4 พฤติกรรมผู้บริโภค เศรษฐกิจฝืด ใช้จ่ายมีเหตุผล เอไอ พลิกการช้อป

4 พฤติกรรมผู้บริโภค เศรษฐกิจฝืด ใช้จ่ายมีเหตุผล เอไอ พลิกการช้อป

พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นสิ่งที่นักการตลาดต้องเกาะติด เพราะเป็นตัวแปรในการชอปปิง ซื้อสินค้า "มายด์แชร์ (ประเทศไทย) เปิด 4 เทรนด์ขาช้อป ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคือง

ปี 2568 ยังคงมีความท้าทายเข้ามากระทบการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะการจัดเรียบโลก ระเบิดสงครามการค้าของชาติมหาอำนาจ จะซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภค

แม้จะมีปัจจัยลบรายล้อม แต่นักการตลาดต้องหามองโอกาส อ่านพฤติกรรมผู้บริโภค จับยามสามตาเพื่อหากลยุทธ์ตอบสนองให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย “มายด์แชร์ ประเทศไทย” เผยเทรนด์ผู้บริโภคผ่าน Mindshare Think Tank 2025

วรวิล สนเจริญ ผู้อำนวยการแผนกการวางแผนกลยุทธ์ มายด์แชร์ (ประเทศไทย) ฉายภาพว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจฝืดเคือง ย่อมส่งผลให้ “ผู้บริโภคไม่จับจ่ายใช้สอย” แต่ภาพดังกล่าวไม่เป็นความจริง กลับกัน กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คน “ใข้จ่ายอย่างมีเหตุผล” มากขึ้น ซึ่งเป็นโจทย์ที่แบรนด์ นักการตลาด ต้องทำความเข้าใจ

นอกจากภาพใหญ่เศรษฐกิจชะลอตัว ความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก ยังส่งผลกระทบต่อ “ภาคธุรกิจ” และ “การจ้างงาน” ขณะที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของบริบททางสังคม และเทคโนโยลี เป็นสิ่งที่ต้องเผชิญ

หากมองเทรนด์ผู้บริโภคปีนี้ที่น่าสนใจ มีดังนี้ 1.Volume up Value เมื่อผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่ามากกว่าที่เคย เมื่อก่อน “ความคุ้มค่า” อาจมองแค่ สินค้าลดราคา แลก แจก และแถม แต่ปัจจุบันมีมิติอื่นๆที่ผู้บริโภคขอ “เปรียบเทียบ” ก่อนตัดสินใจ จนทำให้เกิดการทำสินค้าเลียนแบบของแพง คุณภาพพอใช้ ราคาจับต้องได้

นอกจากนี้ ยังเกิดกระแส DUPE is Cool โดย 4 ใน 5 ของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนการใช้จ่าย ค้นหาข้อมูลก่อนซื้อ หรือทำอีกสเต็ป ขอแค่ได้ส่วนลด ซึ่ง “อีคอมเมิร์ซ” หล่อหลอมพฤติกรรม การเลือกซื้อสินค้าทางเลือก ไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป ตัวอย่าง การซื้อไดร์เป่าผมคล้ายยี่ห้อดัง แต่ราคาถูกกว่า 3 เท่า หรือแทนที่ซื้อเสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นดัง แต่เลือก Shein จากจีน เพราะราคาต่ำกว่า ฯ

“DUPE ไม่ใช่การสินค้าเลียนแบบ แต่เป็นสินค้าที่มีแวลู่ของตัวเอง เป็นการซื้อของใช้อย่างชาญฉลาด เรื่องแวลู่ไม่ใช่เรื่องเขินอาย แต่ภูมิใจใช้ของฉลาด ซึ่งการประหยัดเข้ามาดิสรัปพฤติกรรมคน ขณะที่ความท้าทาย DUPE เมื่อธุรกิจไม่ต้องการลดกำไร แบรนด์ต้องมีจุดยืนที่แข็งแกร่ง”

2.AI and Then What? เมื่อเอไอพลิกพฤติกรรมผู้บริโภค ทั้งการใช้เอไอค้นหาข้อมูลมากขึ้นบนแพลตฟอร์มติ๊กต็อก(TikTok) ค้นหาข้อมูลด้วยรูปภาพผ่านช้อปปี้(Shopee) ลาซาด้า(Lazada) ตอบโจทย์หาผ่านข้อความไม่ได้ อย่างเจนซี(GenZ) 74% ใช้ TikTok ค้นหา และ 51% ชื่นชอบการค้นหาผ่าน TikTok Search มากกว่า Google

แม้ AI ทรงอิทธิพล แต่ยังไม่สามารรถตอบโจทย์ความรู้สึกหรืออีโมชันนแลได้ ผู้บริโภคมองหาความจริง และประสบการณ์มากขึ้นมี Sense of Humor หรือ Brand Affinity

3.COM ‘ME’ NITY การตลาดเน้นตัวตนผู้บริโภค “ฉันเป็นแบบนี้” เจนเนอเรชันมี(ME) อะไรๆก็ฉัน เทรนด์มาแรงและเติบโตขึ้น และมีการหาสิ่งที่สนใจเฉพาะ จึงเกิด “การตลาดแบบฉัน” แบรนด์ใช้ความเป็นตัวตนมาเชื่อมผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย มุ่งเข้าใจ และนำเสนอสินค้าให้ตรงใจ ตัวอย่าง Spotify จะมีการสรุปการฟังเพลงต่างๆ เกิดคอมมูนิตี้หาประเภทของคนเพื่อคอนเน็คสื่อสารได้ถูกต้อง หรือตลาดอาหารหม้อร้อน ชาบูชาบู สุกี้ จัดให้ทานคนเดียว สะท้อนมี “แฟนพันธุ์แท้” ของแบรนด์

“Micro-Identity ทำให้เกิดการรับรู้วงกว้างได้ เป็นโอกาสที่แบรนด์จะเข้าไปหากลุ่มคนเหล่านี้ โดยสร้างความเชื่อมั่น พลังผ่านกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์เฉพาะที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น Farose ไกลบ้าน ที่มีฐานผู้ติดตามแข็งแรง อีกทั้งพูดจาน่าเชื่อถือ”

4.Short n Bitter คอนเทนต์สั้น กระชับ โดนใจครองโลกโซเชียล ปฏิเสธไม่ได่ว่าผู้บริโภคสนใจคอนเทนต์สั้นลง แบรนด์ต้องดึงความสนใจให้ได้ภายใน 1-2 วินาที บางแพลตฟอร์มคนกดดูเนื้อหา “เร่งสปีด” แม้กระทั่งวงการเพลง มีการทำเวอร์ชั่น “สั้นลง”

“ต่ำกว่า 6 วินาที น่าเห็นใจคนทำงานครีเอทีฟ คนจะสนใจใน 1-2 วินาทีแรก จะจับความสนใจได้อย่างไร คนทำสื่อจะสู้สปีดเหล่านี้ยังไง ดังนั้น Short n Bitter อาจจะขมก็ได้”

พฤติกรรมดังกล่าว ยังสะท้อนผู้บริโภครอไม่ได้ มีผลต่อ “ความคาดหวัง” เช่น ถามอะไรจากแบรนด์ สินค้ามีปัญหาต้องได้คำตอบ ทักแม่ค้า ไม่ตอบเท่ากับไม่ซื้อ

ด้านคอนเทนต์เชื่อว่าการทำให้สั้นอาจไม่ใช่คำตอบ แต่ขึ้นกับเป้าประสงค์แบรนด์ด้วย ปัจจุบันผู้บริโภคดูคอนเทนต์วิดีโอบนติ๊กต๊อก 1 นาทีนานขึ้นสัดส่วนถึง 50%