ สินค้าเกี่ยวกับบ้าน และของตกแต่งบ้าน 
  • Lazada สินค้าที่สร้างยอดขายสูงเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ รองลงมา สินค้าเกี่ยวกับเด็ก และสินค้าเกี่ยวกับบ้าน และของตกแต่งบ้าน 
  • TikTok สินค้าที่สร้างยอดขายสูงเป็น ความงาม สุขภาพ และของใช้ส่วนบุคคล รองลงมา สินค้าเกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่ม 

 

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

อินฟลูเอนเซอร์ มีอิทธิพลสูงต่อลูกค้าไทย

อย่างไรก็ตาม นอกจากช่องทางการขาย และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อผู้บริโภคคนไทยมากขึ้นแล้ว กลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ เป็นบุคคลที่มีอิทธิพลต่อกลุ่มลูกค้าคนไทยเช่นกัน โดยมีผลสำรวจพบว่า "83% ของผู้บริโภคคนไทย เลือกซื้อสินค้าตามที่อินฟลูเอนเซอร์แนะนำ ซึ่งกลุ่มสินค้าความงามและแฟชั่น เป็นหมวดที่อินฟลูเอนเซอร์มีอิทธิพลมากที่สุด 

ดาราที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าได้แก่

  • เบลล่า "ราณี แคมเปน"
  • พิมรี่พาย
  • ญาญ่า "อุรัสยา เสปอร์บันด์"

"เทมู" อาจไม่ใช่ผู้ชนะในตลาดไทย 

ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในปีนี้กับการมาของแพลตฟอร์ม เทมู (Temu) จากประเทศจีน ซึ่งเข้ามาทำตลาดในไทยเป็นลำดับสามของภูมิภาคอาเซียน โดยวางโมเดลการทำธุรกิจที่เป็นแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้า และติดต่อโดยตรงจากโรงงานผู้ผลิต ที่มุ่งผลิตสินค้าจำนวนมาก นำไปทำตลาดในทั่วโลก จึงสามารถวางราคาขายได้ดีกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ 

สำหรับแพลตฟอร์มอื่นๆ มีการปรับตัว และแผนการตลาดเช่นกัน โดยทั้ง  Shopee และ Lazada ต่างปรับกลยุทธ์ใหม่ มีการนำเสนอช่องทางการขายสินค้า โดยการติดต่อผ่านโรงงานโดยตรงเช่นกัน พร้อมตั้งราคา และทำตลาดเอง จึงกลายเป็นเทรนด์การนำเสนอสินค้า ที่ไม่มีแบรนด์ แต่เน้นราคาดี ดังนั้น การมาของเทมูปีนี้ ไม่ได้สร้างแรงกระเพื่อมมากนัก

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

เทรนด์ปี 2568 เข้าสู่ Affliate Marketing Content & Commerce

ภาพรวมในปี 2568 จะก้าวสู่การเป็นปีแห่ง Affliate Marketing Content & Commerce หลอมหลวม โดยแบรนด์ปรับกลยุทธ์มาทำการตลาดด้วยแนวทาง Affliate Marketing  มากขึ้น เนื่องจากช่วยเพิ่มยอดขายได้อีกด้าน พร้อมเลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ และกลุ่มเป้าหมายมาร่วมทำการตลาด มีการแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดขายให้

ทั้งนี้เป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย จากเดิมจ่ายเป็นค่าจ้างตายตัว โดยเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปีนี้แบรนด์ต่างๆ ปรับมาใช้การทำตลาดผ่าน Affliate Marketing มากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจ ร้านสะดวกซื้อ "เซเว่นอีเลฟเว่น" เนื่องจาก เป็นช่องทางที่สามารถวัดผล และร่วมเพิ่มยอดขายได้อีกทาง

"แนวโน้มในปีนี้และปีหน้า จะเห็นแบรนด์สินค้าต่างๆ ปรับมาใช้ช่องทาง Affliate Marketing เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น ช้อปปี้ มีการปรับขึ้นธรรมเนียมผู้ขาย มีผลกระทบต่อแบรนด์หันมาทำการขายเองแทน"

5 Key Take-Aways ที่สำคัญ

  • Value is the name of the game คือ Key ผู้ซื้อให้ความสำคัญกับความคุ้มค่า คุ้มราคา และประสบการณ์ที่แตกต่าง 
  • E-Commerce Channels แตกกระจาย การขายผ่าน Marketplace ต้นทุนปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ  คุ้มค่าในการสร้าง Direct to Consumer ของตัวเองมากขึ้น
  • E-Commerce Listening ช่วยให้นักการตลาด เข้าถึงข้อมูลคู่แข่ง หรือ คู่ค้าได้ทะลุปรุโปร่ง ส่งเสริมให้สามารถทำชนะตลาดได้ด้วย E-Commerce Data - Driven Decisions
  • Content & Commerce หลอมรวมกัน คนไทยส่วนใหญ่ ซื้อสินค้าตามที่อินฟลูเอนเซอร์แนะนำ เป็นโอกาสในการทำ Affliate Marketinng 
  • Next Day Delivery is the New Normal! ในปี 2025 เป็นปีแห่งการได้รับสินค้า “ไวเป็นปีศาจ” คาดการณ์ว่าตลาด Quick Commerce ไทยโตปีละ 20-30%

 

อีคอมเมิร์ซปี 67 มูลค่า 1.1 ล้านล้าน - อินไซด์คนไทย ชอบให้มีส่วนลด - ส่งฟรี

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์