เปิดทางต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินหวังจูงใจต่างชาติเข้ามาลงทุน
พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ ระบุประกาศคำสั่ง เปิดทางต่างชาติถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินล่าสุดที่"พล.อ.ประยุทธ์" ลงนามนั้นนิติบุคคลต่างชาติถือครองได้เลยเมื่อลงทุนในประเทศไทย 50 ล้านบาทตามประกาศฯ ไม่ต้องผ่าน คณะกรรมการส่งเสริมลงทุนหรือ BOIหวังจูงใจต่างชาติเข้ามาลงทุน
จากการที่พลเอกประยุทธ์ลงนามประกาศคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้นิติบุคคงต่างด้าวที่ได้รับการส่งสริมการลงทุนถือกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานและที่พักอาศัยเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจนิติบุคคลต่างต้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27 แห่งพระราชนัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่25 ส.ค.ที่ผ่านมานั้น
นายสุรเชษฐ กองชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ ดีเอ็นเอ จำกัด เปิดเผยว่าการที่รัฐบาลออกประกาศคณะกรรมการส่งสริมการลงทุน เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตให้นิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการส่งสริมการลงทุนถือกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งสำนักงานและที่พักอาศัย โดยมีข้อแม้ว่าต้องเป็นนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนและมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับเป็นที่พักอาศัยและที่ตั้งสำนักงานได้นั้น "ไม่ใช่"เรื่องใหม่แบบที่หลายคนเข้าใจ
ทั้งนี้ เพราะก่อนหน้านี้ในหลายรัฐบาลก็มีประกาศนี้ออกมาแล้วเช่นกัน ปี2544 ,2546, 2551 และปี2556 มีประกาศการขยายเวลาการอนุญาตให้นิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนถือกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับเป็นที่ตั้งสํานักงานและที่พักอาศัยจากที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2555 เป็นหมดอายุวันที่ 31 ธันวาคม 2560 โดยเรื่องของขนาดที่ดินนั้นเท่ากันกับประกาศที่ออกมาเมื่อปี2541
ดังนั้น ประกาศนี้จึงอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ประกาศฉบับนี้ออกมาในช่วงเวลาที่มีข้อถกเถียงกันในหลายๆ ประเด็นเกี่ยวกับข้อเรียกร้องที่ภาคเอกชนไทยจำนวนไม่น้อยต้องการให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ก่อนหน้านี้ก็เคยมีข่าวเรื่องของการจะให้ต่างชาติถือครองที่ดินในประเทศไทยได้ถ้าลงทุนเท่านั้นเท่านี้ในสินทรัพย์ที่รัฐบาลกำหนด แต่ปรากฏว่ามีประกาศนี้ออกมาแทน เลยยังไม่มีใครรู้ว่าเรื่องดังกล่าวจะยังมีอยู่ไหม และรัฐบาลก็เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในหลายอย่าง ต้องติดตามต่อไปว่าจะยังไงต่อ
นายสุรเชษฐ ระบุว่า การถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยนั้นสามารถทำได้อยู่แล้วเมื่อถือครองในนามนิติบุคคลไทย นิติบุคคลต่างชาติอาจจะก็ถือครองผ่านการส่งเสริมการลงทุนโดยคณะกรรมการส่งเสริมลงทุนหรือ BOI อยู่แล้ว เพียงแต่การที่เอกชนต่างชาติจะเข้ามาถือครองอสังหาริมทรัพย์ได้นั้น อสังหาริมทรัพย์นั้นต้องได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ด้วย ประกาศนี้เหมือนจะตัดเรื่องนี้ออกไป นิติบุคคลต่างชาติถือครองได้เลยเมื่อลงทุนในประเทศไทย 50 ล้านบาทตามประกาศฯ ซึ่งเรื่องนี้อาจจะทำให้นิติบุคคลต่างชาติมีที่ดินเป็นของตัวเองจริง
สำหรับทำเลที่น่าสนใจหรืออาจจะได้ประโยชน์นี้จริงๆ ก็เป็นทำเลที่สะดวกต่อการดำเนินธุรกิจของพวกเขาทั้งเรื่องของสำนักงาน และกิจการที่พวกเขาลงทุน ถ้าเป็นการขอการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมก็อาจจะเป็นทำเล EEC ถ้าเป็นกิจการที่ "ไม่ใช่"อุตสาหกรรมก็อาจจะเป็นทำเลอื่นๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด กิจการที่คณะกรรมการประกาศให้การส่งเสริม ตามคู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2565 ดังนี้
1. อุุตสาหกรรมเกษตร เทคโนโลยี
2. ชีวภาพ และการแพทย์
3. อุุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสููง
4. อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุุตสาหกรรมสนับสนุุน
5. อุุตสาหกรรมดิจิทัล สร้างสรรค์์และบริการที่มีมููลค่าสููง
"ซึ่งรายละเอียดของแต่ละหมวดก็แยกย่อยออกไปอีกมากมาย แต่ในประกาศนี้ก็ชัดเจนว่าการถือครองจะสามารถทำได้นานตราบเท่าที่กิจการที่ขอการส่งเสริมการลงทุนยังดำเนินกิจการอยู่ ถ้าเมื่อใดก็ตามที่กิจการหมดสภาพการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมต้องจำหน่ายหรือโอนกรรมสิทธิ์ภายใน 1 ปี และการถือครองที่ดินของแต่ละส่วนต้องสอดคล้องกันในเรื่องของทำเลที่ตั้ง เรื่องนี้อาจจะต้องดูกันในระยะยาวว่าช่วยส่งเสริมอะไรหรือไม่ แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทยแบบที่กล่าวไปแล้ว" นายสุรเชษฐกล่าว